พาลูกสู่เป้าหมายอย่างมีความสุข (1)


ปลูกอะไร ก็ได้อย่างนั้น เต็กจะเชื่ออย่างที่เราบอก และทำอย่างที่เขาเชื่อ

โครงการพ่อแม่นำร่อง 2  จัดขึ้นคู่ขนานไปกับการอบรมครู
โดยจัดให้กับห้องเรียนที่มีคนสนใจเกินร้อยละ 80

บันทึกการอบรมนี้ คือ การอบรมของพ่อแม่ห้อง x/x ครั้งที่ 1

วันนี้มาทำไม
คำตอบเหมือนๆ กลุ่มแรก และคล้ายของครู มีส่วนเพิ่มเติมดังนี้
•    ได้ยินเขาว่าจะกลับไปเป็นคนใหม่
•    ได้ยินว่ามาแล้วได้ประโยชน์ ทำให้ลูกตื่นเองได้ อยากได้ข้อนี้
•    ให้ลูกมีแนวทางในการมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง

ตอนนี้รู้สึกอย่างไร (วัดอุณหภูมิใจ)
•    สบายๆ เป็นกันเองดี เริ่มมีความคาดหวัง รู้สึกดีกับความคาดหวัง และเชื่อว่าจะได้รับตามความคาดหวัง เลยรู้สึกดี
•    อยากรู้
•    เฉยๆ (แปลว่ายังจับความรู้สึกไม่ได้ เดี๋ยวมาคุยกันอีกที)
•    รู้สึกกลัว ว่าเราทำอยู่มันถูกไหม
•    กังวล
•    สงสัย เคยฟังๆ มา แต่พอเจอเหตุการณ์จริงมันไม่ได้ทำตาม
•    รู้สึกเอาไงเอากัน
•    รู้สึกเย็น
•    อิ่ม
•    ตื่นเต้น

ความรู้สึกมีสองส่วน
•    จากสัมผัส ร้อน เมื่อย หนาว
•    จากอารมณ์
เรารู้สึกเสมอแต่เราจับไม่ได้ บางทีเบาบาง หรือหาคำอธิบายไม่ถูก

ทำไมต้องถามความรู้สึก พ่อแม่ช่วยกันตอบ
•    การบรรยายเรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องยาก ขนาดเรายังบรรยายยาก แล้วลูกจะบรรยายได้อย่างไร
•    เตรียมพร้อมการเรียนรู้
•    เปิดใจ
•    ฝึกสังเกตลูก
•    เดาคนรอบข้างยากกว่า เดาตัวเอง ดูว่าความรู้สึกแบบนี้จะเรียนรู้ได้ไหม
•    เราอยู่ในที่เดียวกัน วัยใกล้เคียงกัน แต่เรามีความรู้สึกที่ต่างกัน เวลาเราสื่อสารกับลูก เรามักคิดว่าเขาน่าจะรู้สึกอย่างเรา พอฟังแบบนี้เลยรู้ว่าเรามีมุมมองต่างกัน
•    เป็นการนำเข้าเรื่อง
•    ตอบ ข้อ ง ถูกทุกข้อ

ขอชมกลุ่มนี้ จับประเด็นได้
ความเคยชิน บางคนตั้งอยู่บนฐานอารมณ์ ถามความคิดก็ตอบความรู้สึก บางคนตอบแต่ความคิด บางคนตอบแต่ความคาดหวัง
ภาวะการรู้ตัวเอง ว่าตอนนี้เราทำงานอยู่ในโหมดไหน จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเอง กำลัง deal กับเรื่องต่างๆ ด้วยต้นทุนอย่างไร เทียงเคียงความรู้สึกของคนอื่นได้จากการเทียบเคียงกับตัวเอง ถ้าเรารู้โหมดเรา เราก็จะเข้าใจเขา และ deal ได้ดีขึ้น

ความรู้สึกต่างกันไหม ก่อนฟังความรู้สึกคนอื่น กับหลังฟัง
•    ตอนแรกนึกว่าคนอื่นจะเหมือนๆ เรา พอฟังแล้วทำให้รู้ว่ามีมุมที่เรานึกไม่ถึง ไม่ได้มอง
•    เริ่มยอมรับคนอื่น ไม่ได้คิดว่าเราถูกที่สุด
•    ทุกคนมาเพราะลูกทั้งนั้น
•    หัวอกเดียวกัน ดีใจที่เราคล้ายๆ กัน (อันนี้เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือคนอื่น สิ่งที่เราเป็นไม่ได้เป็นที่เราคนเดียว คนอื่นก็เป็น หรือเคยเป็น การบอกว่า “แม่ก็กลัว” ลูกจะบรรเทาขึ้น)
•    รับรู้ความรู้สึกคนอื่น ทำให้เรากลับมาสำรวจตัวเอง จับ/อธิบาย ตัวเองได้
•    ดีขึ้น สบายใจขึ้น มีกลุ่มคนที่ deal ปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวคงมาแชร์กัน ได้รู้อะไรมากขึ้น

เราใช้วิธีการนี้ก่อนการประชุมบริษัทก็ได้ ทำให้เกิด connect กัน

กติกา สำหรับการเข้าร่วมโครงการนำร่อง
เรามาเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้การเรียนรู้เต็มที่
1.    อยู่กับการอบรม
มาให้ทัน มาให้ครบ ถ้าเวลาที่นัดกันไม่เป็นจริง ก็ตกลงกันใหม่ได้ ทั้งเวลาเริ่ม และเลิก อะไรที่ดึงเราออกจากปัจจุบันให้จัดการเอาออก ปิดโทรศัพท์ อะไรที่จะต้องทำแต่ตอนนี้ก็ยังทำไม่ได้อยู่ดี ทิ้งความกังวลไว้นอกประตู
2.    สร้างให้ที่นี่เป็นพื้นที่ปลอดภัย เรากำลังคุยกันถึงสิ่งที่เราอยากให้เกิดกับเด็ก สิ่งที่เราพูดกันกลับกลายเป็นเรื่องของเรา วิธีการปฏิบัติ โต้ตอบ สื่อสาร ให้ทุกคนกล้าพูดจุดอ่อนของเรา โดยเราจะไม่ฟังกันด้วยท่าทีดูหมิ่น รังเกียจ เยียดหยาม ไม่เอาไปพูดนอกห้อง เวลาเราทำอะไรกับลูกของเรา เชื่อว่าเราทำได้ดีที่สุด ณ เวลานั้นเสมอ ทั้งความรู้ ทางออก อารมณ์ ฯ สิ่งที่เราจะนำออกไปนอกห้องคือ ข้อสรุป ความคิด วิธีการ ฯ
3.    ขอให้ร่วมกันแสดงออกอย่างเต็มที่ เป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เรียนได้มากกว่าการอ่านหนังสือที่ทุกคนก็อ่านมาแล้ว มาช่วยกันแสดงบทบาทสมมุติให้เต็มที่ แรกๆ เราอาจเขิน กระดาก อาย แต่ถ้าเราทำเต็มที่ก็จะได้ประสบการณ์จริง ได้เรียนรู้จริง ใช้เวลาคุ้มค่า ในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ตรงให้มากที่สุด

มองภาพรวมให้เห็นก่อน
GROW ME เป็น model ที่โรงเรียนกำลังทำกับลูกของเรา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยผู้ปกครองด้วย ฉะนั้น การรู้ว่าโรงเรียนกำลังทำอะไร จะช่วยให้เราพัฒนาเด็กของเราได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้อง ประสานกัน
แนวคิดนี้มาจากสิงคโปร์ เป็นแนวคิดเหมือนการทำ project
ไม่ได้เป็น model ที่ดีที่สุด แต่ก็เหมาะสมกับเราตอนนี้ กระทัดรัด ไม่เทอะทะ แต่ก็ครอบคลุม

ครูกับโค้ช ต่างกันอย่างไร พ่อแม่ช่วยกันตอบ

•    ครูเป็นคนสอน โค้ช ให้แนวทางแนะนำปรับปรุง
•    โค้ชใกล้ชิดมากกว่า ตบหลัง ตบไหล่ ตบหัว
•    ครูให้วิชาการ อัดๆ ลงไป โค้ชให้แนวทาง ไม่มีอะไรสำเร็จรูป
•    โค้ช ประคับประคองไปด้วยกัน
•    โค้ช เหมือนพี่เลี้ยง ให้ระบายความรู้สึกได้
•    โค้ช แก้ปัญหาให้กับจุดที่เราติด เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย
•    ครูเหมือนผู้สอน โค้ชมองภาพกว้าง รู้ว่าลักษณะเด็กแบบไหน เหมาะกับการอยู่ตรงไหน
(มีการมอง profile ของนักกีฬาแต่ละคน)
•    โค้ชเข้าใจจิตใจเรา อยู่เคียงข้างเรา
•    โค้ชจะให้รายละเอียดเพิ่มขึ้นว่าเด็กทำอะไรได้อีกบ้าง
•    โค้ช เสริมได้มากกว่าครู อาจทำให้ดู หาเทคนิคอะไรมาให้

อันที่จริงเราก็คาดหวังสิ่งเหล่านี้จากครู อยู่แล้ว
อะไรกันแน่ที่เราอยากให้มี ในฐานะ ครู-โค้ช ที่จะพัฒนานักเรียน
เวลาเราส่งนักกีฬาแข่ง เราคาดหวังอะไร
ชัยชนะ - จริงหรือ เราจะเห็นว่านักกีฬาบางคนคาดหวังการทำลายสถิติ เหรียญทอง ประสบการณ์ ส่วนใหญ่มีความสุข จากการได้มา ถ้าเราเป็นโค้ชที่มีนักกีฬาหลายคน เราตั้งเป้าหมายเหมือนกันไหม
วัตถุประสงค์จริงๆ ที่เราเลี้ยงลูกให้เติบโต คืออะไร
เด็กเรียนหนังสือไปเพื่ออะไร พ่อแม่ช่วยกันตอบว่า

•    พัฒนาตัวเอง
•    เพื่อชีวิตที่เหลือของเขามีคุณภาพ
•    อยู่ในสังคมปัจจุบันได้ รอด ปลอดภัย มีความสุข

เป้าหมายของการเลี้ยงเด็กคือ การอยู่รอดได้อย่างที่เขาอยากเป็น ตัวเองและคนอื่นมีความสุข แต่พูดไม่ได้ว่าจะให้ปลอดภัย ไม่ได้แปลว่าจะต้องเรียนจบอะไรมา

เด็กจะอยู่รอดอย่างมีความสุขต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง พ่อแม่ช่วยกันตอบ
•    มีทักษะชีวิต
•    มีอาชีพที่รัก
•    รู้ว่าความสุขคืออะไร
•    วุฒิภาวะ
•    ประสบการณ์
•    ระเบียบวินัย
•    ฉลาดนิดๆ (มีข้อแย้งว่าคนโง่อยู่รอดแล้วมีความสุขได้ไหม)
•    ธรรมมะ รู้จักใช้ชีวิต รู้จักตัวเอง หาความสุขให้ตัวเอง แชร์ให้คนอื่นได้ อยู่กับธรรมชาติ
•    หาความพอดีในชีวิต (คำนี้พูดทีไรถูกทุกที แค่ไหนเรียกว่าพอดี) รู้จักจัดสรร
•    แยกแยะสิ่งไหนดี ไม่ดีได้

ชีวิตต้องมีสามขาถึงจะมั่นคง
1.    ความคิด สติปัญญา (วัดว่าจรวดนี้จะไปได้สูงสุดแค่ไหน)
2.    ความอดทน อดกลั้น พากเพียร พยายาม ทนต่อความผิดหวังได้ ล้มแล้วลุกได้ รู้จักอารมณ์ตัวเองและผู้อื่นได้ (หางเสือบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการ)
3.    คุณธรรม (แผนที่ เข็มทิศ กำกับ) จรวดเกิดคุณค่าจากการมีทิศทางที่ถูก

แล้วเราทักทายเด็กอย่างไร
เรียนอะไร สอบได้ที่เท่าไร ชั้นอะไร เราทุ่มเทความสนใจไปที่ความเก่ง เราเคยถามไหมว่าวันนี้กวาดใบไม้หรือยัง ปลูกอะไรก็ได้อย่างนั้น ขอชวนคิดว่าเรากำลังทำอย่างที่เราตั้งเป้าไว้จริงๆ หรือเปล่า

(มีต่อ ตอนที่ 2)

หมายเลขบันทึก: 206701เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท