เพื่อนช่วยเพื่อนโรคไต>อาหารสำหรับผู้เปลี่ยนไต


อาหารสำหรับผู้เปลี่ยนไต
หลังการเปลี่ยนไตซึ่งทางการแพทย์มักเรียกว่า ปลูกถ่ายไต การรับประทานอาหารจะมีอิสระมากขึ้นแต่ต้องระมัดระวังดังนี้ระยะแรก  (4-6  สัปดาห์หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต)    มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันสูงโดยเฉพาะสเตียรอยด์  ซึ่งมีผลข้างเคียงคือ  มีการย่อยสลายโปรตีนมาก  คนไข้จึงควรรับประทานอาหารโปรตีนให้เพียงพอคือ  ประมาณ  1.3-1.5  กรัม/กก/วันแคลอรี่  คือพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร  คนไข้ควรรับประทานอาหารให้ได้พลังงานเพียงพอสำหรับความต้องการของร่างกาย  คือ  ควรได้รับ  30-35  กิโลแคลอรี่/กก/วัน  และ  จะต้องเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีไข้  ติดเชื้อหรือผ่าตัดซ้ำ  แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด  นอกจากนี้รับประทานให้เพียงพอแล้วยังต้องควบคุม  ไม่ควรให้มากกว่านี้  เพราะโดยทั่วไปคนไข้หลังปลูกถ่ายไตจะมีความเจริญอาหาร  รับประทานอาหารมากเกินควร  ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนถึงอ้วนได้  โดยเฉพาะอาหารโคเลสเตอรอล  ควรมีการจำกัดดังนี้  1.  หลีกเลี่ยงอาหารพวกไข่แดง  เครื่องในสัตว์  เนื้อสัตว์ติดมัน  หอยนางรม  ปลาหมึก  กุ้ง  2.  หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน  อาหารทอด  เจียว  ถ้าจำเป็นควรใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์  3.  ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง  เช่น  กะทิ  น้ำมันมะพร้าว  4.  ควรดื่มนมพร่องมันเนย  แทนนมที่ใช้ไขมันเต็มส่วน  5.  พยายามปรุงอาหารโดย  นึ่ง  ต้ม  ย่าง  อบ  แทนการทอดหรือผัด  6.  ควรเพิ่มอาหารพวกผัก  ใบต่าง ๆ  และผลไม้บางชนิดที่มีกากใยซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้น้อยลง  7.  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  8.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  สัปดาห์ละ  2-3  ครั้ง  9.  งดสูบบุหรี่  10.  งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เรื่องอาหารยังมีต่อ    ผู้ป่วยควรระวังเรื่องของอาหารชนิดที่มีโคเรสเตอรอลสูง  ก็ควรรับประทานแต่น้อยหรือหลีกเลี่ยงแต่อาหารที่มีไตรกลีเซอร์ไรด์  ซึ่งเป็นไขมันอีกชนิดหนึ่ง  มีมากในอาหารแป้ง  น้ำตาล  ของหวานจัด ๆ  ควรหลีกเลี่ยง  จำพวกโซเดียมควรจำกัดประมาณ  2 กรัม/วัน  ส่วนโปตัสเซียม  ควรจำกัดในระยะแรกหลังผ่าตัด  เมื่อปัสสาวะออกดี  และ ไตทำงานดี  จึงรับประทานได้ตามปกติ  และพวกฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  ร่างกายจะมีการสูญเสียฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมไปทางปัสสาวะ  ดังนั้นจึงควรทดแทนด้วยการรับประทานนม  หรือยาเม็ด  ยังมีวิตามิน  ที่ควรเสริมวิตามินบีรวม  และวิตามินซี  100  มก/วัน  โดยไม่จำเป็นต้องให้วิตามินเอ  เสริม และสุดท้าย  ควรเสริมในรูปยา  ถ้าพบว่ามีภาวะขาดเหล็ก  แต่โดยทั่วไปไม่ต้องให้เสริม  สิ่งสำคัญผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตควรปรึกษาแพทย์และพยาบาลที่รักษาจะดีที่สุด
สมพงษ์/ผู้เผยแพร่/รายงาน
หมายเลขบันทึก: 206538เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมอีกคนที่ได้นับการปลูกถ่ายไตครับอยากได้คงสมนุ้มากเดี่ยวกับการกินเวลากลับไปยุ บ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท