การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)


Six Sigma

การบริหารจัดการแบบ  Six  Sigma  (6σ)           
              การบริหารจัดการแบบ  Six  Sigma  ถือว่าเป็นการบริหาร  TQM  ขั้นสูงหรือแบบฉบับ     สุดยอดของ TQM  (Forrest W. Breyfogel et.al : 5)  ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ  มีการปรับปรุงคุณภาพ  การเพิ่มผลผลิต  การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย  การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six  Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero  Defect)  ยกตัวอย่างเช่น  บริษัท Motorola  ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี  เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4  แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้   Gorge Eckes (2001)  ได้ให้ความหมายของ  Six  Sigma  คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ  เพื่อหาแนวทางใน  การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง


             Six  Sigma  (6σ)  คือ  ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง  ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ  วิธีการของ Six  Sigma  เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ  สถิติ  วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์  เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท  ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย  การตลาด  การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ  Six  Sigma  จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน  เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์  ดังนี้
                    1.      Six  Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 %  หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach  เพื่อ                              ที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น
                     2.
      Six  Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)
                     3.
      Six  Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
                     4.
      Six  Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ
                     5.
     Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า                              ที่กำลังเปลี่ยนไปให้
                     6.
      Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น
                     7.
      Six  Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

(ที่มา : บทความจาก www.Six Sigma systems., Inc. แปลโดย ดร. เอื้อมทิพย์  ศรีทอง)

คำสำคัญ (Tags): #six sigma
หมายเลขบันทึก: 206382เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท