ning


วัฒนธรรม

ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionism)

ทฤษฎี Evelutionism เป็นทฤษฎีวิวัฒนาการของวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของมนุษย์ ทฤษฎีนี้ผู้ให้กำเนิด คือ Edward B. Tylor ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1832-1917  เป็นชาวอังกฤษ และเป็นนักมานุษยวิทยาในมหาวิทยาลัย ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ได้มีนักมานุษยวิทยาสังคมที่สนใจศาสตร์ทางด้านสังคมมากมายหลายคนด้วยกัน นักสังคมวิทยาสนใจทางด้านสังคมหรือสังคมสมัยใหม่ นักมานุษยวิทยาก็สนใจพฤติกรรมของมนุษย์เป็นส่วนบุคคลและมนุษย์เป็นเผ่าเป็นกลุ่มไป Tylor (1958) สนใจศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และได้ติดตามเอาใจใส่ในด้านพฤติกรรมทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคลและพฤติกรรมกลุ่ม Tylor สังเกตว่ามนุษย์มีปฏิกิริยาตอบโต้กันอย่างไร พฤติกรรมส่วนบุคคลกลายมาเป็นพฤติกรรมกลุ่ม และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคมได้อย่างไร นักมานุษยวิทยาโดยทั่วๆไปคิดว่า พฤติกรรมที่มนุษย์คิดกลั่นกรองออกมาจากความคิดของมนุษย์เอง โดยมีธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดนั้นเป็นพฤติกรรมที่นำมาตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์เอง อะไรดีก็รับไว้ใช้ อะไรไม่ดีก็ตัดทิ้งไป เป็นการลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา จากพฤติกรรมขั้นพื้นฐานสุดค่อยๆดีตามลำดับ มาจนถึงพฤติกรรมปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเจริญงอกงามที่สุดแล้ว  Tylor (1958) ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง และคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากหยาบที่สุดหรือไม่ดีที่สุดไปจนถึงดีที่สุด จากต่ำที่สุดไปจนถึงสูงสุด จากหยาบที่สุดไปจนถึงละเอียดอ่อนสวยงามที่สุด  เมื่อมนุษย์คิดพฤติกรรมใดขึ้นมาจะต้องผ่านลำดับขั้นตอนนี้เสมอ แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน จากหยาบที่สุดไปปานกลางแล้วจึงพัฒนาไปถึงพฤติกรรมที่ดีงาม Tylor (1958) กล่าวว่า วัฒนธรรมใดๆจะมีวิวัฒนาการจากขั้นตอนที่ง่ายที่สุดไปจนถึงยุ่งยากที่สุด และพฤติกรรมของมนุษย์ทุกๆสังคมทั่วโลกจะต้องผ่านสามลำดับขั้นตอนทีละขั้นขั้นแรก” Tylor  เรียกว่า “Savagery” ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุด ขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นขั้นกลางที่ถือว่าเป็นพฤติกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างพฤติกรรมง่ายสุดและพฤติกรรมยากสุดหรือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีงามนักกับพฤติกรรมที่ดีงามแล้ว ขั้นกลางนี้เรียกว่า “Civilization” Tylor  เชื่อว่าวิวัฒนาการของสังคมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนนี้เหมือนกับวิวัฒนาการทางร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นตอน คือพัฒนาจากระดับต่ำสุดไปจนถึงระดับสูงสุด โดยผ่านขั้นตอนต่างๆตามลำดับขั้นตอน นอกจากนั้น เมื่อถึงขั้นตอนที่สูงสุดหรือขั้นอารยะ (Civilized)นั้น Tylor (1958) เชื่อว่าสังคมก็อาจเสื่อมสลายได้เหมือนๆกับร่างกายของมนุษย์เช่นกัน สังคมปัจจุบันที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นศิวิไลซ์ คือขั้นเจริญสูงสุดแล้ว มันเป็นการอยู่รอด (Survivals) ได้ด้วยการปรับตัวด้วยความสามารถอยู่ตลอดเวลา สิ่งของทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งทนทานวัตถุธาตุต่างๆ ที่ทำจากดินเหนียวและโลหะต่างๆ เช่น เหล็กสัมฤทธิ์ ภาชนะเครื่องใช้ที่ทำด้วยแก้ว พลาสติกเนื้อดีเนื้อแข็งล้วนเป็นผลิตผลของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะทนทานที่สามารถจะอยู่รอดและหลงเหลือได้นานเท่านาน แต่อย่างไรก็ตามมันก็ต้อเสื่อมสลายไปในที่สุด ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นตามความทนทานของสิ่งของนั่นเอง

                สังคมใดถ้าอยู่ในระบบระเบียบ เจริญงอกงามดี พัฒนาตัวเองดีและแข็งแกร่งก็จะเป็นสังคมที่อยู่รอดได้ แต่ถ้าปรับตัวได้ไม่ดีในที่สุดสังคมนั้นก็จะเสื่อมสลายไปได้เช่นกัน ข้อนี้ไม่ผิดกับอินทรีย์ของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆในโลกนี้ ซึ่งจะพัฒนาจากต่ำไปหาสูงและในที่สุดก็จะแตกดับตายไป นอกจากนี้ Tylor  ยังได้เน้นว่ามนุษย์ทุกคนมีโครงสร้างทางกายภาพเหมือนๆกัน และมีความต้องการทางพื้นฐานเหมือนๆกัน เพราะฉะนั้นมนุษย์จะมีพฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานและตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของตนเองคล้ายๆกัน พฤติกรรมเหล่านั้นจะพัฒนาไปตามขั้นตอนของวิวัฒนาการดังกล่าวแล้วเหมือนกัน

                มาร์กซ์ (Karl Marx) (1988) เชื่อว่าสังคมหรืออินทรีย์ทั้งหลายพัฒนาตามลำดับ เช่น Tylor และ Morgan ค้นพบ แต่เมื่อถึงจุดสูงสุดซึ่งก้าวต่อไปไม่ได้แล้ว มันจะไม่สูญหายไปไหนแต่จะย้อนกลับมา ณ จุดเดิมอีก ตัวอย่างเช่น สังคมดั้งเดิม(Primitive) นั้น เมื่อพัฒนาไปถึงขั้นอนารยะ(Barbarism) แล้วมันจะพัฒนาต่อไปจนถึงขั้นศิวิลัยซ์(civilized) หรือคือขั้นสูงสุดจากนั้นก็จะวกกลับมา ณ จุดเดิมอีกนั่นคือ คนจะกลับมามีพฤติกรรมขั้นพื้นฐาน Primitive อีก นี่คือความเชื่อของมาร์กซ์ ซึ่งจะได้กล่าวเพิ่มเติมในตอนต่อไป

                Tylor (1958) สรุปว่า มนุษย์จะมีประวัติศาสตร์ทางวิวัฒนาการของพฤติกรรม เหมือนๆกัน และผ่านขั้นตอนเดียยวกันตามลำดับเพราะว่ามนุษย์ในโลกนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนส่วนใดของโลกย่อมมีความต้องการเหมือนกันและคิดคล้ายๆกัน เมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้นเฉพาะหน้า มนุษย์จะมีวิธีการแก้ไขตัดสินปัญหาเฉพาะหน้าแบบเดียวกัน กล่าวคือระบบความคิดพื้นฐานของมนุษย์นั้นเป็นระบบที่เหมือนๆกัน เพราะระบบความคิดเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นระบบระเบียบของมันเอง เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มา ถึงแม้จะอยู่สังคมต่างกันคนละที่กัน ความคิดอ่านในเรื่องของพื้นฐานจริงๆนั้น จะต้องเหมือนกัน เพราะฉะนั้นพฤติกรรมพื้นฐานซึ่งกลายมาเป็นที่ยอมรับ ประพฤติปฏิบัติกันทั่วไปของมนุษย์ทุกๆสังคมย่อมเหมือนๆกันด้วย และพฤติกรรมพื้นฐานเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์ส่วนใดของโลกหรือสังคมใดๆ ของโลกก็จะมีสถาบันพื้นฐานเหมือนๆกันหมด เช่น สถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองปากท้องของมนุษย์ สถาบันสุขภาพหรือสาธารณสุขถูกสร้างขึ้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการเยียวยารักษาโรคภัยของมนุษย์ สถาบันก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานทางด้านความต้องการป้องกันความร้อนหนาวจากภูมิอากาศและภยันตรายให้แก่มนุษย์ เป็นต้น

                แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราเห็นแตกแยกกันไปในแต่ละสังคมนั้น เป็นส่วนขยายปลีกย่อยของวัฒนธรรม รายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทำให้วัฒนธรรมของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน และพัฒนาไปต่างๆกัน เนื่องมาจากคนในแต่ละสังคมได้หยิบยืมวัฒนธรรมของกันและกันไปใช้ และเมื่อนำไปใช้ก็ไม่ได้นำไปใช้ทั้งหมดในรูปลักษณ์เดิม จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสังคมและคนในสังคมของตน เป็นการขอยืมมาใช้ แต่ปรับใช้ให้เกิดควาสะดวกและเหมาะสมกับคนในสังคมของตนให้มากที่สุด นี่คือความคิดของ Tylor ซึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการของพฤติกรรมของมนุษย์หรือเรียกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการนั่นเอง

                มีผู้ร่วมแนวความคิดเดียวกับ Tylor อีกคนหนึ่งคือ Morgan ซึ่งมีชื่อเดิมว่า Lewis Henry Morgan  Morgan มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี 1818-1889 เดิมเขาเป็นนักกฎหมายชาวนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาผู้สนใจความเป็นอยู่ของอินเดียนแดงเผ่าอิโรคัวส์ และได้ทำการศึกษาชนเผ่านี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากเป็นนักกฎหมาย ต่อมาจึงได้สนใจศึกษาสิทธิทางครอบครัวรวมไปถึงสิทธิการได้ประโยชน์เสียประโยชน์ของอินเดียนแดงเผิ่ดโรคัวส์มาโดยตลอด Morgan ได้พิมพ์หนังสือเรื่อง The League of The Iroquois (1954) หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของชนเผ่าอีโรคัวส์โดยเฉพาะ เป็นการสาธิตถึงสิทธิและหน้าที่ และระบบครอบครัวกับเครือญาติในหมู่ชนเผ่าอินเดียนแดง ต่อมามอร์แกนเห็นว่าพฤติกรรมของสถาบันสังคมพื้นฐานที่เขาศึกษา คือ สถาบันครอบครัวและเครือญาตินั้นมีความเป็นมาตามลำดับขั้นตอน มันไม่ได้เกิดขึ้นมาในขณะที่เขาเห็นแล้วเจริญได้เลยทันทีทันใด กว่าจะมาถึงยุคที่เจริญสูงสุดที่เขากำลังศึกษาอยู่นั้น สถาบันครอบครัวและเครือญาติได้ผ่านลำดับขั้นตอนมาเป็นลำดับ การศึกษาของเขาได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สืบย้อนผสมผสานกับวิธีการทางวิวัฒนาการของวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของมนุษย์ในทุกๆแง่มุมตามลำดับและได้ข้อสรุปว่าพฤติกรรมมนุษย์จะผ่านขั้นตอนเดียวกันหมด 3 ลำดับขั้นตอนเช่นที่ Tylor แบ่งลำดับเอาไว้ ได้แก่ขั้น Savagery,Barbarism (หรือ Barbarianism) และ Civilization นอกจากนี้มอร์แกนยังได้แบ่งเป็นขั้นตอนย่อยๆออกไปอีก เพราะเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้กระโดดจากขั้น Savage มาเป็นขั้น Barbarian แล้วกระโจนมาถึงขั้น Civilized ได้เลยในทันทีทันใด แต่มันจะค่อยๆเปลี่ยนไปอย่างช้าๆตามขั้นย่อยๆเหล่านั้น ได้แก่ ขั้น Savage ตอนต้น Savage ตอนกลาง และ Savage ตอนปลาย Barbarism ตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย ขั้น Civilized ตอนต้น และขั้นตอนในปัจจุบันเป็นต้น นี่คือข้อแตกต่างระหว่าง Tylor กับ Morgan ในเรื่องวิวัฒนาการ Morgan ได้บรรยายเรื่องนี้ไว้ใน Ancient Society (1877) และผู้สนใจจะหาอ่านได้ในหนังสือภาษาไทยชื่อมานุษยวิทยา : ว่าด้วยครอบครัว การแต่งงาน และเครือญาติ โดยนิยพรรณ วรรณศิริ (2528) ทุกๆขั้นตอนตามลำดับเหล่านั้น มอร์แกนให้รายละเอียดถึงวิวัฒนาการทางครอบครัว การแต่งงาน และเครือญาติไว้มากมายเป็นที่น่าสังเกตว่า ในขั้น Civilization ,มอร์แกนไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก เพราะเห็นว่า (1) ยุคศิวิไลซ์เป็นยุคที่เจริญแล้ว เป็นยุคประวัติศาสตร์ซี่งมีการจดบันทึกข้อมูลและมีการขุดค้นสิ่งของหลงเหลืออยู่ทั้งใต้ดินและบนดินมากมาย (2) ยุคสุดท้ายนั้นถือว่าเป็นยุคอารยธรรมเจริญสูง

สุด ซึ่งมอร์แกนไม่ได้ให้ความสนใจกับพฤติกรรมสมัยใหม่เท่าใดนักเขาสนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมมากกว่า มอร์แกนได้ทึกทักเอาว่าลำดับขั้นตอนของวิวัฒนาการทางครอบครัวที่เขาได้ศึกษานั้นมีอยู่ 6 ลำดับขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนที่คนสมสู่แบบส่ำส่อน กล่าวคือเป็นการสมสู่เยี่ยงสัตว์เป็นฝูงๆ ใครเกิดกำหนัดหรือเกิดความใคร่ขึ้นมา ต้องการจะขับถ่ายทางเพศก็ได้เสียกันไปตามอำเภอใจ โดยใช้การลองผิดลองถูกเอาเอง ความเป็นญาติยังไม่เกิด ระบบเครือญาติยังไม่มีในสังคม การจะได้เสียกัน สืบพันธุ์กันได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ หรือไม่ได้ นั่นก็คือเป็นการทดลองกันทางสรีระเป็นหลักข้อห้ามหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางเรื่องเพศยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น การจับคู่ได้เสียกันยังไม่ปรากฎ

ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่มนุษย์รู้จักแยกกลุ่มแล้ว แรกทีเดียวเป็นการแยก กลุ่มตามเพศก่อน โดยแยกกลุ่มคนออกเป็นเพศชาย และเพศหญิง ดังนั้น พี่น้องชายจะไปอยู่กับฝ่ายชาย พี่น้องหญิงก็จะไปอยู่กับกลุ่มหญิง และให้แต่งงานได้แบบกลุ่มต่อกลุ่ม(กลุ่มเพศ) ยุคนี้เกิดเค้าโครงของเครือญาติเป็นเลาๆขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เด่นชัด  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เครือญาติยังคงแต่งงานกันได้ พี่ชายกับน้องสาวสามารถแต่งงานกันได้ พ่อแม่ยังแต่งงานกับลูกได้ เป็นต้น ในยุคนี้เพศหญิงซึ่งให้กำเนิดตัวอ่อนได้รับการยกย่องมากในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตของตัวอ่อนซึ่งต่อมาจะเป็นสมาชิกรุ่นใหม่ของสังคม ยุคนี้หญิงมีอำนาจมากจึงทำอะไรได้ตามความพอใจรวมไปถึงการมสิทธิ์สมสู่กับชายได้หลายๆคน จึงเกิดระบบ “Polyandry” ขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนที่เข้าใจว่าสังคมเกิดมีระบบเครือญาติขึ้นแล้วตัวอ่อนรู้แล้วใครเป็นพ่อ หรือใครเป็นพี่น้องของใคร กลุ่มเพศที่แยกออกจากกันและเป็นพี่น้องกันในยุคต้นๆ จะไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกัน หรือได้เสียกันเพราะมนุษย์ได้สังเกตเห็นผลเสียทางร่างกายจากการแต่งงานในแบบพี่น้องใกล้ชิดกัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดกฎทางสังคมที่เกี่ยวกับการได้เสีย ที่เรียกว่า กฎ “Incest Taboo” ซึ่งห้ามเครือญาติในครอบครัวเดี่ยวได้เสียกันเอง และยังบังคับให้ไปสมสู่กับคนนอกกลุ่ม อีกด้วยนี่คือกฎ “Exogamy” นั่นเอง ในขั้นตอนที่ สามนี้ ถือว่าสังคมย่อมมีการจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ขึ้นแล้ว ขั้นตอนนี้อยู่ในช่วงยุค savagery ตอนปลาย

ขั้นตอนที่ 4 ยุค Barbarism คือยุคกลางหรือยุคอนารยะหรือยุคเถื่อนยุคนี้จะเห็นชัดว่ามีการจับคู่แต่งงานเกิดขึ้นแล้วระหว่างหญิงกับชาย ระบบการได้เสียได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก นั่นก็คือมีการจับกัดสิทธิและขอบเขตของการยุ่งเกี่ยวกันทางเพศให้เป็นคู่ๆเกิดควาเป็นเจ้าของของกันและกันขึ้น แต่ความเป็นคู่นั้นยังระส่ำระส่ายและหละหลวมอยู่มาก เรียกว่าเป็นการจับคู่แต่งงานที่ไม่สมดุล อาจจะมีหญิงหนึ่งคนต่อชายหลายคน หรือชายหลายคนต่อหญิงหนึ่งคน ซึ่งเรียกว่าระบบ “Polygamy” หรือระบบมากผัว- หลายเมียนั่นเอง เป็นลักษณะที่ยังมีลักษณะของยุคเก่าคือการแต่งงานหมู่หรือการสมสู่กลุ่มหลงเหลืออยู่ ผนวกกับเกิดการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียวขึ้นอันเป็นลักษณะของยุคศิวิไลซ์แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนัก ยุคนี้ชายเริ่มมีอำนาจในสังคม เนื่องมาจากเป็นผู้หาเศรษฐกิจมาเลี้ยงครอบครัวได้ดีกว่าหญิง

ขั้นตอนที่ 5 ชายเป็นใหญ่ในสังคมเต็มที่ชายหนึ่งคนถือโอกาสสมสู่กับหญิงทีเดียวหลายๆคนก็ได้เพราะว่าในช่วงนี้เป็นช่วงที่คนที่เป็นใหญ่ก็ฉกฉวยโอกาสหาประโยชน์ใส่ตน ยุคนี้จะเป็นยุคที่มีการแต่งงานแบบ “Polygyny” เป็นยุคที่มีการล่าหญิงมาสมสู่กันในหมู่พี่น้อง และเพื่อนฝูงชาย

ขั้นตอนที่ 6 หลังจากที่สังคมได้ลองผิดลองถูกมาตลอดยุคที่ห้าและเห็นผลเสียในการที่มีคู่แบบไม่ได้สัดส่วนหรือไม่สมดุล กล่าวคือฝ่ายชายมีคู่มากกว่าหนึ่งคนทำให้เกิดปัญหามากขึ้น ปัญหาเหล่านั้นได้แก่ (1) เศรษฐกิจไม่เพียงพอสำหรับดูแลภรรยาหลายคน และลูกๆอันเกิดจากภรรยาแต่ละคน ทำให้ครอบครัวไม่พัฒนาพ่อบ้านต้องทำงานหนักมากเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว (2) ปัญหาการเกิดอารมณ์หึงหวง และเกิดการทะเลาะวิวาทตบตีกันในหมู่ภรรยา (3) ปัญหาการสืบทอดทายาทและสมบัติ การมีภรรยาที่มีฐานะภาพเท่าเทียมกันหลายๆคน จะเกิดการแก่งแย่งทรัพย์สมบัติในหมู่ลูกๆของภรรยาแต่ละคนเพราะลูกๆทุกๆคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน สังคมจึงกำหนดให้แก้ไขปัญหานี้ด้วยการมีคู่แต่งงานที่สมดุลและได้สัดส่วนนั่นคือการแต่งงานแบบ “Monogamy” หรือการมีคู่ผัวตัวเมียเดียวฝ่ายละ 1 คนเท่านั้น การแต่งงานแบบนี้เป็นลักษณะประจำยุค Civilization หรือสมัยใหม่นั่นเอง

การแบ่งลำดับวิวัฒนาการขั้นต้นและขั้นกลางออกเป็น 6 ขั้นตอนของมอร์แกนนี้ไม่ใคร่จะได้รับการสนับสนุนเท่าใดนักเพราะว่ายังขาดหลักฐานสนับสนุนที่น่าเชื่อได้ในหลายๆประเด็น ส่วนใหญ่ Morgan จะคาดคะเนเอาเอง ในขั้นตอนที่ไม่สามารถจะสืบย้อนไปถึงได้ นอกจากนี้

มอร์แกนยังได้แบ่งวิวัฒนาการทางการลำดับเครือญาติไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจทางด้านวิวัฒนาการของครอบครัวและเครือญาติได้เคยเห็นตัวอย่างจากความเป็นจริงว่า ในปัจจุบันนี้ยังมีสังคมดั้งเดิมที่สมาชิกของสังคมยังมีพฤติกรรมในขั้น Savage อยู่อีกมากมายหลายสังคมที่มิได้มีพฤติกรรมในการสมสู่เช่นที่มอร์แกนได้กล่าวไว้ในขั้นตอนที่ 1 ของทฤษฎีวิวัฒนาการ นั่นก็คือขั้นตอนของพฤติกรรมของยุค Savage ซึ่งมนุษย์สมสู่กันเยี่ยงสัตว์เป็นฝูงๆโดยไม่มีการจับคู่ ใครใคร่ได้เสียกับใครก็ได้เสียกันได้ง่ายๆ และไม่มีกฏเกณฑ์ข้อห้ามใดๆทั้งสิ้น ข้อนี้นักศึกษาสังคมดั้งเดิมในปัจจุบันนี้ไม่พบพฤติกรรมดังกล่าว เช่น สังคม Semang และ Sakai ทางตอนใต้ของประเทศไทย สังคมดั้งเดิมในแอฟริกา นิวกินี และออสเตรเลีย เป็นต้น ส่วนใหญ่การสมสู่จะเป็นแบบใดขึ้นอยู่กับบุคคลมากกว่า

                สังคมศิวิไลซ์หรือสังคมอารยะ หรือสังคมที่เจริญสูงสุดในทัศนะของมอร์แกนนั้น จะมองเห็นได้จากลักษณะดังต่อไปนี้

                1. ระบบครอบครัวจะเป็นลักษณะ Monogamy หรือชายหนึ่งคนต่อหญิงหนึ่งคน

                2. ระบบเศรษฐกิจจะมีลักษณะของการครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว (Private-property ) ซึ่งในยุคเก่าการครอบครองทรัพย์สินจะเป็นแบบทรัพย์สินส่วนรวม(หรือ Communual property )

                3. ลักษณะการปกครองจะเป็นแบบรัฐ(State) หรือแบบที่มีรัฐบาลและการเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงข้ามกับลักษณะการปกครองแบบเผ่า(Tribe) ที่เรียกว่า “Statelass” หรือการปกครองแบบเผ่าเร่ร่อนที่ไม่มีระบบรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม

                วิวัฒนาการตามแนวคิดเอง Tylor และ Morgan นั้น  Karl Marx (ใน Hoebel 1978) ไม่เห็นด้วย มาร์กคิดว่าเมื่อวัฒนธรรมพัฒนาขึ้นมาถึงขั้นตอนที่เจริญสูงสุดแวมันจะไม่จบแค่นั้น แต่จะวกกลับมาที่จุดเดิมหรือตั้งต้นที่จุดเดิมใหม่ นั่นก็คือพฤติกรรมที่เจริญถึงขั้นศิวิไลซ์จะย้อนกลับเป็นพฤติกรรมขั้น savage ใหม่ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าสังคมที่เจริญสูงสุดจะวกกลับมาใช้พฤติกรรมทุกรูปแบบของระบบดั้งเดิม (Primitive Comunuality) อีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวคิดของมาร์กในข้อนี้ เพราะว่าเมื่อมนุษย์มาจากขั้นตอนที่ไม่มีอะไรเลยจนถึงขั้นตอนที่มีทุกสิ่งทุกอย่าง และจากชีวิตเรียบง่ายมาเป็นชีวิตที่ยุ่งยากและสับสน จากความไม่มีสิ่งของอะไรเลยมาถึงขั้นตอนที่มีจนเกินพอดีแล้ว มนุษย์จะรู้สึกเบื่อหน่ายและอยากจะกลับไปมีชีวิตที่เงียบๆง่ายๆ คนที่อยู่ในเมืองที่เจริญที่สุดและพลุกพล่านมากที่สุด ถึงจุดหนึ่งจะเกิดอาการเบื่อหน่าย และอยากกลับไปสู่ธรรมชาติที่เงียบและง่ายเหมือนเดิมนี่คือลักษณะของมนุษย์ทุกคนที่มาถึงจุดสูงสุดแล้วก็อยากจะกลับไปอยู่อย่างสงบ และเรียบง่ายเหมือนเดิม (นี่คือข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับจากประสบการณ์และจากการสังเกตการณ์ของผู้คนรอบตัว)

ข้อบกพร่องของทฤษฎีวิวัฒนาการของไทเลอร์และมอร์แกน

                ทฤษฎีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมหรือวิวัฒนาการของพฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวคิดของ Tylor  และ Morgan ดังได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นไม่ได้มีข้อยุติเพียงเท่านี้เพราะยังมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอยู่อีกหลายฝ่าย ข้อบกพร่องข้อแรกของทฤษฎีของ Tylor และ Morgan ก็คือ ถ้าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นระบบระเบียบตามวิวัฒนาการเช่นนั้น ทำไมสังคมทุกสังคมจึงเจริญไม่เท่ากัน ในช่วงระยะเวลาเท่าๆกัน ทำไมจึงมีสังคมหนึ่งเจริญกว่าอีกสังคมหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยตั้งประเทศมาได้ประมาณ 700 ปีแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเจริญมาได้ประมาณไม่เกิน 300 ปี ทำไมเราจึงเจริญไม่เท่า ทำไม อเมริกาตั้งประเทศมาในระยะเวลาที่สั้นกว่าไทย จึงเจริญก้าวหน้ากว่าไทยมากมาย ข้อนี้เป็นจุดอ่อนที่ Tylor และ Morgan มิได้วิเคราะห์ และมิได้ให้คำตอบไว้ ข้อบกพร่องข้อที่สองก็คือถ้าวัฒนธรรมของมนุษย์พัฒนาไปตามลำดับขั้นตอนเช่นกล่าวมาแล้ว ทำไมบางสังคมจึงถอยหลังบางสังคมถึงกับตายไปหรือหายสาบสูญไปจากโลกนี้เลยก็มี หรือบางสังคมเมื่อตั้งสังคมขึ้นมา กลับเจริญก้าวกระโดดจากขั้น Savage ไป Civilized ทันทีก็มี โดยไม่ผ่านไปตามลำดับขั้นตอนจาก Savagery ไป Barbarianism และไป Civilization

                จากข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วทั้งสองข้อนั้นทำให้เกิดนักทฤษฎีทางวิวัฒนาการขึ้นมาอีกหลายคนในสมัยต่อมาเช่น

                1. Leslie A.White (1969) ผู้ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎี Historicalism ของ Boas และไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีวิวัฒนาการสายเดี่ยวของ Tylor และ Morgan เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามเขาก็ยังเชื่อในเรื่องวิวัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ White เป็นนักคิดในเรื่องวิวัฒนาการแนวใหม่ หรือเป็นนักวิวัฒนาการยุคใหม่ (Neo-Evolutionists) ปรากฏว่า White ไม่ใคร่จะชอบใช้คำว่านักวิวัฒนาการรุ่นใหม่มากนักเพราะแนวคิดของเขาไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก Tylor และ Morgan มากนักคงแตกต่างในข้อปลีกย่อยเท่านั้น สาเหตุที่แตกต่างในข้อปลีกย่อยก็เพราะ White มีข้อมูลมากขึ้นจึงทำให้มีรายละเอียดมากขึ้น

                White(1949) ไม่เชื่อว่าธรรมชาติควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ตรงกันข้ามเขากลับคิดว่ามนุษย์เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ พฤติกรรมของมนุษย์นั้นจะเจริญตามลำดับขั้นตอนตามยุคสมัยได้ ก็เพราะคนเป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ เพราะฉะนั้นถ้าคนเป็นคนดีเสียแล้ว พฤติกรรมย่อมจะดีตามไปด้วย ถ้าทรัพยากรมนุษย์ดีวัฒนธรรมก็ย่อมจะดีตามไปด้วย ถ้าธรรมชาติควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมได้จริงทำไมในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแบบเดียวกันบางสังคมจึงเจริญ และบางสังคมจึงเสื่อมหรือสาบสูญไปได้ แสดงว่าความเจริญหรือความเสื่อมของพฤติกรรม (หรือวัฒนธรรม) และสังคมมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์เป็นผู้บงการสิ่งแวดล้อมและมนุษย์เป็นผู้สร้างสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

                3. Julian Steward (1949) เชื่อว่าวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของคนจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ สิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเป็นตัวทำให้พฤติกรรมของมนุษย์หลากหลาย และสิ่งแวดล้อมที่อัตคัดจะทำให้มนุษย์คิดปรับตัวให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมแบบนั้นได้ นั่นก็คือมนุษย์ต้องคิดหนักว่าจะทำอย่างไรจึงจะอยู่รอด ได้ด้วยดี การปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อม เพื่อจะให้มีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ มนุษย์จะต้องคิดหาวิธีการใดๆ มาจัดหาสิ่งที่มนุษย์ต้องการแต่ยังขาดแคลนอยู่ให้ได้ สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนจะส่งผลให้มนุษย์ต้องใช้ความคิดมากขึ้น ยิ่งคิดมาก พฤติกรรมย่อมมีมากขึ้น และดีขึ้น เพื่อจะเอาชนะธรรมชาติให้ได้ ความคิดของจูเลี่ยน สจ๊วต นี่เองที่เป็นที่มาของทฤษฎี “Cultural Ecology” หรือทฤษฎีนิเวศวิทยาทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทฤษฎีต่อเนื่องกับทฤษฎีวิวัฒนาการหลายสาย” (Multilineal Evolutionism ของ Steward และ White ทฤษฎีนิเวศวิทยามีแนวคิดว่าสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ในขณะเดียวกันมนุษย์เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมด้วย แนวคิดของสจ๊วต ก็คือแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของพฤติกรรมของมนุษย์หรือวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมนั่นเอง

                แนวคิดของ Steward ต่างจาก White ตรงที่ Steward เชื่อว่าสิ่งแวดล้อควบุฒพฤติกรรมของมนุษย์ ส่วนแนวคิดของ White คือมนุษย์ควบคุมสิ่งแวดล้อม

                วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม ทั้งของไวท์และสจ๊วตแตกต่างไปจากวิวัฒนาการของไทเลอร์และมอร์แกน ตรงที่ White และ Steward ไม่ได้จัดขั้นตอนของวิวัฒนาการของพฤติกรรมของมนุษย์ แต่ไม่มุ่งถึงประเด็นว่า อะไรเป็นตัวทำให้วัฒนธรรมของมนุษย์พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามความคิดของสจ๊วตไปสอดคล้องกับความคิดของ Charles Darwin (1927) ที่ว่าความอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสม(Survival for the Fittest) Darwin เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้จะอยู่รอดได้ ก็จะต้องเป็นผู้ที่ธรรมชาติเลือกแล้วว่าแข็งแรงที่สุด ผู้ที่แข็งแรงที่สุดสามารถจะปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของสิ่งแวดล้อมทุกๆ ลักษณะได้ ในสิ่งแวดล้อมที่โหดร้ายผู้ที่อ่อนแอจะตายไปในที่สุด ผู้ที่อยู่รอดเป็นผู้ที่ธรรมชาติเลือกแล้วว่าสมควรจะอยู่รอดได้ เพราะสามารถที่จะต่อสู้ได้กับภัยพิบัติรอบตัวนานัปการได้ ตัวอย่างเช่น ยีราฟอยู่รอดมาจนทุกวันนี้ได้เพราะจัดร่างกายให้เหมาะสมกับธรรมชาติที่ขาดแคลนได้ นั่นก็คือสามารถยืดคอขึ้นไปถึงพืชผักที่อุดมสมบูรณ์ในระดับสูงได้จึงมีอาหารกินก็อยู่รอดได้ สจ๊วตก็คิดในมุมเดียวกันว่า ผู้ที่เจริญได้ก็คือผู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในทุกระดับและทุกอย่างได้ ดังนั้น สจ๊วตจึงเชื่อว่าความแตกต่างของวัฒนธรรมในแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน สังคมจะเจริญหรือพัฒนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ให้มา เช่นสิ่งแวดล้อมให้ความอุดมสมบูรณ์ทางแร่ธาตุในพื้นดินและทางทรัพยากร สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่พัฒนาสูงสุดเป็นต้น

                เมื่อเอาสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์เรื่องวิวัฒนาการของพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว จะเป็นการตอบคำถามหรืออุดช่องโหว่ของทฤษฎีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของ Tylor และ Morgan ในข้อที่ว่าเมื่อวัฒนธรรมต้องพัฒนาไปตามลำดับขั้นตอนแล้วทำไมจึงมีบางสังคมเจริญหรือบาง

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี
หมายเลขบันทึก: 206323เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทบ.ชาวพุทธ ..เริ่มที่ หลายๆๆๆๆๆๆชาติปางก่อน นนนนนน นู้นนนนน....กำลัง รอ ผู้รู้ มาพิสูจน์....อิอิ

  • แวะมาสวัสดีค่ะ
  • ฝนตก ถนอมสุขภาพนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท