ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน


ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้คุณ ถ้าคุณไม่อยากเจอคุณต้องหยุด !

ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน
       ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
          ปีที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดกว่าหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนภาคใต้ก็เจอกับพายุที่รุนแรงขึ้น ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาลึกมากขึ้น  คงไม่ต้องย้ำกันอีกรอบ ตามที่วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แห่งนิตยสารคดี บอกว่า ภาวะโลกร้อนได้มาเคาะประตูบ้านของเราแล้ว...
          เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คน จาก ๑๓๐ ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ ๙๐ มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก
ดังนั้นภารกิจที่เหล่ามนุษยชาติต้องรับผิดชอบร่วมกันก็คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคารบอร์ไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด เพื่อต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น
ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติก จากอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ที่ใช้เพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานสั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงขนาดเล็กและบางถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งจะเป็นภาระในการเก็บขน และจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบาง และมีปริมาณมากปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ จะทำให้การย่อยสลายมูลฝอย เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น
ถ้าถามว่า ลดใช้ถุงพลาสติกเกี่ยวอะไรกับโลกร้อนและเราคนเดียว ลด หรือ ไม่ใช้ ถุงพลาสติก จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้? คำตอบคือ ได้
          ต้นเหตุสำคัญคือ ร้อยละ 90 มาจากมนุษย์ สร้างกิจกรรมเผาผลาญเชื้อเพลิง ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินความสามารถของโลกที่จะสะท้อนความร้อนจากพื้นโลกออกไปนอกโลกได้ทัน
      ผลคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบระดับมหันตภัยทั้งสิ้น เช่น
          • พายุหมุนที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น
          • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
          • สภาพอากาศที่แปรปรวน จนยากจะคาดเดา
        ฤดูกาล และวงจรการเกษตรเปลี่ยนแปลง
          • โรคระบาดใหม่ๆ เป็นต้น
          ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ
          ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี
          ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550 ) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปีหัวข้อ
• ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก
• ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก
• การลดการใช้ถุงพาสติก
• ข้อดีของการใช้ถุงผ้า
มาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ
ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก
        ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดวิเศษ น้ำหนักเบาในยุค 1960 ซึ่งพัฒนาขยายผลมาจาก เซลลูลอยด์ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868
          • ถุงพลาสติกเป็นของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ในปัจจุบัน มียอดการใช้ 5 แสนล้าน ถึงล้านล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยทุก 1 นาทีมีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบ
          • และจำนวน 5 แสนล้านใบนี้ ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9 พันล้านลิตร เทียบให้ชัดคือ พลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติก 8.7 ใบ สามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกล 1 กิโลเมตร
          • ถุงพลาสติกเป็นของใช้ที่มีอายุการใช้งานสั้น พร้อมเป็นขยะทันทีหลังการใช้ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปีเป็นอย่างน้อย
          • ถุงพลาสติกหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไปรีไซเคิ้ลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิ้ลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป จากการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกราว 46,000 ชิ้น
          • ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้อง ใช้เวลา ย่อยสลาย นานกว่า 1,000 ปี
          • ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ
          • ทุก 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบลอยในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวน 100,000 ตัว และปลาอีกนับไม่ถ้วน
          • แต่ละปีมีเต่าทะเล และสัตว์น้ำจำนวนมาก ตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร เช่น แมงกะพรุน
          • ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีนั้น ถ้าเอามาต่อกัน จะได้เป็นระยะทางเท่ากับ เดินทางไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบเลยทีเดียว

ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก
ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ของถุงพลาสติกได้ทำให้เกิดโทษต่อระบบนิเวศและชีวิตของผู้บริโภคต่อเนื่อง กว้างขวางและยาวนานในแต่ละสัปดาห์ คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5000 ล้านถุงในแต่ละปี การนำถุงพลาสติกไปใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างมากโดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกใส่มูลฝอยจะทำให้เกิดการแปรสภาพมูลฝอยในภาวะที่ขาดอากาศเป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อน

ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
  •  การเสื่อมโทรมของดิน
  •  การเสื่อมคุณภาพของน้ำ
  •  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบก
  •  เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดชีวภาพที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ
  •  ให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อถูกเผา
  •  ทำให้เกิดการอุดตันในทางระบายน้ำ ปละทำให้เกิดน้ำท่วม
  •  เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
  •  เป็นต้นเหตุของการเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของพาหะนำโรคและการแพร่ระบาดของโรคร้ายหลายชนิด

เป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทางทั้งทางบก และทางน้ำและทางอากาศ
          การผลิตและนำออกมาใช้มีปริมาณมากและต่อเนื่อง ขณะที่การย่อยสลายต้องใช้เวลายาวนานทำให้เกิดการสะสมปริมาณถุงพลาสติกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดและป้องกันปัญหาหลากหลายที่เกิดจากถุงพลาสติก จำเป็นต้องลดการใช้ ด้วยการใช้ทางเลือกในการรองรับและขนส่งสินค้าและอาหาร แทนการใช้ถุงพลาสติก เช่นการใช้ถุงผ้า หรือวัสดุอื่นที่ย่อยสลายได้ และสามารถใช้ได้ยาวนาน ผู้บริโภคจะสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย และลด-แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงผ้า 

การลดการใช้ถุงพาสติก
          ถุงพลาสติกเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเพราะย่อยสลายได้ยาก ใช้เวลาเป็นร้อยๆปี วิธีการกำจัดถุงพลาสติกนั้น มีอยู่ 2 วิธี คือ
          1. ฝัง : การฝังต้องใช้พื้นที่เยอะและพื้นที่นั้นก็จะทำการเกษตรไม่ได้อีกเลย เพราะ พลาสติกไม่ย่ิอยสลาย
          2. เผา : การเผานี้ ถ้าเผาไหมไม่สมบูรณ์ ก็จะมีก๊าซพิษออกมาด้วย แต่แม้ว่าจะเผาไหมสมบูรณ์ก็จะมีก็าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก็าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติอมความร้อน ไปปกครุมอยู่รอบโลก ทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเผาไหมก็ไม่มีทางที่จะสมบูรณ์ 100% ได้ ทำให้มีทั้งก๊าซพิษ และก๊าซเรือนกระจก
          จะกำจัดอย่างไร อย่างไรก็เป็นผลเสียทั้งนั้น พวกเราต้องช่วยกัน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก โดยการ
          1. นำถุงผ้า หรือพาชนะไปใส่ของแทน แล้วก็พูดว่า "ไม่ต้องถุงก็ได้"  ตัวอย่างเช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหาร ไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกทุกชนิดนะจ๊ะ
          2. ใช้ถุงกระดาษ อย่างเมืองนอกเวลาเราดูหนัง เขาซื้อของกลับมาบ้าน อุ้มถุงกระดาษเข้ามา ก็เพราะเขาไม่ต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากนั้นเอง ยังไงใช้ถุงกระดาษก็ยังดีกว่านะ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากพ่อค้า แม่ค้า และห้างใหญ่ๆด้วย
          3. ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ถุงแบบนี้ความจริงมีมานานแล้ว  ถุงพลาสติกแบบนี้จะผสมสารย่อยสลาย ซึ่งก็จะแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายนี้เมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติก ให้โมเลกุลแตกสลาย ถุงแบบนี้จะใช้เวลา 1 ปีในการย่อยสลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความเหนียวของถุง จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือเลย
 

ข้อดีของการใช้ถุงผ้า
          ถ้าคนเราใช้ถุงผ้าสัปดาห์ละ 1 วันจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี ข้อดีของการใช้ถุงผ้ามีดังนี้  
          •  ซักทำความสะอาดได้โดยง่าย
          •  นุ่มสบายมือน่าใช้ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่าถุงพลาสติก
          •  ใช้ง่ายขาดยาก ตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ
          •  ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม
          •  ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก
          •  ช่วยลดปริมาณมูลฝอย ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
          •  ช่วยลดปัญหาโลกร้อน
          •  บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้
          •  ใช้ถุงผ้าไปได้ทุกที่ ใส่ได้หลายอย่าง
          •  ใช้เป็นสื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง
          •  ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดอ๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็งที่มีอันตรายต่อชีวิต
          •  พกพาติดตัวได้ง่าน และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส
          •  ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
          เริ่มใช้ถุงผ้าตั้งแต่วันนี้ และแบ่งปันถุงผ้าที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เพื่อขยายวงกว้างของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน

มาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ
          จากความร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้หลายๆ ประเทศมีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี เช่น
          • การประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในบังกลาเทศ และออสเตรเลีย
          • การเก็บภาษีถุงพลาสติกในไอร์แลนด์
          • การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกของไต้หวัน
          • การแขวนการ์ดไว้ที่แคชเชียร์ของห้างใหญ่ในเมืองฮิโรชิม่า ที่ญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่ต้องการถุง ก็ยกการ์ดขึ้น แล้วจะได้รับแต้มสะสมเพื่อสิทธิประโยชน์จากทางห้างต่อไปด้วย
          • ที่สิงคโปร์ ร่วมกันรณรงค์ โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนเป็นวันพกถุงช้อปปิ้ง หากไม่ได้เตรียมถุงไปก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าถุง ใบละ 0.1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 2.50 บาท
          • ซานฟรานซิสโก ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก นับเป็นเมืองแรกของอเมริกา ประเทศที่ถือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด
          • การประกาศตัวเป็นเมืองปลอดถุงพลาสติกของเมืองลีฟเรปิดส์ ในแคนาดา ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษเป็นค่าปรับหนักๆ คิดเป็นเงินไทยมากถึง 30,200 บาท
          • ส่วนในบ้านเรายังเป็นการรณรงค์ในลักษณะประปราย ที่เคยจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ๆ ก็เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน จากนั้นกระแสก็ซาไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปีนี้ และที่น่าจะเป็นความหวังคือการพัฒนาวัสดุทดแทนพลาสติกชีวภาพ” (bioplastic) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษา ไม่แน่ว่าบ้านเราอาจจะมีพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมๆ กับที่ฝรั่งเศส ซึ่งออกกฎระเบียบให้เริ่มใช้พลาสติกชีวภาพ ในปี 2553
          ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นทั้งแนวคิด และแรงกระตุ้นให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในบ้านเรา ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะซุปเปอร์สโตร์ข้ามชาติที่มีสาขาทั่วประเทศ และกำลังซื้อจากลูกค้ามหาศาล ร้านสะดวกซื้อขนาดย่อมที่กระจายอยู่แทบทุกซอยในกรุงเทพ และตัวเมืองของทุกจังหวัด จับมือกันสร้างกระแสนี้ให้เป็นจริงในเมืองไทย
          จะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เราทำได้ หรือจะปล่อยให้เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราไม่เคยคิดจะทำ คำตอบอยู่ที่ใจคุณ

ขอบคุณข้อมูลจาก
ลดอุณหภูมิโลก ลดการบริโภค
www.thaivolunteer.org
คนไทยร่วมใจใช้ถุงผ้า
www.greenleafthai.org
ร่วมมือจุดปลี่ยน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก
http://developed-thailand.blogspot.com
"ไม่เอาถุง" กู้โลกร้อน ?? โดย : Whiskas
http://webboard.mthai.com/7/2007-08-29/342384.html
แหล่งข้อมูลจาก : http://guru.sanook.com/pedia/pedia_layout.php

การรณรงค์ใช้ถุงผ้า...บทเรียนที่ห้างสรรพสินค้าต้องทบทวน
 การปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกจากห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และโรงแรม กลายเป็นประเด็นรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกำหนดให้มีมาตราการลดการใช้พลาสติกและโฟม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้มีมติรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2547 เรื่องการลดการใช้พลาสติกและโฟมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป หันมาใช้กระเป๋าผ้าภาคเอกชน ร้านค้าต่างๆ ที่ขายสิ้นค้าประเภทเสื้อผ้า-กระเป๋า ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าแนวพื้นเมืองเหนือ หรือถุงย่ามพอมีกระแสโลกร้อน แฟชั่นกระเป๋าผ้ากลายเป็นที่นิยม ผลิตกระเป๋าผ้าตอบสนองความต้องการตลาดหลังจากเห็นว่ามีการรณรงค์กันมาก โดยใส่ดีไซน์การ์ตูนชาวเขาน่ารัก ๆลงบนผ้าดิบพร้อมคำขวัญที่บ่งให้รู้ว่าผลิตมาใช้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และที่ทำให้กระแสตื่นตัวต้านภาวะโลกร้อนสำนักนวัตกรรมแห่งชาติร่วมกับบริษัทเอกชนเปิดตัวกระเป๋าผ้านาโนป้องกันน้ำ ใช้แทนถุงพลาสติกในการจ่ายตลาดต้านภาวะโลกร้อนโดยให้ 4 นางสาวไทยร่วมเปิดตัวกระเป๋าผ้านาโน นุ้ย-สุจิรา อรุณพิพัฒน์ หมิง -ชาลิสา บุญครองทรัพย์ เจี้ยบ-ลลนา ก้องธรนินทร์ และ ปุ๋ม -ปนัดดา วงศ์ผู้ด
เพียงข้ามคืนกระเป๋าผ้ากลายเป็นเทรด์ สะพายแล้วทันสมัย จะตามกระแสหรือช่วยลดภาวะโลกร้อน ก็ไม่ว่ากัน  ผู้เขียนก็เช่นกัน จะตามกระแส ไม่ตกเทรด์ ให้ทันสมัย หรือช่วยลดภาวะโลกร้อน ผู้เขียนได้รับแจกถุงกระเป๋าผ้าจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ อย่างน้อย 3 ใบ ผู้เขียนมีโอกาสใด้ใช้ถุงกระเป๋าผ้านี้ในโอกาสที่ต่างๆกัน แต่บ่อยครั้งที่ได้ใช้คือนำไปจ่ายตลาดสด เมื่อปฏิเสธิไม่รับถุงหิ้วพลาสติกพ่อค้าแม่ค้า ก็ตอบสนองตามกระแสให้ทันสมัย พูดว่าดี... ช่วยโลกร้อนผู้เขียนรู้สึกชื่นใจและยิ้มให้ จะเป็นการทันกระแสหรือช่วยลดภาวะโลกร้อนของพ่อค้าแม่ค้าก็ตาม แต่อย่างหนึ่งทำให้รู้ว่า พ่อค้าแม่ค้าได้ตระหนักถึงบางสิ่งบางอย่างที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญ....(ภาวะโลกร้อน)....และกำลังช่วยกัน...(ลดภาวะโลกร้อน)  อีกครั้งผู้เขียนได้นำกระเป๋านี้ไปจ่ายตลาด แต่คราวนี้ไม่ใช่ตลาดสดแต่เป็นห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ ผู้เขียนปฏิเสธิไม่รับถุงหิ้วพลาสติกที่ระบุชื่อของห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างชัดเจน แคชเชียร์ประจำห้างทำน่างงๆ แต่ไม่พูดอะไร.... ผู้เขียนจัดสินค้าใส่ลงในถุงกระเป๋าผ้า ส่วนสินค้าที่มีน้ำหนักและชิ้นใหญ่ก็แยกออกวางในรถเข็นของห้าง เมื่อเดินออกจากช่องทางเดินพ้นบริเวณแคชเชียร์ ทันใดก็มีเจ้าหน้าที่ห้าง สังเกตจากเสื้อโปโลที่สวมใส่มีสัญญาลักษณ์และชื่อของห้างเข้ามาสอบถามและตรวจดูรายการสิ้นค้าจากใบเสร็จรับเงินและผู้เขียนก็อธิบายเหตุผลที่ไม่รับถุงหิ้วพลาสติกของห้าง ผู้เขียนเดินจากจุดนั้นไปก็มีเจ้าหน้าที่ห้างพร้อมยามรักษาความปลอดภัย 3 คนเข้ามาสอบถามและตรวจรายการสิ้นค้าตามใบเสร็จอย่างละเอียด ผู้เขียนก็อธิบายเหตุผลที่ไม่รับถุงหิ้วพลาสติกของห้างเป็นครั้งที่สอง แล้วเดินจากจุดนั้นไปยังร้านขายยาภายในห้างทิ้งรถเข็นไว้หน้าร้านขายยา ผู้เขียนก็ต้องตกใจ หันไปตามเสียงที่ตระโกนสอบถามใคร... เป็นเจ้าของรถเข็นคันนี้?” ผู้เขียนแสดงตนเป็นเจ้าของรถเข็นพร้อมคำอธิบายเหตุผลที่ไม่ใช้ถุงหิ้วพลาสติกของห้างเป็นครั้งที่ 3 ครั้งที่ 3 นี้เอง ผู้เขียนรู้สึกไม่พอใจ โกธรนิดๆ  เพราะท่าทีของยามรักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ของห้าง สอบถามและตรวจดูสิ้นค้าตามใบเสร็จ...ราวกับคนขโมยของในห้าง ผู้เขียนรู้สึกได้รับความอับอายเมื่อมีผู้คนมากมายในห้างหันมามองและหยุดยืนดู .... ผู้เขียนพูดกับตนเองด้วยความอดทนไม่เป็นไร... พวกเขาทำตามหน้าที่ผู้หญิงเจ้าของร้านเล็กๆ ในห้างแห่งนี้ เดินมาหาแล้วพูดว่าดิฉันเห็นเหตุการณ์ในลักษณะนี้บ่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย เป็นฝรั่ง(ชาวต่างชาติ) ฝรั่ง เขาจะไม่เอาถุงพลาสติกเลย เขาเตรียมถุงผ้ามาเอง วันหนึ่งดิฉันเห็นฝรั่งต้องเทของทุกอย่างออกจากถุงผ้า เพื่อตรวจค้นผู้เขียนขอบคุณเธอแล้วเดินลงบันใดเลือนออกไปด้วยความอับอาย เพียงแต่ไม่รับถุงหิ้วพลาสติกของห้างนี้ ก็ถูกกระทำและสายตาที่มองดูเป็นคนขโมยสินค้าของห้าง.... ผู้เขียนเข็นรถเข็นมาถึงบริเวณประตูทางออก จุดนี้เองที่ผู้เขียนอดทนอดกลั่นไม่ได้ เป็นครั้งที่ 4 ที่ถูกตรวจค้นสินค้าในรถเข็น ผู้เขียนรู้สึกในความอับอายและโกธรมาก ๆ ที่ถูกกระทำให้ได้รับความอับอาย เพราะเหตุผล เพียงแต่ปฏิเสธิไม่รับถุงหิ้วพลาสติกของห้างเท่านั้น กระทำต่อเราเสมือนเป็นผู้ร้ายขโมยสินค้าในห้าง  ผู้เขียนไม่พูด ไม่โต้แย้ง ยื่นใบเสร็จสินค้าให้ตรวจสอบ เดินออกจากห้าง..... ตั้งสติได้ แล้วพูดกับตนเองอีกครั้งว่าไม่เป็นไร?...” พวกเขาไม่รู้ .... พวกเขาไม่เข้าใจ .... พวกเขาทำตามหน้าที่ ...... ส่วนฉัน (ผู้เขียน) จะอุทิศการทำงาน เพื่อรักษ์โลกให้มากขึ้น

สุดท้าย.... ผู้เขียนขอหยิบยกบทความหนึ่ง ที่กล่าวถึงพลาสติกว่า ในปัจจุบันมีการนำพลาสติกมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีและก่อให้เกิดปัญหาในพื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอย ทั้งนี้ เนื่องจากขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกมีปริมาตรสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักและสามารถทนแรงอัดได้สูงกว่าขยะมูลฝอยประเภทอื่นถึง 3 เท่า อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนาน ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอย หากนำไปกำจัดโดยการเผาอย่างไม่ถูกวิธีจะเกิดมลพิษทางอากาศรวมทั้งสารไดออกซิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ คือการลดปริมาณขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกที่แหล่งกำเนิดที่สำคัญ เช่น ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น กรมควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำแนวทางการลดการใช้พลาสติกในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานลดการใช้พลาสติกในสถานประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกในพื้นที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ

ผู้เขียน... ก็หวังว่า การใช้ถุงกระเป๋าผ้า แทนถุงหิ้วพลาสติก จะไม่เป็นแค่แฟชั่นที่ผ่านแล้วผ่านไป หากทุกคนตระหนักที่จะประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า หากท่านใดที่เจอประสบเหตุการณ์เหมือนอย่างที่ผู้เขียนเล่าให้ฟัง.... คงไม่ต้องลงโทษหรือ กล่าวโทษใคร ๆ แต่ทุกคนคงต้องช่วยกัน ให้การแนะนำ และให้ความรู้ความเข้าใจ เราทุกคนก็อยู่รวมกันได้ ร่วมกันรักษา รักษ์โลกใบนี้ให้อยู่กับเรา กับลูกหลานเรา กับสรรพสิ่งชีวิต ในโลกใบนี้ ไปอีกนานแสนนาน 
เครือข่ายต้านโลกร้อนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1

ผลกระทบภาวะโลกร้อนกับสุขภาพ
ภาวะโลกร้อน ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการฟักตัวของเชื้อโรค โรคที่เคยควบคุมได้จะกลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง ในที่ประชุม London school and tropical medicin แถลงว่า แต่ละปีประชาชนราว 160,000 คน เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่มาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้าหน้า ภาวะโลกร้อนทำให้พบโรคอุบัติใหม่และเชื้อโรคกลายพันธุ์หลายชนิดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น  กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา กรุงฮาเร ประเทศซิมบับเบ ที่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องยุง เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่สูง แต่ในปัจจุบัน ยุงเป็นปัญหาของพวกเขา เพราะอากาศร้อนขึ้นทำให้ยุงบินขึ้นสู่ที่สูงขึ้น  รวมทั้งไวรัสนิปาห์ ที่ระบาดในมาเลเชีย

โลกร้อนวิกฤติสุขภาพคนไทยปี 2551
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทยปี 2551 ว่า ปีนี้ได้ชูประเด็นโลกร้อน โดยใช้ชื่อรายงานว่า โลกร้อน : ภัยคุกคามจากน้ำมือมนุษย์ซึ่งเป็นการนำเสนอผลกระทบการที่อุณหภูมิของโลกในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา ที่เคยอยู่ที่ 14 องศาเซลเซียส ได้ขยับสูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียส ที่อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมหันต์ในโลก
ทั้งนี้ รายงานสุขภาพคนไทยปี 2551 ระบุว่า โลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น การเผชิญหน้าภัยพิบัติบ่อยครั้งกว่าที่ เคย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลมฟ้าอากาศผิดปกติและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มความรุนแรงมากกว่าในอดีต โดยเฉพาะปรากฏการณ์น้ำท่วม ความแห้งแล้ง การเกิดคลื่นความร้อน พายุ ไฟป่า ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้เกิดโรคติดต่อแพร่ระบาดหนักกว่าเดิม ตัวการสำคัญตัวหนึ่ง ก็คือ ยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคระบาดร้ายแรงหลายชนิด เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย
สำหรับ 10 สถานการณ์เด่นด้านสุขภาพปี 2551 ประกอบด้วยเรื่องหลักๆ คือ การแก้กฎหมายข่มขืน, สี่ปีความรุนแรงของไฟใต้....ความถี่ไม่ลด ความโหดร้ายขยายตัว, ถึงเวลาต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาทำแท้งเถื่อนให้ได้ผล, ไข้เลือดออกระบาดหนักจากภาวะโลกร้อน, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์...ปิดกั้นเสรีโลกออนไลน์?, มาบตาพุด...ทุกข์ท้น มลพิษท่วม, อีกเพียง 3 ปี ขยะล้นเมืองไทย, “เรตติ้งทีวีภารกิจของผู้ใหญ่เพื่อผู้ชมตัวน้อย, ทำอย่างไรสงครามปราบมะเร็งปากมดลูกจึงจะมาถูกทาง, และโอนสถานีอนามัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คืนสุขภาพ...ให้ประชาชน
ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทำให้เครียดมากยิ่งขึ้น เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเครียดที่มีมากอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเครียดระดับบุคคล ในทุกเพศ ทุกวัย เช่น เด็กๆ ที่ต้องแข่งขันกันอย่างสูง คนที่ตกงาน เชื่อว่าหากไทยมีการเมืองที่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การเมืองถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน เหมือนกับศาสนา ฉะนั้น หากพูดถึงเรื่องการเมือง หรือศาสนาควรระมัดระวัง.

 

ความเป็นมา

 

มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) หรือ Energy for Environment Foundation (E for E) เป็นหน่วยงานอิสระที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม

หมายเลขบันทึก: 206244เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 04:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ช่วยกันทิ้งถุงพลาสติก

  1. .ใช่ถุงผ้าลดโลกร้อน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท