42. ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน


ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน

 

 

 

ขอเสนอตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน 

ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน

ตัวอย่างกรณีครูไหว  ใจร้าย

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของ  ..  ศักดิ์สิทธิ์    โดยใช้แบบฝึก

ชื่อผู้วิจัย                 ครูไหว      ใจร้าย

สภาพปัญหา

                เมื่อครูไหว  ใจร้าย  เข้ามาสอนวิชาภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่  1 

ในสัปดาห์ที่  2  ครูไหว  ใจร้าย  ให้นักเรียนทุกคนดูภาพสวยสนุกและอ่านคำบรรยายภาพ  แล้วให้   นักเรียนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่เห็นส่งครู  ซึ่งครูได้สังเกตพบว่า  .. ศักดิ์สิทธิ์   มีอาการกระวนกระวายไม่สามารถเขียนได้  จึงได้สอบถามและดูผลงานของชั้น ป.2  ( .02 ชั้น ป.2  ปีการศึกษา 2549  ของ โรงเรียน )  ก็พบว่า ด..ศักดิ์สิทธิ์    อ่านหนังสือไม่ออกและเสียงไม่ได้นั่นเอง

 

ปัญหาการวิจัย

                ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ ด.. ศักดิ์สิทธิ์    อ่านหนังสือออกและเขียนได้

 

เป้าหมายการวิจัย

                เพื่อฝึกและพัฒนาให้ ด.. ศักดิ์สิทธิ์    อ่านเขียนได้

 

วิธีการวิจัย

1.       สร้างแบบฝึกการสะกดคำ  และบัตรคำตัวอักษร สระ เพื่อใช้ประสมเป็นคำ / พยางค์

2.       สร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ  และเขียนเป็นประโยค (จากง่ายไปหายาก )

3.       กำหนดข้อความ  / นิทานที่ใช้ในการฝึกอ่าน 10 เรื่อง

4.       นัดหมายให้  .. ศักดิ์สิทธิ์    มาเรียนกับครูทุกๆวัน ละ 1 ชั่วโมง  หลังเลิกเรียนหรือในเวลาว่าง

5.       เริ่มฝึกจากการสะกดคำง่ายๆ วันละ  5 - 10  คำ  เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และฝึกสะกดคำพร้อมกับเขียนในสัปดาห์ที่ 2 - 3 ในสัปดาห์ที่ 4  -5 จึงได้ให้ฝึกแต่งประโยคพร้อมกับการอ่านและเขียน  ในสัปดาห์ที่  6 - 15   จึงได้ให้ฝึกอ่านจากนิทานต่างๆ  และเขียนเรื่องจากภาพในนิทาน  รวมเวลาฝึกอ่านและเขียน 4 เดือน

6.       บันทึกผลการสะกดคำอ่าน การเขียนเป็นคำ  และการแต่งเป็นประโยคทุกวันเพื่อดูพัฒนาการความก้าวหน้าของ ด.. ศักดิ์สิทธิ์    โดยบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึกคะแนนการอ่าน เขียนคำ  และเขียนเป็นประโยค และการเขียนเรื่องจากภาพ

7.       บันทึกพฤติกรรมขณะฝึกอ่าน เขียนลงในแบบสังเกตพฤติกรรม

8.       สรุปผลการอ่าน การเขียนของ ด.. ศักดิ์สิทธิ์

ผลการวิจัย

1.       การฝึกอ่านของ  .. ศักดิ์สิทธิ์    พบว่า

สัปดาห์ที่  1                 อ่านได้โดยเฉลี่ยวันละ 3 คำ  จาก 10  คำ

สัปดาห์ที่  2 - 3             ประสมคำอ่านได้  โดยเฉลี่ยวันละ 5-10 คำ  จาก  10  คำ

สัปดาห์ที่  4 - 5             ฝึกอ่านเป็นประโยคได้  โดยเฉลี่ยวันละ  5-10 ประโยค

สัปดาห์ที่  6 - 16          ฝึกอ่านนิทานสัปดาห์ละ 1 เรื่อง โดยเฉลี่ยพบว่าอ่านได้ประมาณมากกว่า 50 % 

 

2.       การฝึกเขียน

สัปดาห์ที่  1                           เขียนได้เฉพาะตัวพยัญชนะและคำที่ไม่มีตัวสะกดโดยเฉลี่ย

                                         วันละ  3  คำ

                สัปดาห์ที่  2 – 3                    เขียนคำที่มีตัวสะกดง่ายๆ ได้โดยเฉลี่ยวันละ 5 คำ

                สัปดาห์ที่  4 - 5                     เขียนคำที่มีตัวสะกดง่ายๆ ได้โดยเฉลี่ยวันละ 1 0คำ

                สัปดาห์ที่  6 - 10                  เขียนเป็นคำและแต่งประโยคได้โดยเฉลี่ยวันละ  3 - 5 ประโยค
                สัปดาห์ที่  11 - 16                เขียนเป็นคำ  แต่งประโยค และเขียนเล่าเรื่องสั้นๆ ได้

 

3.       .. ศักดิ์สิทธิ์   มีพฤติกรรมการอ่าน -  เขียนดีขึ้น  กล้าซักถามครู อาการกระวนกระวายลดน้อยลงตามช่องเวลาที่ได้ฝึกอ่าน เขียน และมีความสุขมากเมื่อได้อ่านนิทาน

4.       ผลการฝึก ด.. ศักดิ์สิทธิ์    สามารถอ่านหนังสือได้  และเขียนได้ทั้งเป็นคำและประโยครวมทั้งการเขียนเล่าเรื่องจากภาพได้

 

หมายเลขบันทึก: 206170เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นผลงานที่เยี่ยมมากค่ะ อ่านเข้าใจง่าย ขอให้ทำเรื่องต่อๆไป และนำมาบอกเล่าต่อนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท