เอกสารประกอบการเรียน


เรื่อง คำพ้อง

เผยแพร่ผลงานวิชาการ การจัดทำเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง คำพ้อง ชั้น ป.๔

เอกสารประกอบการเรียน

ชุด  พัฒนาหลักการใช้ภาษาไทย

       

โจษจัน

เล่ม  ๑๓  คำพ้อง 

เงินบาท

บาตรพระ

บันได

หญ้า

ย่า

 

สับ

ศัพท์

สัมภาษณ์

พาดราว

โจทย์เลข

บรรเทิง

บันได

 

 

 

 

 


โดย   นางเดือนฉาย   นิลสวิท

ครูชำนาญการพิเศษ    โรงเรียนบ้านทุ่งขาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

คำพ้อง

 

 

 

 

 

                ความหมายของคำพ้อง

คำในภาษาไทยบางคำมีรูปหรือเสียงเหมือนกัน  คือ  เขียนสะกดเหมือนกันหรือออกเสียงอ่านเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน  เวลาอ่านหรือเขียนต้องพิจารณาข้อความในประโยคว่าเป็นคำที่มีความหมายหรือออกเสียงแบบใด  และเขียนสะกดอย่างไรจึงจะได้ความหมายตามประโยคที่ต้องการสื่อสาร

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                 คำพ้อง  มีหลายชนิด เช่น 

๑.      คำพ้องรูป  คือ คำที่เขียนเหมือนกัน  แต่อ่านออกเสียงต่างกันและ

มีความหมายต่างกัน  เช่น  แขม  อ่านว่า  ขะ  -  แม   เป็นชื่อเรียกคนชาวเขมร   และคำว่า  แขม  อ่านว่า  แขม   หมายถึง  ต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายกอหญ้าชอบขึ้นอยู่ตามชายทุ่ง 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.     คำพ้องเสียง  คือ  คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน  แต่เขียนสะกดต่างกัน

และมีความหมายต่างกันด้วย  เช่น  พันธุ์  อ่านว่า  พัน  หมายถึง  พันธุ์พืช  และ  คำว่า  พรรณ   อ่านว่า  พัน  หมายถึง  ผิวพรรณ 

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓.      คำพ้องความ  คือ  คำที่เขียนไม่เหมือนกัน  แต่มีความหมายเหมือนกัน     ใช้ในโอกาสต่างกัน  เช่น  ตะวัน   สุริยา   สุริยัน  หมายถึง  ดวงอาทิตย์

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพ้องเสียง

พิศ       พิษ                                           ลาภ     ลาภ

เพศ      เภท                                          เท่า       เฒ่า

มั่น       หมั้น                                        รัฐ        รัด

ทุก       ทุกข์                                        บัน       บรร

ซ่อม     ส้อม                                         สิน       ศิลป์

พัก       พักร์                                         เสา       เสาร์

พาน     พาล                                         หาร      หาญ

            แซ่       แส้                                           พาด     ภาษณ์

            พุธ       พุทธ    พุด                               โจทย์   โจทก์   โจษ

สุก       สุข       ศุกร์                             ค่า        ฆ่า       ข้า

ทุก ๆ วันที่ฉันมีความทุกข์ใจฉันจะไปทำบุญที่วัด

วันเสาร์นี้พ่อจะไปช่วยลุงบุญขุดหลุมทำเสาบ้าน

นักเรียนที่กล้าหาญทำโจทย์เลขการหารได้ถูกต้อง

แม่ค้าบรรจงห่อขนอย่างประณีตอยู่ข้างบันได

ฉันอ่านหนังสือฆ่าเวลา  ขณะนั่งรอแม่จ่ายเงินค่าหนังสือเพื่อใช้เวลาให้คุ้มค่า

แม่ร้อยมาลัยดอกพุดเพื่อนำไปถวายพระพุทธรูปในวันพุธหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

}

บทกลอนคำพ้องรูป

เพลาเย็นวันหนึ่งเพลาล้อหลุด         รถจึงหยุดเคลื่อนที่ไปไม่ไหว

แขมชื่นกลุ้มใจยืนร้องไห้                            อยู่ใกล้ใกล้ดงแขมข้างบ้านเรา

แล้วจึงเดินไปนั่งบนเสลา                           พักกายาหายเหนื่อยใต้เสลา

ที่แผ่กิ่งก้านใบสวยไม่เบา                            แต่ติดเสาไฟฟ้าน่ากลัวจัง

จึงเดินไปหยิบครุซึ่งรุ                                            มาบรรจุน้ำไว้ดังใจหวัง

เพื่อจะได้ไว้ดื่มเสริมกำลัง                           เพิ่มลังให้อยู่รอดอย่างปลอดภัย

ได้ยินเสียงระฆังดังจากวัด                          ด้วยแรงกวัดแกว่งไกวเสียงสดใส

ใบเสมามีเสมาอยู่ทั่วไป                               เหตุไฉนไร้คนดูแลเอย

                                                                                 (ศิริกุล   ว่องวิจิตรศิลป์)

 

 

 

 

 

 

 

 


คำพ้องรูป

  

แขม     อ่านว่า    แขม                          แขม     อ่านว่า   ขะ – แม

เพลา    อ่านว่า   เพลา                          เพลา    อ่านว่า    เพ  -  ลา

เสมา    อ่านว่า   เสมา                          เสมา    อ่านว่า   เส  -  มา

สระ     อ่านว่า   สระ                           สระ     อ่านว่า   สะ – หระ

เสลา    อ่านว่า   เสลา                          เสลา    อ่านว่า   เส –  ลา

 

ชาวเขมรว่าแขม(ขะ  -  แม )  ชอบปลูกต้นแขม(แขม)  ตามชายทุ่ง

เพลา(เพลา)ล้อรถของพ่อหลุดในเพลา (เพ – ลา) เย็น

พี่อ่านออกเสียงสระ (สะ – หระ) วิชาภาษาไทยอยู่ข้างสระน้ำ (สะ) หน้าบ้าน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 206025เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท