บันทึกเรื่องเล่า ณ สกลนคร


การเสริมแรงด้วยการท่องสูตรคูณก่อนบทเรียน

แบบบันทึกเรื่องเล่า

หัวปลา   เทคนิคการบริหารโรงเรียน

ผู้เล่า   นายอำนวย    คงสมมาศ

ผู้บันทึก   นางสาวรุจิกร     อัฐนาค

ผู้ดำเนินการ   นายสุริยัน         พลตื้อ

 

รายละเอียดเรื่องเล่า

วิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (How to)

        ข้าพเจ้า  เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนยอดแก่งสงเคราะห์  เมื่อ ปี  .. 2543  จนถึง ณ วันนี้ ภาพแห่งความสำเร็จนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของทุกฝ่าย  เหนือสิ่งอื่นใด  คือ  คุณภาพของนักเรียนได้รับการพัฒนาทั้งด้านความรู้  คุณธรรมจริยธรรม  ด้านสุขภาพร่างกายควบคู่กันไป  ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  นโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  ทั้งนี้  ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหาร  มีเทคนิคการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนตามภารกิจหน้าที่  คือ  งานวิชาการ  งานอนุบาล  งานงบประมาณ  และงานบริหารทั่วไป  โดยให้ความสำคัญในทุกภาระงาน  เฉพาะอย่างยิ่งงานด้านวิชาการ  งานบริหารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกิจการนักเรียน  โดยมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม  มีความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ด้วยการส่งเสริมการรักการอ่าน   การใช้สื่อเทคโนโลยี   การคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์   การพัฒนาคุณภาพร่างกายให้แข็งแรง   ฯลฯ

       การพัฒนาบุคลากร   ครูให้ตระหนักในภาระหน้าที่  เสียสละ  อดทน มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง  ให้มีความก้าวหน้า  การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจนประสบความสำเร็จ  มีผลงานดีเด่น  เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น   เช่น  เป็นโรงเรียนในฝัน ( โรงเรียนดีใกล้บ้าน )  โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำและวิถีพุทธต้นแบบ   โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับระดับเพชรเป็นต้น

    

 

 

-         การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

-         ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น  จริงจัง  จริงใจ ยึดหลักธรรมภิบาล

-         การมีคุณธรรมจริยธรรมหลักการบริหารทั้งด้านความรู้  มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่นักเรียนเป็นเป้าหมาย

-         การมอบหมายงานที่รับผิดชอบให้ครูผู้ปฎิบัติโดยคำนึงถึงความรู้  ความสามารถ  ความถนัด เป็นสำคัญ

-         การให้ขวัญกำลังใจและความซื่อสัตย์สุจริตและอุปสรรคต่างๆ

 

 

แบบบันทึกเรื่องเล่า

หัวปลา   เสริมแรงด้วยท่องสูตรคูณก่อนเข้าบทเรียน

ผู้เล่า   นางสาวรุจิกร     อัฐนาค

ผู้บันทึก   นางสาวเดือน     กุตระแสง

ผู้ดำเนินการ   นายอำนวย     คงสมมาศ

รายละเอียดเรื่องเล่า

วิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (How to)

               จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   1 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  และจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ   ข้าพเจ้าและเพื่อนครูที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงร่วมกันหาสาเหตุว่าเป็นเพราะสาเหตุใดผลสัมฤทธิ์ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ถึงอยู่ในระดับไม่น่าพอใด  จากการร่วมกันหาสาเหตุ ทุกคนลงความเห็นว่า สาเหตุที่พบ คือ  เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นนามธรรม บางตอนยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ นักเรียนเรียนด้วยความจำมากกว่าความเข้าใจ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ผ่าน ๆ มา พบว่าครูเป็นผู้อธิบายตัวอย่าง 2 – 3 ตัวอย่าง แล้วบอกให้นักเรียนแต่ละคนไปทำแบบฝึกหัด นักเรียนบางคนเข้าใจและทำแบบฝึกหัดได้ แต่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและทำแบบฝึกหัดไม่ได้เลย ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่ายและไม่สนใจที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป   ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวหลักสูตรใหม่ หรือตามแนวคิดใหม่นั้นมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เกิดการค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการ กฎเกณฑ์ หรือความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ครูเป็นผู้แนะแนวทางหลาย    วิธี ให้นักเรียนเป็นผู้ตัดสินใจ และสรุปสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ดังนั้นคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจะสอนเนื้อหาใดแก่นักเรียนในระดับชั้นไหนก็ตามจะต้องปรับเนื้อหาและวิธีสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับระดับสติปัญญาและพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น     

          จากสาเหตุประเด็นดังกล่าว  เลยได้คิดวิธีการสอนของตัวเองขึ้นมา คือ ต้องให้เด็กท่องสูตรคูณให้ได้ทุกคนโดยใช้วิธีการทำสลากหมายเลขตามจำนวนนักเรียนในห้องเรียน และทำสลากสูตรคูณตั้งแต่แม่ 2 ถึงสูตรคูณแม่  12 และก่อนเรียนทุกชั่วโมงจะจับสลากหมายเลขที่ทำวันละ    หมายเลขและนักเรียนที่จับสลากได้จะจับหมายเลขแม่สูตรคูณ แล้วออกมาท่องหน้าชั้นเรียน  ครูจะให้คะแนนคนที่ออกมาท่อง  ทำให้เด็กมีความกระตือรืนร้นและสนุกทุกครั้งที่ได้ท่องสูตรคูณ และทุกคนจะเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนหมายเลขที่จับสลากจาก ๕ หมายเลขเป็น ๑๐ หมายเลข ซึ่งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เกิดความผ่อนคลายไม่ตึงเครียดและสามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน  จากการทำกิจกรรมท่องสูตรคูณปรากฏว่าไม่มีเด็กหนีเรียนในวิชาคณิตศาสตร์เลย และมีความกระตือรืนร้นที่จะเรียน ไม่มีความตรึงเครียดในขณะที่เรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกครั้งและทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จทุกคน ท้ายที่สุดจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น

 

 

 

 

การใช้วิธีการจับสลากท่องสูตรคูณและการให้แรงเสริมโดยการให้คะแนน ลดความตึงเครียดก่อนการเรียนทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีและมีความสุขในการเรียน

 

คำสำคัญ (Tags): #ท่องสูตรคูณ
หมายเลขบันทึก: 205934เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

* เข้ามาอ่านบันทึกเรื่องเล่า ณ สกลนครค่ะ

* ได้วิธีสอนด้วย

* ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่าง ชัดแจ้งครับ

แบงค์ค่ะ สวัสดีค่ะครูโป้ง กลับบ้านไปหนูท่องสูตรคูณทุกวันค่ะ แต่พอเจอหน้าครูสูตรคูณหายหมด เพราะความน่ารักของคุณครูค่ะ ....

เต๋าครับผม คุณครูโป้ง ถ้าให้ท่องสูตรคูณกับคุณครูน่ารักอย่างนี้ทุกวัน ผมก็ยอม สู้ๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท