ขันธ์ ๕


ขันธ์ ๕

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ชีวิต คือ อะไร ?

             ชีวิต  คือ อะไร ?

 ชีวิต ก็คือกาย ก็คือจิต หรือคือ ทั้งกายทั้งจิต

                อันตัวเรานี้  มีอยู่เพียง กายและจิต กายเป็นอย่างหนึ่ง  จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง  แต่จิตก็เนื่องอยู่กับกาย นั้นเอง

                ใน อภิธรรมได้กล่าวไว้ว่า ชีวิต ก็คือ จิตรู้อารมณ์  (อารมณ์ ในความหมายนี้ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ )

                มีการโต้แย้ง เห็นขัดแย้งกัน ในเรื่องของการตีความกันว่า ต้นไม้ต่างๆ เป็นสิ่งมีชีวิต

การตีความแบบนั้น เป็นการตีความในความรู้แบบวิทยาศาสตร์ปัจจุบันซึ่งเน้นไปในจุดที่ว่า สิ่งมีชีวิตนั้น มีการเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ หายใจ หรือคุณ สมบัติอื่นๆ แต่นั่น เป็นคุณสมบัติของสิ่งที่มีชีวิต ที่กำหนดขึ้นในรูปแบบของวิทยาศาสตร์ แต่ในทางศาสนาพุทธนั้น ตีความ ชีวิตว่า ชีวิต คือ จิตรู้อารมณ์ แสดงว่า สิ่งที่มีชีวิต ในทางพุทธศาสนานั้น ต้องมี จิต ถ้าสิ่งไหนไม่มีจิต ก็ไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ในความหมายทางพุทธศาสนา

                นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดกันมากในเรื่อง ความหมายของคำว่าจิต เพราะเข้าใจว่ากันว่า

                จิต เป็นอย่างหนึ่ง  ความคิด เป็นอีกอย่างหนึ่ง 

                ความจริงแล้ว      

    จิตเป็นภาษามคฎหรือบาลี  ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ความคิด

             พระพุทธองค์ได้ทรงตรัส อธิบายถึงเรื่องของ ชีวิต ไว้ในคำสอนเรื่องของขันธ์ ๕

                และขอให้คุณทั้งหลาย พยายามศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องขันธ์ ๕ นี้ให้ดี เพราะเรื่องขันธ์ ๕ นี้ นับเป็นหัวใจหลัก ของคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ต่างกับ อริยสัจ ๔ เลยทีเดียว  

                หากคุณ เข้าใจในเรื่อง ขันธ์ ๕ แล้ว คุณก็จะสามารถเข้าใจพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่สำคัญคือ

                ในการทำความเข้าใจพระธรรม คำสอน ของพุทธศาสนานั้น อย่าให้เกิดความรู้สึกว่า มันขลัง มันลึกลับ หรือต้องมีอะไรลึกซึ้งกว่านั้น เข้ามาเกิดขึ้นในใจ เป็นอันขาด

                พระธรรม ของ พระพุทธองค์ นั้น

                ชัดเจน

                เปิดเผย อยู่แล้ว

                ไม่มีอะไรลึกลับ อีกแล้ว

                แต่ที่เป็นปัญหาสำหรับ คนไทย คือ คำศัพท์ คำบาลี  

                เราได้นำเอาศัพท์คำบาลี มาใช้เป็นภาษาไทยมากมาย แต่ความหมายของคำศัพท์คำนั้น ที่เราใช้กันอยู่โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันกับภาษาธรรมนั้น มันแตกต่างกันมาก ดังนั้นหากเราเอาความหมายของคำศัพท์จากความหมายที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมาทำความเข้าใจพระธรรมแล้ว มันจะผิดเพี้ยนไปไกลมาก ดังนั้น ให้พยายามทำความเข้าใจ กับคำศัพท์ต่างๆให้ดีดี.....

ขันธ์ ๕

องค์ประกอบของชีวิต ๕ ประการ  

                ขันธ์ แปลว่า กอง

                ขันธ์ ๕ ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงนั้น หมายถึง องค์ประกอบของชีวิต  หมายถึงว่า ชีวิต เป็นองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ ๕ ประการ ได้แก่     

                ขันธ์ที่ ๑. รูปขันธ์  หมายถึง กาย ร่างกาย รวมถึง ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้ง หมด ตลอดไปจนถึงพฤติกรรม คุณลักษณะ คุณสมบัติทั้งหมดของกาย

                แต่อีกนัยหนึ่ง ของคำหมายของรูปขันธ์ ซึ่งหากเรามอง ขันธ์๕ ในแง่ของ จิต   

                รูปขันธ์ นั้นจะหมายถึงสิ่งที่จิตรู้ อันหมายถึงอารมณ์  

(ในความหมายของอภิธรรม จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ , ชีวิต คือ จิตรู้อารมณ์ , อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ )

                สิ่งที่จิตรู้ หรือที่เรียกว่า อารมณ์นั้น(ภาษาธรรม)ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเราจะรับรู้โดยทางอายตนะทั้ง๖ อันได้ แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ (อายตนะภายใน)  ซึ่งการรับรู้นั้น เป็นการรู้ที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า

                หากไม่มี สิ่งที่วิญญาณรู้ก็เกิดวิญญาณไม่ได้

                เช่น หากไม่มีรูปก็ไม่มีการเห็น (จักษุวิญญาณ)  

                ตัวอย่างเช่น  คุณมีตา แต่ไม่มีอะไรให้คุณดู หรือ อยู่ในที่มืด ก็ไม่เกิดรูป จึง มองไม่เห็นอะไร ไม่เกิดจักษุวิญญาณ ไม่เกิดการมองเห็น แต่ในที่มืดคุณอาจ ได้ยินเสียงได้ ถ้ามีเสียง(เสียงก็เป็นรูป) คุณอาจรู้สึกถึงกลิ่นได้ ถ้ามีกลิ่น เป็นต้น

หากไม่มีเสียง ก็ ไม่มีการได้ยิน (โสตวิญญาณ)

หากไม่มีกลิ่น ก็ ไม่เกิดก็รู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ)

หากไม่มีรส ก็ ไม่เกิดการรู้รส (ชิวหาวิญญาณ)

ไม่มีการสัมผัส(โผฏฐัพพะพะ)  ก็ไม่เกิดการรู้สัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ)

หากไม่เกิดธรรมรมณ์ ก็ไม่เกิดความรู้สึกทางใจ (มโนวิญญาณ)  ดังนั้น

รูปขันธ์ นั้น จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมี วิญญาณขันธ์รู้

วิญญาณขันธ์ ก็เกิดได้ เพราะมี รูปขันธ์ ด้วยเช่นกัน

ต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

ส่วนขันธ์ที่เหลืออีก ๔ ขันธ์ เป็นองค์ประกอบของจิตหรือความคิด ได้แก่

                ขันธ์ที่ ๒. เวทนาขันธ์  หมายถึง ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ หรือความรู้สึกไม่สุข-ไม่ทุกข์ (ไม่เกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บ หิว หรือความรู้สึกทางกายทั้งหลาย)

                ขันธ์ที่ ๓. สัญญาขันธ์  หมายถึง ความจำได้ หมายรู้  หมายถึง ข้อมูล ความทรงจำทั้งหลาย ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ การศึกษา และประสบการณ์ต่างๆ ที่เคยรู้มาในอดีต     

                ขันธ์ที่ ๔. สังขารขันธ์  หมายถึง คุณสมบัติของจิตที่มีเจตนาเป็นตัวนำ อันหมายถึง ความคิดปรุงแต่ง  ความผันพิสดารของความคิด 

                ขันธ์ที่ ๕. วิญญาณขันธ์  หมายถึง การรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาทของอายตนะต่างๆ อันได้ แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรับรู้สัมผัสทางกายภายนอก การรู้ถึงรู้สึกภายในกาย

หมายเหตุ   

                ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่า วิญญาณในทางพุทธศาสนานั้นมีความ หมายที่แตกต่างกับคำหมายของคำว่าวิญญาณของทางศาสนาอื่นๆ(ศาสนาแบบเทวนิยม) อย่างสิ้นเชิง  

                วิญญาณในความหมายที่เราเข้าใจกันโดยทั่วไปนั้น จะหมายถึง อะไรสักอย่างหนึ่ง ที่มาอาศัยอยู่ในร่างกายนี้ เป็นส่วนหนึ่งต่างหากที่แยกออกไปจากร่างกายนี้ มีความเป็นอมตะ เมื่อร่างกายที่แตกสลายหรือตายไปวิญญาณก็ออกจากร่างกายนี้ไปเกิดไปอาศัยอยู่ในร่างกายอื่นต่อไป(คล้ายๆพวกปูเสฉวนที่ย้ายที่อยู่เมื่อตัวมันโตคับเปลือกอันเดิม มันก็จะย้ายไปอยู่เปลือกอันใหม่ไปเรื่อยๆ) ตามแต่ผลแห่งกรรมที่ได้กระทำเอาไว้ ซึ่งความเชื่อแบบนี้เป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดู หรือความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะยังคงอยู่ เพื่อรอคำพิพากษาจากพระเจ้าในวันสิ้นโลกของศาสนายิว คริสต์ อิสลาม

(มีข้อสังเกตว่า ความเชื่อทั้งหลายเหล่านั้น เน้นถึง ความเป็นอมตะของวิญญาณ ทั้งสิ้น)

                 วิญญาณในทางศาสนาพุทธนั้น หมายถึง  

   การเห็น  เรียกว่า  จักขุวิญญาณ     

   การได้กลิ่น  เรียกว่า   โสตวิญญาณ

   การรู้รส   เรียกว่า  ฆานวิญญาณ

   การรับรู้สัมผัสทางกาย  เรียกว่า  กายวิญญาณ  

   การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในกาย  เรียกว่า   มโนวิญญาณ

               หากมีการตีความคำว่า วิญญาณนอกเหนือไปจากนี้ สรุปได้เลยว่า

               “นั่นไม่ใช่พุทธ  ไม่ใช่โอวาทของพระพุทธองค์

หมายเหตุ

                มีปัญหาในความเข้าใจในเรื่องของมโนวิญญาณเรามักเข้าใจกันว่า มโนวิญญาณ หมายถึง การรับความรู้สึกในใจหรืออื่นๆ ความจริงแล้ว วิญญาณขันธ์ นั้น หมายถึง ประสาทรับรู้ทางกาย เป็นการรับรู้เกี่ยวกับกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้โดยตา หู จมูก ลิ้น ทางกายภายนอก(ผิวหนัง) (โผฏฐัพพะ หมายถึง การรับรู้สัมผัสกายภายนอก คือ การรับรู้ถึงความเย็น ร้อน อ่อน แข็งเท่านั้น)  ส่วนมโนวิญญาณนั้น หมายถึง ประสาทการรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ได้แก่ ความรู้สึกหิว เจ็บปวด เมื่อย ล้า มึน งง เมา คลื่นไส้  ฯลฯ ซึ่งเป็นความรู้สึกของร่างกาย ในส่วนที่ไม่ใช่การรู้ของกายวิญญาณ

                และไม่ใช่ ความรู้สึกว่าสุข ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะความรู้สึกแบบนั้น เป็นการรู้ที่เรียกว่า เวทนาขันธ์.....

                ขันธ์ ๕ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น  ทรงหมายถึง .....

   ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น  ต่างเป็นองค์ประกอบของสิ่งเดียวกัน (จิต), ไม่ได้แยกออกจากกัน และสิ่งที่ประกอบขึ้นจากขันธ์ทั้ง ๕ นั้น เรียกว่า จิตหรือความคิด

   หรืออาจจะกล่าวอีกอย่างว่า  ความคิดหรือจิต นั้น

   ก็คือ หมู่ของ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือ รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ (เวทนาขันธ์)

   และคือ กลุ่มก้อน ของ ความทรงจำ ความรู้ที่ร่ำเรียนมา ประสบการณ์ต่างๆในอดีต (การจำได้หมายรู้ สัญญาขันธ์)

   และคือ หมู่ของความคิดที่ปรุงแต่งขึ้น จินตนาการต่างๆจากความหวัง ความอยากต่างๆ (สังขารขันธ์)

   และคือ กลุ่มของการรับรู้ ที่เกิดจาก การเห็น การได้ยิน การรับรู้รส การได้กลิ่น การรับรู้สัมผัสทางกาย และการรู้สึกทางใจ (วิญญาณขันธ์) หรือเป็น ทุกๆขันธ์ ในขณะเดียวกัน

  ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิ่งต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นได้ ต่างต้องมีเหตุมีปัจจัยที่เกี่ยวเนื่อง กันเสมอ อีกทั้งเหตุปัจจัยนั้น ต่างก็เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน ซึ่งใช่คำเรียก ว่า กระบวนธรรม  

  หากไม่มี รูปขันธ์ ก็ไม่มี วิญญาณขันธ์ (ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่มีการเห็นรูป)

  หากไม่มี วิญญาณขันธ์  ก็ไม่เกิด สัญญาขันธ์ (ถ้าตาบอด ก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาพต่างๆ ,หูหนวก ก็ไม่รู้เสียงต่างๆ)

  หากไม่มี สัญญาขันธ์  ก็ไม่เกิด เวทนาขันธ์ (และเวทนาขันธ์ ก็กลับไปเป็นสัญญาขันธ์ อีกทีหนึ่ง)

  หากไม่มี เวทนาขันธ์(ในสัญญาขันธ์) ก็ไม่เกิด สังขารขันธ์ (เหตุที่เกิดการคิดปรุงแต่งขึ้น ก็เพราะเรามีเจตนาที่ อยากได้สุขเวทนา หรือ อยากพ้นจากทุกขเวทนา) (และหากไม่มีสังขารขันธ์ ก็ไม่เกิด เวทนาขันธ์ ) ( เวทนาขันธ์ในสัญญาขันธ์ ก็คือ ความทรงจำที่เกี่ยวความสุขในอดีต ทำให้เราอยากได้มันอีก นั่นก็คือ สังขารขันธ์ จึงแสวงหาเพื่อให้ได้ความรู้สึกสุขใหม่ เวทนาขันธ์) (เวทนาขันธ์ในสัญญาขันธ์ ก็คือ สัญญาขันธ์ แต่ที่ยกมาเพียงต้องการให้เกิดความเข้าใจ อาจารย์รุ่นเก่าๆมักใช้คำว่า ปปัญจสัญญา)

 อนึ่งผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า จิต ก็คือ ความคิด และเกิดความคิดผิด ความเชื่อที่ผิดๆ ตีความและคิดถึงจิตไปแบบแบ่งแยก โดยแยกจิตออกเป็นส่วนๆ ตามขันธ์ต่างๆที่พระพุทธองค์ตรัสถึง และเข้าใจว่าความคิด นั้นหมายถึง สังขารขันธ์ (เพราะคำว่าสังขารขันธ์ แปลว่า ความคิดปรุงแต่ง)

 สังขารขันธ์นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ขันธ์หนึ่ง ขององค์ประกอบของจิตหรือ ความคิดทั้งหมด ซึ่งถ้าหากมีการตีความตามความเข้าใจกันแบบนั้น ก็เป็นการตีความที่ผิดและทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิด

เปรียบเสมือนกับการที่เราพูดถึงรถ  รถ ที่กล่าวถึงนั้น ต้องหมายถึงรถทั้งคัน ไม่ใช่ เป็นการเรียก แบบแยกส่วน เช่น แยกส่วนของล้อ แยกส่วนของเพลา แยกตัวถัง หรือแยกส่วนประกอบใดๆ แล้วเรียกส่วนต่างๆเหล่านั้นว่ารถ เพราะ สิ่งนั้นไม่ใช่ รถ  ไม่เรียกว่ารถ  แต่เรียกว่าล้อ เพลาฯ แทน

การตีความเรื่องของจิตหรือความคิดก็ต้องทำความเข้าใจเช่นนั้น

ด้วยเหตุว่าสังขารขันธ์นั้น เป็นเจตสิก ซึ่งหมายถึงว่า มันเป็นกิริยา หรืออาการ เหมือนๆกับ กิริยา ยืน เดิน นั่ง นอน วิ่ง สังขารขันธ์ หมายถึง อาการของการแสดงออกของ จิต  

ขันธ์ทั้งหมดขององค์ประกอบของจิต แสดงออกได้ทาง สังขารขันธ์ ทั้ง สิ้น   ตัวอย่างเช่น  กิริยา เดิน หรือ การเดิน

หมายเลขบันทึก: 205801เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท