การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ


การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ

การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (WHOLE SCHOOL APPROACH : W.S.A.)

 

                การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ การปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับโรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการ ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ หมวดนี้มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ดังนี้

·      มาตรา 6 ลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

·      มาตรา 7 เป้าหมายกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษา ส่งเสริม สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยความรู้อันเป็นสากล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

·      มาตรา 8 การจัดการศึกษา เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

                แนวการจัดการศึกษา วงการศึกษาพูดถึงความรู้คู่คุณธรรม ทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โรงเรียนจะทำอย่างไร จึงจะสำเร็จ

·      การจัดการศึกษานักเรียนสำคัญที่สุด เดิมความรู้อยู่ที่ครู ไม่มีเทคโนโลยีที่หลากหลาย ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปโดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

·      ต้องมีระบบประกันคุณภาพ โดยมีองค์กรรับผิดชอบ ส่วนหนึ่งดูแลครู อีกส่วนหนึ่งดูแลผู้บริหารเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อม มีระบบประกันภายในเพื่อให้ผู้ปกครองเชื่อมั่น

·         การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน

·      การจัดการมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น โดยบริหารจัดการที่ตอบสนองปัญหาของโรงเรียน วิสัยทัศน์ของโรงเรียนต้องชัดเจน จัดระบบให้มีความเชื่อมั่นได้

โรงเรียนที่มีการพัฒนาทั้งระบบ

มีวิธีการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบดังนี้

                วิเคราะห์สภาพโรงเรียน ชุมชน หาจุดเด่น จุดด้อย โดยออกแบบสำรวจความต้องการ วิเคราะห์เรื่องการเรียนการสอน พฤติกรรมของครู กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมายหลัก กำหนดแผนคือ การทำเป็นโครงการตลอดปี เป็นแผนปฏิบัติการ ดูจุดเด่นจุดด้อย เช่น จุดด้อยนักเรียนไม่ใฝ่รู้ จัดทำโครงการส่งเสริมการอ่าน และหาความรู้

- จัดฐานความรู้ เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้องสมุด สวนพฤกษศาสตร์ แปลงเกษตร

- ครูติดตามผล ใช้คำถามจากจุดทุกความรู้ เช่น จัดกิจกรรมการประกวด


หลักของการมีส่วนร่วม

1. หาผู้มาร่วม เช่น หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ศึกษานิเทศก์ ผู้ปกครององค์กร
2. สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ การสื่อความหมาย
3. งานหลัก งานวิชาการ (ดี เก่ง มีสุข) ทำให้ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในโรงเรียนซึ่งเป็น  หัวใจสำคัญแต่ใช้ด้านอื่นพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เดิมโรงเรียนเน้นเนื้อหาความรู้เพื่อสอบแข่งขันมากเกินไป เด็กจึงใช้ชีวิตไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะผู้ปกครองและครูผลักดันเพื่อการเรียนต่ออย่างเดียว



หัวใจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ

·         ผู้บริหารโรงเรียน

·         คณะกรรมการสถานศึกษา

·         ผู้ปกครอง

·         ชุมชน

·         นักเรียน

·         หน่วยงานและองค์กรต่างๆ

คุณภาพมาตรฐานนักเรียน

·      โรงเรียนมีแผนยุทธศาสตร์หรือธรรมนูญโรงเรียนที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ซึ่งเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

·         โรงเรียนมีแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นปัจจุบันพร้อมใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

·         โรงเรียนมีแผนงานทุกงานที่ร้อยรัดกันมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

·         มีการกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนงานอย่างต่อเนื่องหมายถึงเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วพบปัญหาทุกกลุ่มร่วมกันแก้ไข

·         ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน

·      การจัดแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อม เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ตามแนวทางปฏิรูป ห้องสมุดเหมาะสม หนังสือดีมาก แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเหมาะสม ปลอดภัย และเรียนรู้ได้ทุกจุด และเรียนรู้ได้จริง

·         มีการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปได้

·         การจัดทำรายงานที่สอดคล้องกันระหว่างการกำหนดวิสัยทัศน์กับการจัดทำแผนงานการปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน

 

ด้านการพัฒนาหรือปฏิรูปครู

                การพัฒนาครู และบุคลากรทุกคน ให้ได้รับการพัฒนา หรือปฏิรูปการเรียนรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ นำไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ บุคลากรทางการศึกษาดังนี้

·         ครูมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ กิจกรรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

·      ครูมีการแสดงออกซึ่งความรัก ความหวังดีต่อผู้เรียน โดยเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก

·         ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามความต้องการให้มากที่สุด

·         ครูสามารถเลือกใช้ ปรับปรุงแผนการสอนหรือเตรียมการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

·      ครูสามารถประดิษฐ์คิดค้น สามารถผลิต เลือกเครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

·         ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง

·      ครูรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอน ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทุกระบบ

·         ครูปฏิบัติจนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการแสดงออกด้าน บุคลิกภาพ กิริยาวาจา จริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครู

·      ครูมีการร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้อื่นในชุมชน และปฏิบัติร่วมกันด้วยความเต็มใจ

·      ครูค้นหาสาเหตุและรวบรวมข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม

·         ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร

·         ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย

·         ครูพัฒนานวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน

·         ครูศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

·         ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การวัดผลและประเมินผลจากสภาพจริง

·         ครูพัฒนางานนักเรียนอย่างมีระบบ หรือใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาบทเรียน ทั้งสามารถจัดทำผลงานทางวิชาการได้

 

ระบบการบริหารถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

·      วิเคราะห์ภารกิจ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย มาวิเคราะห์เป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้เห็นภาพรวม เพื่อให้เห็นภาพรวม เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์

·      การประเมินภายนอกจาก สกศ. เทคนิคที่สำคัญคือ การสร้างทีมงาน ทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องมีการผลักดันการปฏิรูปครู ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้

·      การบริหารจัดการเป็นหัวใจ ระบบบริหารขับเคลื่อนเห็นภาพของงาน ผลผลิตคือผู้เรียน จะเรียนอย่างมีความสุข ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการเรียนรู้ทุกขั้นตอน

·      การปฏิรูปครู ทำอย่างไรจะให้ครูเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการสอน มีการเรียนรู้ร่วมกันนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ และแก้ปัญหาร่วมกัน

·      การพัฒนาแฟ้มงานของใครดีก็จะมาศึกษา แลกเปลี่ยนกัน การคิดร่วมกันแล้วนำไปปฏิบัติ และขณะนั้นก็แก้ปัญหาไปด้วย ครูนำมาสรุป เด็กก็มองเห็นความสำคัญของความรู้ที่ได้รับ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม

·         มีผู้นำทางวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ ร่วมกันคิดและแก้ไขปัญหา

·         ผู้บริหารทำอะไรโปร่งใส อธิบาย ทำไมให้คนนี้ได้ จึงไม่มีปัญหา ครูรักและสามัคคีกัน

 

การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้

·      มีความสำคัญมาก มีผู้เชี่ยวชาญมาสอนในโรงเรียน สามารถใช้ได้ทุกวิชาแต่ละระดับ รู้มากรู้น้อยขนาดไหน ชุมชนยินดีให้ความช่วยเหลือ

 

ประโยชน์จากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน

·         เด็กได้รู้จริง จากผู้รู้จริง

·         ลงมือปฏิบัติได้จริง

 

สรุป การพัฒนาโรงเรียนทั่งระบบของโรงเรียนบ้านหินเขาซ้อย จังหวัดฉะเชิงเทรา

·         จุดอ่อน สภาพพื้นที่เป็นหินแกรนิต พื้นดินเสื่อม ตักหน้าดินไปขาย

·         จุดแข็ง มีศูนย์พัฒนา

·     

หมายเลขบันทึก: 205766เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท