อย่าเอาอารมณ์มาเป็นอารมณ์


ถ้าแกนอารมณ์ต่ำกว่าเหตุผลจึงจะคุยกันรู้เรื่อง

ในการจัดการกับอารมณ์ของเด็ก (ใช้กับผู้ใหญ่ก็ได้) ต้องประเมินสถานการณ์ว่าขณะนั้น  แกนอารมณ์อยู่เหนือแกนเหตุผลหรือเปล่า

ถ้ายังมีแกนเหตุผลโผล่ขึ้นมาบ้างก็ลองชวนเด็กๆ คุยว่า

  • ตอนนี้เป็นอะไร  มีอารมณ์อะไรอยู่ (ชวนคิดว่าที่รู้สึกอย่างนี้เรียกว่าอะไร)
  • แล้วมันเกิดจากอะไร 
  • แล้วที่รู้สึกอยู่นี้มันมากแค่ไหน (เด็กเล็กๆ อาจทำมือประกอบว่ามากเท่านี้หรือเปล่า)
  • แล้วคิดว่าทำอย่างไรถึงจะหายล่ะ

คำถามเหล่านี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ
แค่ได้คิดตามที่เราถาม  อารมณ์จะลดลงในระดับที่จะคุยเรื่องเหตุผลง่ายขึ้น
เมื่อความหุนหันพลันแล่นลดลง  สมองส่วนความจำ-เหตุผล จะถูกเอามาทบทวน

แต่ถ้าอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล  ให้ปลอบอย่างเดียว
การพูดมากไปเป็นการเร้าความรู้สึก
พูดน้อยแต่สื่ออารมณ์ออกไป ถึงจะรับอารมณ์กันได้

  • การยอมรับอารมณ์ ด้วยการสะท้อนอารมณ์ 
    การบอกว่า "อย่าโกรธ"  "อย่ากลัว"  "ไม่เจ็บหรอก"  รับรองว่ามันไม่หายหรอก
  • การแสดงว่าเป็นข้างเดียวกัน  เป็นการแสดงการรับรู้และเข้าใจ  บอกไปว่า "เข้าใจว่าหนูกำลังโกรธ  ที่เขาทำแบบนี้"  แต่ไม่ต้องบอกว่าใครถูก ใครผิด

การสะท้อนอารมณ์ คือการยอมรับว่า "ฉันมีอารมณ์ได้" ไม่ต้องโกรธตัวเอง
แสดงว่าเราเข้าใจ  เห็นใจ  พร้อมจะช่วยเหลือ 
แล้วอารมณ์ตรงนี้ก็จะเบาลง เราจึงค่อยกลับไปชวนคิด

ที่สำคัญก็คือ  อย่าเอาอารมณ์มาเป็นอารมณ์

--------------------------------------------------------

จากการอบรมครูโรงเรียนเพลินพัฒนา
วันที่ 1 ก.ย. 2551
วิทยากร : คุณเกียรติยง ประวีณวรกุล
นักจิตวิทยาคลีนิค  โรงพยาบาลธนบุรี 2

หมายเลขบันทึก: 205594เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท