ประวัติการเมือง


ติดปีกให้ความรักโบยบิน...เหนือจินตนาการ

ประวัติการปกครองระบอบประชาธิปไตย

 

1.       1.    สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

-    ปัญญาชนรุ่นใหม่ต้องการมีส่วนร่วมในการปกครอง

-   ประชาชนเริ่มตื่นตัวทางการเมืองจากอิทธิพลของหนังสือพิมพ์

-  ผลจากการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ

คนรุ่นใหม่เห็นว่าการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล้าสมัย

2.       2.    คณะปฏิวัติหรือ คณะราษฏร์ ได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

คณะราษฏร์ซึ่งมี พ.. พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้

-   จะต้องรักษาเอกราชทั้งทางการเมือง กาศาล และเศรษฐกิจให้มั่นคง

-     จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ

-    จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเท่าเทียมกัน

-     จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

3.    คณะราษกรได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน และในวันที่ 28 มิถุนายน ก้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฏรขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.. 2475 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

      4.   ผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

-          -          ยกเลิกการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย

-          -          มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

-          -          พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชฐานะและพระราชอำนาจตามที่ประบุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งนี้พระองค์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม 3 ประการ คือ

อำนาจนิติบัญญัติ ผ่านทางสภาผู้แทนราษฏร

                อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี

                อำนาจตุลาการ ผ่านทางศาลยุติธรรม

 

 การปกครองระบอบประชาธิปไตย

 

                ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในรัฐ

ลักษณะสำคัญของระบอบปราชาธิปไตย

                การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

- ลักษณะทางสังคม คือ ความเสมอภาคในการดำเนิดชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน

                - ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสจะได้รับประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ

                - ลักษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทาการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง

หลักการระบอบประชาธิปไตย มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.    อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจรัฐ

2.    ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง

3.    หลักการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชน

4.    การใช้หลักเหตุผล คือ นำเหตุผลมาประกอบความคิดเห็นในการดำเนินงานต่าง ๆ

5.    หลักความยินยอม หลักประชาธิปไตยต้องการให้มีการกระทำด้วยความสมัครใจ

6.    หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากในการแสวงหาข้อยุติการตัดสินใจ

7.    รัฐบาลมีอำนาจจำกัดและจำเป็น โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

8.    หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการใช้สิทธิอันชอบธรรม

9.    หลักการประนีประนอม กล่าวคือ พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

 

รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยทางตรง คือ ให้ประชาชนของประเทศใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง ในทางปฏิบัติจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีจำนวนประชากรไม่มากนักสามารถร่วมประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยตรงไม่ตองมีตัวแทน

ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ประชาชนจะเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้านต่าง ๆ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ใช้หลักการของระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้

1.    ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

2.    ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

3.    การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

 

การปกครองระบอบเผด็จการ

 

การปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่ให้ความสำคัญแก่อำนาจรัฐและผู้ปกครอง อำนาจรัฐจะอยู่เหนือเสรีภาพของบุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียว คณะบุคคลเดียว หรือพรรคการเมืองเดียว ซึ่งจะภือประโยชน์ของรัฐมากกว่าของประชาชน

ลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ

1.    ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประเทศ

2.    จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

3.    ยึดหลักความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐเป็นสำคัญ ยกย่องอำนาจและความสำคัญของรัฐเหนือ

เสรีภาพของประชาชน

4.    ยึดหลักรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางของประเทศ ให้อำนาจอยูในมือผู้นำเต็มที่

5.    ยึดหลักการใช้กำลัง การบังคับ และความรุนแรง  เพื่อควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติ

ตามความต้องการของผู้นำ

6.    ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำอย่างเคร่งครัด ไม่มีสิทธิโต้แย้งในนโยบายหรือ

หลักการของรัฐได้

7.    สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความหวั่นวิตกเกรงกลัว

อันทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง

รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ

ระบบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1.เผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะ ดังนี้

- อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิ

- ควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย

- ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในครอบครัว การนับถือศาสนา การดำเนินชีวิต

การประกอบอาชีพ โดยที่รัฐมีสิทธิแทรกแซง

 

2.เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีลักษณะ ดังนี้

- ควบคุมอำนาจประชาชนทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ

- ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมในการปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น

- รับเข้าดำเนิงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยประชาชนเป็นเพียงผู้ให้แรงงาน

- มีการลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืนหรือต่อต้าน ประชาชนต้องเชื่อฟังรัฐบาล

ผู้นำผู้ปกครองอย่างเครงครัด

- การปกครองแบบนี้ ได้แก่ การปกครองของรัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน

 

 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

วันสำคัญ

ตรงกับ

ความสำคัญ

พิธีกรรม

วันวิสาขบูชา

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

เป็นวันที่พระพุทธ เพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสากล

ในวันสำคัญทั้ง 3 วันนี้

พุทธศาสนิกชนจะประกอบพิธีกรรมคล้าย ๆ กัน ได้แก่

- ทำบุญใส่บาตร

- ฟังธรรม

- รักษาศีล 5 หรือศีล 8

- แผ่เมตตาแก่สัตว์

- นำดอกไม้ ธูป เทียน

  ไปเวียนเทียน

- ทำทาน

วันอาสาฬหบูชา

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา จึงเกิดพระสงฆ์องค์แรกขึ้นในโลก ทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3

วันมาฆบูชา

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์

วันธรรมสวนะ

วันขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ

วันแรม 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ

เป็นวันแห่งการบำเพ็ญกุศล

- บำเพ็ญทาน

- รักษาศีล

- เจริญภาวนา

- ฟังธรรม

วันอัฏฐมีบูชา

วันแรม 8 ค่ำ หลังวัน

วิสาขบูชา  7 วัน

เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า

ทำพิธีบูชาพระพุทธเจ้าเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ

วันออกพรรษา

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันมหาปวารนา

เป็นวันที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน

- ตักบาตรเทโว

- รักษาศีล

- กรวดน้ำอุทิศกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับ

  

หลักธรรมของศาสนาที่สำคัญของโลก 

ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

1.     หลักอาศรม 4 หมายถึงขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดูเพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น

จนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ หลุดพ้นจากสังสารวัฏ

2.     หลักปุรุษารถะ หรือจุดมุ่งหมายแห่งชีวิต 4 ประการ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

หลักประโยชน์ 4 หลัก ซึ่งศาสนาฮินดูได้สอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักอาศรม 4

 

ศาสนาพุทธ

1.     ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ หมายถึงองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต 5 ประการ

2.     อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ละเป็นความจริงขั้นสูงสุดที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้

 

ศาสนาคริสต์

1.     หลักความรัก ศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแหงความรัก เพราะสอนให้มนุษย์มีความรักต่อพระเจ้า รักต่อเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นข้อบัญญัติและหลักธรรมที่สำคัญที่สุดคือ หลักธรรมแห่งความรัก

2.     หลักบัญญติ 10 ประการ บัญญติ 10 ปรากรเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่ได้รับการยอมรับนับถือทั้งจากประชาชนชาวยิวในประเทศอิสราเอลและชาวคริสต์ในปัจจุบัน

ศาสนาอิสลาม

1.       1.     หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาของชาวมุสลิม หมายถึงความเชื่อมั่นด้วยจิตใจดดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใด ๆ

2.       2.     หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือพิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา ใจ อันถือเป็นความภักดี ตลอดชีวิต

ศีล         

ศีล   คุรุโควินทส์สิงห์ตั้งกฎไว้อย่างหนึ่ง  เรียกว่า ศีล  5 อันขึ้นต้นด้วยอักษร  ก. คือ

1.  เกศา คือเอาไว้ ผม หนวด เครา โกนตัดไม่ได้

2.  กุงคา  (กังฆา)  มีหวีสับผมเสมอ ขาดไม่ได้

3.  กรัท  ต้องมีมีดพกประจำตัว

4.  กริปาน  มีดาษประจำตัว

5.  กัจฉา  นุ่งกางเกงในประจำ

อ้างอิงจาก  www.kr.ac.th

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การปกครอง
หมายเลขบันทึก: 205259เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท