ศาสนาพุทธ ศาสนาแบบวิทยาศาสตร์


ศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ศาสนาพุทธเป็น ศาสนาแบบวิทยาศาสตร์

 

มีการกล่าวกันมากและทั้งเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายว่าศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์

แล้วความเป็นวิทยาศาสตร์ ของศาสนาพุทธนั้น เป็นอย่างไร ?

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่มีเหตุมีผล ความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้   เป็นจริงเป็นจัง ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดเดา อนุมานหรือใฝ่ฝันเอา  

เมื่อเราจะศึกษาพระธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ที่เรายอมรับและมีความภาคภูมิใจในคำยกย่องว่าศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมีจิตใจที่เป็น นักวิทยาศาสตร์ เสียก่อน คือ การที่ต้องมีใจที่เป็นกลางและหลุดพ้นออกจากการยึดมั่นหรือความเชื่อ ในเรื่องของสมมุติฐานต่างๆ ตลอดจนถึงความเชื่อในคำสอนต่างๆในศาสนาพุทธนั้น อย่างสิ้นเชิงเสียก่อน

ใจถึงจะมีอิสระ พร้อมที่จะสงสัย ไต่ถาม ในทุกๆเรื่อง ทุกแง่ ทุกมุม ที่เราควรจะสงสัย

เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น เราก็ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องพิสูจน์อะไรกันอีก เพราะ คำตอบ มันได้สรุป เสียก่อนแล้ว

คำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้น ต้องศึกษาด้วยการทำความเข้าใจให้เข้าใจเสียก่อนและพิสูจน์คำสอนเหล่านั้น โดยการปฏิบัติจริง จนเห็นผลจริง จึงค่อยเชื่อ ดังพุทธโอวาทที่ทรงประทานแก่ กาลามชน ใน กาลามสูตร  

กาลามสูตร

กาลามชนทั้งหลาย เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง สมควรที่จะสงสัย ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะ

กาลามชนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย   สมณะนี้

   ๑. อย่า ยึดถือ โดย การฟัง เรียน ตามๆกันมา (อนุสสวะ)

   ๒. อย่า ยึดถือ โดย การถือ สืบๆกันมา  (ปรัมปรา)

   ๓. อย่า ยึดถือ โดย การเล่าลือ  (อิติกิรา)

   ๔. อย่า ยึดถือ โดย การอ้างตำรา  (ปิฎกสัมปทาน)

   ๕. อย่า ยึดถือ โดย ตรรก   (ตักกะ)

   ๖. อย่า ยึดถือ โดย การอนุมาน  (นยะ)

   ๗. อย่า ยึดถือ โดย การคิดตรอง ตามแนวเหตุผล  (อาการปริวิตักกะ)

   ๘. อย่า ยึดถือ เพราะ เข้าได้ กับ ทฤษฎี  ของตน (ทิฏฐินิชฌานักขันติ)

   ๙. อย่า ยึดถือ เพราะ มองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ   (ภัพพรูปตา)

๑๐. อย่า ยึดถือ เพราะนับถือว่าท่านเป็นครูของเรา (สมโณ โน ครูติ)

   เมื่อใด  ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล  ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงละเสียฯลฯ

   เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ  ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกุล เพื่อความสุข  เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ

   กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้ปราศจากเวรอย่างนี้  มีจิตปราศจากความเบียด เบียนอย่างนี้  มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้  มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้  ย่อมได้ประสบความอุ่นใจ ถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ในปัจจุบันนี้แล้ว  คือ

                ถ้าปรโลกมีจริง  ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่าเมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว  จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้   นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ     

                ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี  เราก็ครองตนอยู่ได้โดยไม่มีทุกข์ไม่มีเวร  ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที ๒ ที่เขาได้รับ                    

                ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อใคร ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ                                       

               ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้  ในกรณีนี้  เราก็มองเห็น ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน  นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ.........                             

          เมื่ออ่านพระสูตรนี้แล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ไม่ได้สอนในเรื่องของปรโลกหรือโลกหน้าเลย เพราะพระองค์ทรงใช้คำว่าถ้าปรโลกมีจริงและก็ถ้าปรโลกไม่มี  ถึงแม้พระองค์จะไม่ได้ปฏิเสธตรงๆก็ตาม แต่ก็พอจะยืนยันได้ว่าพระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้สาวกเชื่อในเรื่องเหล่านั้น  สิ่งที่ทรงเน้นหนักอยู่ก็คือ เป็นสุขอยู่แต่ในชาติปัจจุบันนี้แล้ว หมายถึง เรื่องของปัจจุบันธรรม เรื่องของชาติปัจจุบันนี้

                อีกอย่างหนึ่งที่ควรระลึกถึงก็คือ วัตถุประสงค์ หรือสิ่งที่เราแสวงหากันอยู่นั้นก็คือความสุข หรือ การสามารถพ้นออกเสียจาก ความทุกข์

                มีการตีความพระธรรมของพระพุทธองค์แบบสุดโต่ง จนตีความไปว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิเสธ ความสุข แต่ความจริงแล้วไม่ใช่  ดังพระสูตรที่ว่า... ภิกษุในธรรมวินัยนี้

                -  ไม่แสวงทุกข์ มาทับถมตน ที่ไม่มีทุกข์

                -  ไม่ละ สุข ที่ได้มาโดยชอบ

                -  ไม่ติดอยู่ใน สุข นั้น

                จากพระสูตรนี้ จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงปฏิเสธความสุขแต่ทรงให้ระวังอย่าติดสุข ที่เรียกกันในภาษาธรรมว่านันทิราคะหรือความเพลิดเพลิน  ซึ่งหมายถึงความอยากได้อีก”“อยากสุขอีก

                ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ก็คือ มนุษย์ทุกๆคนในโลก ต่างก็แสวงหาความสุขไม่ว่าเราจะเรียกขานมันว่าอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหากันในรูปของวัตถุ หรือ ทางด้านจิตใจ จุดประสงค์ทั้งหมด ก็เพื่อ ความสุข ทั้งสิ้น แม้แต่การแสวงหา นิพพาน ของคนชาวพุทธ  ก็เป็นเพียงเพราะเขาคิดว่า พระนิพพาน เป็น บรมสุข (ยอดของสุข) เช่นกัน

                ในโลกทางวัตถุนั้นวิทยาการ ความรู้ทั้งหลายที่เจริญ พัฒนาก้าวหน้ากันอยู่ในทุกๆวันนี้ ต่างก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะทำให้คนได้รับความสุขทั้งสิ้น แต่วิชาการวิทยาการ ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นสามารถตอบสนองให้แก่มนุษย์เราได้ ก็เพียง ความสะดวกสบาย เท่านั้น แต่มนุษย์โดยทั่วไปนั้น ต่างก็สำคัญผิดกันว่าความสะดวกสบาย นั้น ก็คือความสุข

                ความสะดวกสบายก็นับว่าเป็นเหตุให้มนุษย์เกิดความสุขได้จริงๆในระดับหนึ่ง ดังนั้นมนุษย์ทั่วไปจึงต่างพากันแสวงหาความสะดวกสบายนี้กันตลอดเวลา จนถึงระดับหนึ่ง มนุษย์ก็เริ่มรับรู้แล้วว่า ความสะดวกสบาย ทั้ง หลายเหล่านั้น ยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง  ดังนั้น มนุษย์จึงเริ่มไปแสวงหาความสุขในรูปแบบอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากความสุขทางด้านวัตถุ

มนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างก็แสวงหากันตลอดเวลาว่า มีอะไรหรือไม่ ที่อยู่เบื้องหลังของการมีชีวิต แสวงหากันตลอดเวลาถึง ความสุขที่อยู่นอกเหนือจากความสุขทางด้านวัตถุ แสวงหาสิ่งที่เรียกว่า สัจจะ พระเจ้า หรือ สภาวะที่ไม่มีอะไรมารบกวนได้ มนุษย์เฝ้าถามตัวเองตลอดเวลา แสวงหากันอยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ให้รู้ และในที่สุด เมื่อเขาไม่พบในสิ่งที่ไร้ชื่อ ที่ถูกขนานนาม นับพันๆชื่อ เขาก็เริ่มเพาะความเชื่อขึ้น ความเชื่อในพระผู้ช่วยให้รอด เชื่อในอุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่ง และความเชื่อนั้นเอง ที่ส่งผลต่อเนื่องไปในชีวิต

การต้องดิ้นรนอย่างซ้ำซาก ซึ่งเราเรียกมันว่าการดำรงชีวิตเราพยายามตั้งกฎเกณฑ์ของการปฏิบัติต่างๆขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสังคมแบบใดๆโลกเสรีโลกคอมมิวนิสต์ ชาวป่า ชาวเขา และเราก็ยอมรับมาตรฐานของความประพฤติในแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบพุทธ คริสต์ อิสลามหรืออะไรๆก็ตามที่เราอยู่ใต้สังกัดอันนั้นเป็นส่วนหนึ่งในขนบธรรมเนียมหรือประเพณีนั้นๆ

นับเป็นศตวรรษมาแล้ว ที่เราได้รับการป้อนความรู้ความคิดจากบรรดาผู้ที่ได้ชื่อว่าครูอาจารย์ ผู้รู้ หนังสือนักบุญ พระสงฆ์ และจากที่อื่นๆอีกมากมาย ที่เราคิดว่าเป็นที่พึ่ง หรือเป็นผู้ที่เราคิดว่า จะสามารถเฉลยคำตอบต่อคำถามที่อยู่ในใจของเราและที่เราแสวงหาอยู่นั้นได้  แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัด เจนแก่ใจของเราได้เลย  เรามีคำถามตลอดเวลา แต่เราก็ยังต้องเชื่อต้องปฏิบัติตัวบังคับใจไปตามนั้น

เราหลอกลวงกันอยู่ตลอดเวลา หลอกผู้อื่น หลอกกระทั่งตัวกระทั่งใจของตัวเอง ให้เชื่อให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ในสังคมแบบนั้นๆ เพื่อให้ได้รับความรู้สึกว่า มั่นคง ปลอดภัย  

เราตัดสิน ตำหนิ ติเตียน เปรียบเทียบผู้อื่นตลอดเวลา ด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นนั้น  ความประพฤติและความคิดของเราได้กลายเป็นกลไกไปหมด การตอบสนองของเรา ก็เป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยเป็นไปตามกรอบกฎเกณฑ์ที่กำหนดนั้นๆ (ทิฏฐิ)

เราแสวงหากันตลอดเวลา แต่เราคิดผิด รู้ผิด เราคิดว่าสิ่งที่กำหนด สิ่งที่เรา แสวงหาทั้งหมดนั้น มันอยู่ภายนอกจากตัวเรา แต่ความจริงไม่ใช่  มันอยู่ภายใน ในจิตในใจของแต่ละคนนั่นเอง  มนุษย์หากันผิดที่ จึงไม่มีทางที่จะหาพบ และ นอกจากนั้น สิ่งนั้นมิใช่จะพบได้ ด้วยการหา ด้วยการแสวงหา หรือการคิดเอา แต่ เกิดจาก การรู้  รู้โดยไม่ต้องคิด  ไม่ต้องแสวงหา

พุทธะ นั้น ไม่ได้อยู่ที่ รูปแบบใดๆหรือพิธีกรรมแบบไหน

พุทธะ คือ ปัญญา เพราะ

พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

หากคุณเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ว่าคุณจะนับถือศาสนาใดๆ มีความเชื่อแบบไหนๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็น พุทธะ ได้ทั้งสิ้น

คำสอนใดๆ ที่สอนให้คุณ รู้- ตื่น- เบิกบาน ก็ล้วนนับเป็นคำสอน(ศาสนาแปลว่าคำสอน) ของ พุทธะ ทั้งสิ้น

ไม่ใช่เพียงสมมุติที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธ เป็นคริสต์ หรือเป็นอิสลาม ฯล

ความทุกข์นั้น เป็นเสมือนโรคร้าย ความทุกข์ เป็นโรคร้ายทางจิต ความทุกข์หรือโรคร้ายนั้น ต้องอาศัยการรักษา อย่างมีหลักมีเกณฑ์

ความทุกข์หรือโรคร้ายต่างๆนั้น ไม่แยแสกับความเป็นศาสนาพุทธ เป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามหรือศาสนาฮินดู ตลอดไปจนถึงความเชื่อ แนวคิดทางการเมืองหรือสังคม หรือความเคร่งครัดในรูปแบบหรือพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆของเธอ  

ความทุกข์หรือโรคร้าย ไม่เคยแบ่งแยก หรือปรากฏว่าเป็นความทุกข์หรือเป็นโรคเฉพาะของ ชาวพุทธ ชาวคริสต์หรืออิสลามฮินดู

ความทุกข์หรือความเป็นโรคร้าย ไม่เคยเลือก ประเภทของคนไม่ว่าจะเป็น คนรวย-คนจน คนชั้นสูง-คนชั้นต่ำ คนดี-คนชั่ว ฯลฯ

การปฏิบัติธรรมหรือยาที่ใช้ในการรักษาโรค ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้เลือกว่าคุณเป็นคนของใครหรือมีความเชื่ออย่างไร หากปฏิบัติถูกต้อง กินยาและมีกระบวนการรักษาที่ถูกต้อง ก็สามารถรักษาเยียวยาความทุกข์หรือการเป็นโรคร้ายต่างๆได้เช่นกัน

                นอกจากนี้ การปฏิบัติธรรมหรือยาก็ไม่เลือกเสียด้วยว่า คนๆนั้นจะต้องเป็นคนดีหรือคนชั่ว และการปฏิบัติในธรรมนั้นนั่นเอง ที่จะทำให้คนชั่ว เปลี่ยน แปลงเป็นคนดี

                การที่เขาเป็นคนไม่ดีหรือเป็นคนชั่วนั้น ก็เพราะคนๆนั้นกำลังทุกข์หรือแสดงว่า เขากำลังเจ็บป่วย ดังนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่เขานั่นแหละ คือ ผู้ที่สมควรจะ ต้องได้รับการเยียวยารักษามากเสียยิ่งกว่าใครๆและยิ่งกว่าคนดีๆเสียอีก แต่ที่เป็น อยู่เรากลับทำอะไรๆที่ผิดไปหมด มองผิดเห็นผิดไปหมด กลับกีดกันคนเหล่านั้นออกไปจากการรักษาหรือกรปฏิบัติธรรม

                  ยารักษาโรคเดียวกัน แม้จะมีชื่อ มียี่ห้อ เพราะผู้แทนจำหน่ายที่แตกต่างกัน ยาเหล่านั้นต่างก็มีตัวยาที่เหมือนๆกันหรือแม้จะอาจจะมีความแตกต่างในตัวยา แต่ก็ต่าง รักษา แก้ไข ในจุดเดียวกัน  คือ ความทุกข์ หรือ เชื้อของโรคร้าย

                 ความเป็นพุทธ ก็คือ การพ้นจากรูปแบบ พ้นจากการยึดมั่นในลักษณะ พ้นออกจากการยึดมั่นในคำสอนใดๆ พ้นจากหลักเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆ แต่เน้นดูกันที่ผลของการปฏิบัติ ที่เห็นจริง พิสูจน์ได้จริง มีเหตุมีผล ที่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

                ไม่ใช่ แค่อ้างกันว่า

                นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ เท่านั้น

                แล้วสิ่งนั้น ต้องเป็นความจริง โดยไม่ต้องพิสูจน์ 

                นั่นเองคือ ความเป็นวิทยาศาสตร์ ของ ศาสนาพุทธ

 

หมายเลขบันทึก: 205210เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท