ธุรกิจเพิ่มมูลค่าผลไม้


การลงทุนต่ำเปิดในระบบแฟรนไชส์

ธุรกิจเพิ่มมูลค่าผลไม้

 

ไอซ์ทวิสเตอร์นำผลไม้มาสร้างตลาดแบบเฉพาะ ด้วยกรรมวิธีการผลิตเป็นสินค้าที่มีความเข้มข้นและมีรสชาติและกลิ่นผลไม้ที่มากกว่าสินค้าที่เป็นน้ำปั่นหรือไอศครีมทั่วไปแต่มีท้อปปิ้งเป็นผลไม้แปรรูปและเยลลี่ ใช้การลงทุนต่ำเปิดในระบบแฟรนไชส์

 

เป็นแนวคิดที่จะพัฒนาสินค้าให้มีความแปลกใหม่จับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ และเป็นธุรกิจค้าปลีกที่เข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า

ไอซ์ทวิสเตอร์เป็นน้ำปั่นผลไม้ที่ใช้เนื้อผลไม้เป็นหลักทำให้สินค้ามีจุดเด่นตรงความเข้มข้นมีลักษณะจับตัวคล้ายไอศครีมแต่เหลวกว่าและเข้มข้นกว่าน้ำปั่นผลไม้ ปัจจุบันมี 4 รสชาติ คือ บลูเบอร์รี่ สตอร์เบอรี่ ฝรั่งและส้ม ในราคาแก้วละ 15 บาท จับกลุ่มลูกค้าอายุ 13-30 ปี

ปัจจุบันมีสาขาอยู่ 7 แห่ง ตั้งกระจายอยู่ในห้างสรรพสินค้า ในแหล่งชุมชนและย่านการศึกษา โดยเปิดเป็นบูธขนาด 1.5-2 เมตรและใช้เงินลงทุนต่อสาขา 3 หมื่นบาท

เป้าหมายของการขยายตลาดในปี 45 นายศิริชัยตั้งเป้าขยายสาขาให้เพิ่มจากเดิมเป็น 30 แห่ง ซึ่งมีโอกาสความเป็นไปได้สูงเพราะความตอบรับของลูกค้าจากการไปออกบูธในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ รวมถึงจากสาขาที่เปิดทั้ง 7 แห่งนั้นเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้เป็นเพราะไอซ์ทวิสเตอร์เป็นธุรกิจที่ลงทุนต่ำ มีราคาขายถูกและเป็นสินค้าที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย ตลอดจนผู้บริโภคคนไทยให้ความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากยิ่งขึ้น

3 หัวใจสำคัญธุรกิจ

แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนักหาก 3 หัวใจหลักของธุรกิจมีศักยภาพคือ

1. พนักงานขาย ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นด่านหน้าที่จะจูงใจลูกค้าได้เข้ามาทดลองชิมสินค้า

2. ทำเล ที่มีอยู่คือในห้างสรรพสินค้าและทำเลอื่น ๆ เช่นสถานศึกษา ชุมชนต่าง ๆ ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ในห้างฯสรรพสินค้าอาจเป็นทำเลที่มีผู้คนเดินเข้าออกตลอดเวลาแต่ค่าพื้นที่มีราคาแพงและปัจจุบันแทบจะหาพื้นที่ดี ๆในห้าง ฯไม่ได้แล้ว

ส่วนทำเลอื่น ๆที่อยู่นอกห้างสรรพสินค้านั้นต้องอาศัยผู้ลงทุนที่มีความคุ้นเคยในทำเลและลูกค้าที่ตัวเองอยู่ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเพราะจะทำตลาดได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากกว่า

3. สินค้า ต้องมีความอร่อยและมีคุณภาพเป็นสำคัญ แต่ในฐานะของนักการตลาดรุ่นใหม่ทำให้นายศิริชัยเชื่อว่าแท้จริงสินค้าแต่ละตัวไม่ได้ขายตัวของมันเองได้ในยุคปัจจุบันต้องมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาประกอบ

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์สภาพโดยรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ว่าที่ผ่านมาธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อปี แต่ผู้ที่ต้องการซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาและธุรกิจมีการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบันจะต้องมีความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มขึ้นเพราะหากเลือกเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ที่มีองค์กรธุรกิจไม่เข้มแข็ง และไม่มีระบบการทำงานที่ดีเพียงพอในการช่วยเหลือผู้ลงทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กให้อยู่รอดได้ โอกาสในการขยายตัวอย่างมั่นคงของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กจึงเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

ไม่ได้มาโฆษณาให้ใครหรอกคะ แค่คิดว่าท่านผู้บริโภคกำลังมีทางเลือกเพิ่มอีกทางหนึ่ง  (อยากกินอะ)

 

ที่มา  http://www.businessthai.co.th

หมายเลขบันทึก: 205175เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท