โลกแห่งคุณธรรม


โลกแห่งคุณธรรม

 

ศ.ดร.สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์   

โลกแห่งคุณธรรม

        ผู้เขียนอ่านบทความการศึกษาจาก Phi Delta Kappan ทำให้ทราบว่า กำลังมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เพราะจากข้อวิจารณ์ของครูและผู้ที่ ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างแสดงความคิดเห็นว่าการจัดการ ศึกษาที่ผ่านมามิได้สะท้อนให้เห็นถึงการเน้นคุณธรรมและจริย ธรรมในหลักสูตร แต่มุ่งเน้นเนื้อหาเป็นส่วนมาก ดังนั้นปัญหาที่ เกิดขึ้นในสังคมจึงแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการจัดการ ศึกษา ด้วยเหตุนี้หลักสูตรที่มีการปรับปรุงใหม่นั้นจะบรรจุ คุณธรรม 7 ประการ โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้เรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่มี คุณธรรมและจริยธรรม ช่วยสร้างสรรค์ให้สังคมมีความสงบสุข รู้จัก เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและมีจิตใจเมตตากรุณา ในอนาคตข้างหน้าจะเป็นโลกแห่งคุณธรรมอย่างแท้จริง ซึ่ง จะประกอบด้วยคุณธรรมด้านต่างๆ ดังนี้

        1. คุณลักษณะเฉพาะตัว คุณธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวบุคคลที่ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนคือ เป็นผู้มีวินัย ในตนเอง มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต กระตือ รือร้นใน การปฏิบัติงาน มีมิตรภาพกับบุคคลทั่วไป และมีความ รู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ วิธีการจัด กิจกรรมการเรียนต้องให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างที่ดี นอกจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ต้อง ปรับรูปแบบพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะดังกล่าว รวมทั้งสื่อโฆษณาต่างๆ ก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนได้ เลียนแบบและปฏิบัติตาม

        2. มรดกทางสังคม คุณธรรมที่เป็นมรดกทางสังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีที่ดีงาม อันปฏิบัติสืบต่อ กันมาเป็นเวลานาน เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การมีชีวิตที่สุขสงบ การมีวัจนภาษา และอวัจนภาษาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใน สังคม และการเคารพวัฒนธรรมของผู้อื่นเหล่านี้ล้วนเป็นมรดก ทางสังคมที่เชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และชุมชนให้ร่วมมือกันจัด กิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มรดกทางสังคม

        3. การรักษาชุมชน คุณธรรมที่เกี่ยวกับการรักษา ชุมชน ได้แก่ การรักษาชุมชนให้สะอาด มี สภาพแวดล้อมที่ดี บ้าน และโรงเรียนต้องร่วมมือกันด้วยการจัดสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะ คล้ายกัน ให้ผู้เรียนเข้าใจว่าตนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนเช่น กัน สมาชิกทุกคนในโรงเรียนต้องมีความรู้สึกผูกพัน ทั้งนี้โดยครู ใช้กระบวนการเรียนทำกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียน กฎและ ระเบียบต่างๆ จะมาจากผู้เรียนที่ตกลงร่วมกันว่าต้องการจะอยู่ อย่างไร จึงจะปลอดภัยและยุติธรรม

        4. สันติภาพ คุณธรรมที่เกี่ยวกับสันติภาพคือ การมี ชีวิตอย่างเป็นสุขตามธรรมชาติ เข้าใจ ธรรมชาติ และเรียนรู้วิธีการ สร้างสรรค์เพื่อใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ ดังนั้นวิธีการเรียน คือ ให้ผู้ เรียนรู้จักแก้ไขข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี นอกจากนั้นยังให้ผู้เรียน ศึกษาสาเหตุของการเกิดสงครามในอดีต วิเคราะห์ปัญหาของ สงคราม ให้ผู้เรียนศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อเข้าใจวัฒนธรรม และ รูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ศึกษาสิทธิของมนุษย์และ เคารพนับถือซึ่งกันและกัน ศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก กิจกรรมที่จัดจะเชื่อมโยงผู้เรียนกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น สันติภาพจึงมุ่งสร้างวิถีธรรมในชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีความ รู้สึกผูกพันกับชุมชนนั่นเอง

        5. การปฏิบัติตนต่อสังคม คุณธรรมที่แสดงออกให้ เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ยากของบุคคล แสดงออก ให้เห็นถึงความยุติธรรมและความเสมอภาคทางสังคม ดังนั้น กิจกรรมการเรียนจะมุ่งไปที่ปัญหาของสังคม ผู้เรียนจะได้รับมอบ หมายให้ศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของชุมชน ให้สำรวจ ชุมชน นอกจากนั้นยังรวมถึงให้ศึกษาความคิดของบุคคลในสมัย ต่างๆ ผู้เรียนจะเรียนรู้เรื่องราวจากอดีตสู่ ปัจจุบันผ่านความคิด ของบุคคลในแต่ละสมัย การปฏิบัติตนในสังคมเป็นคุณธรรมที่มุ่ง สร้างให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอบอุ่นและผูกพันระหว่างผู้เรียนกับ บุคคลในชุมชนจากปัจจุบันสู่อดีต นอกจากนั้นผลที่ได้จากการ ศึกษาจะใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนต่อสังคมได้อย่างถูกต้อง

        6. ชุมชนเข้มแข็ง คุณธรรมที่แสดงให้เห็นถึงชุมชน เข้มแข็ง คือชุมชนในโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ บริหารและบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานในโรงเรียนต่างร่วมกันทำงาน เพื่อสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง แต่ละฝ่ายมีส่วนร่วมใน การตัดสินใจ ใช้หลักประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกันแก้ไขข้อขัด แย้งโดยใช้หลักคุณธรรม มีความรับผิดชอบงานในหน้าที่ และ ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้โรงเรียนเป็น ชุมชนที่เข้มแข็งนั่นเอง

        7. การค้นหาหลักธรรม ในที่นี้คือหลักธรรมที่ใช้เป็น แนวทางปฏิบัติของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ ความหมายของชีวิต การดำรงตนอย่างมีความสุขและรู้จักตัดสิน ใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้นลักษณะของกิจกรรมการ เรียนจึงเป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาหลายวิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วรรณ กรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญา ใช้หลักการ อภิปรายให้ผู้เรียนแสดง ความคิดเห็นและร่วมกันค้นหาหลัก ธรรมที่ได้จากการเรียนมาใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตนในชีวิต ประจำวันของผู้เรียน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของคุณธรรมข้อนี้

        คุณธรรมทั้ง 7 ประการ ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคม ปัจจุบัน โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณธรรมดังกล่าว โดยผ่านกระบวนการเรียนที่จัดให้ การเชื่อม โยงเนื้อหาวิชาต่างๆ ในหลักสูตรจึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาให้ รอบคอบ การคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุ ประสงค์ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมทั้ง 7 ประการ จึงเป็นเรื่อง ที่ควรจะต้องพิจารณาอย่างละเอียด จากบทความนี้แสดงให้เห็น ถึงการตื่นตัวในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งในสังคมไทย นักเรียนก็มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ขาดความกระตือรือร้น ขาด ความซื่อสัตย์สุจริต การเคารพเชื่อฟังบิดามารดา และครูอาจารย์ น้อยลง ปัญหาสภาพแวดล้อม ความสุขสงบเริ่มน้อยลง และยัง มีปัญหาอื่นๆ อีกหลายประการ แม้ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาจะออก มาเน้นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ แต่ก็คงใช้เวลาอีกนานกว่าจะ เริ่มลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

สรุปความจาก
        Joseph, Pamcla Bolotin and Sara Efron. 2005. “ Seven Worlds of Moral Education. ” Phi Delta Kappan. 7(March 2005), pp 525-532.

ที่มา : http://www.edu.ku.ac.th

หมายเลขบันทึก: 205001เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท