ก้าวสู่ความเป็น E


ก้าวสู่ความเป็น E

 

ก้าวสู่ความเป็น E
(
จาก E-Department สู่ E-Faculty และ
E-University)

รศ.ดร. มธุรส จงชัยกิจ


        
ขอเริ่มบทแรกด้วยการเตรียมใจ เพราะใจเป็นทุกสิ่ง ทุกอย่างของคำว่า ความสำเร็จเมื่อใจพร้อมกายก็มักจะพร้อมตาม ด้วย ถ้ากายโอเคแต่ใจไม่พร้อม กายก็มักจะเริ่มรวนเรตามไป จริง ไหมท่านผู้อ่าน

        
หัวใจของความสำเร็จในการก้าวสู่ความเป็น E นั้นท่านผู้รู้กล่าว ไว้ว่ามี 4 ดวง คือ ผู้เรียน ครู/ผู้อำนวยคอร์ส หลักสูตร และเทคโนโลยี

หัวใจดวงแรก: ผู้เรียน (The Students)
        
ทัศนคติ ทักษะ และพันธะสัญญาต่อตน คือตัวกำหนดที่จะ ทำให้ใจดวงนี้ประสบความสำเร็จในการเรียนแบบออนไลน์ ลักษณะที่ต้องมี จึงได้แก่ ความพร้อมด้านวุฒิภาวะ จิตใจที่เปิดกว้าง การสนับสนุน และ รู้จักให้กำลังใจตนเอง การยอมรับความคิดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความ พร้อมที่จะทำงานแบบร่วมมือ และท้ายที่สุด ความเชื่อมั่นต่อการเรียนแบบ ออนไลน์ ทักษะพื้นฐานสำคัญที่ต้องมี ได้แก่ การสื่อสารด้วยการเขียน และพิมพ์ และประสบการณ์ การใช้งานเทคโนโลยีในระดับต้นๆ ในส่วน ของการมีพันธะสัญญาต่อตนนั้น ได้แก่ การสละเวลา 4-6 ชม. ต่อ สัปดาห์ให้แก่การทำงาน การติดตามงาน และการจัดเตรียมความพร้อม ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี ทั้งนี้ได้มีการค้นพบว่า การเรียนแบบออนไลน์นั้นช่วยส่งเสริม ผู้เรียนที่ไม่ชอบแสดงออกทางคำพูด ซึ่งมักจะหลบซ่อนตัวในชั้นเรียน การเรียนในลักษณะนี้ จะเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีการคิดทบทวนตรวจ แก้ ก่อนส่งข้อมูลออกไปได้มากกว่า กำแพงแห่งการแสดงออกที่มักขวาง กั้นผู้คนกลุ่มนี้จึงหมดไป

หัวใจดวงที่2 : หลักสูตร (The Curriculum)
        
จำเป็น และควรอย่างยิ่งที่รายวิชาออนไลน์ หรือ Online Course จะต้องอยู่ในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง เพื่อให้เกิดการถ่ายทอด อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีหลักประกันด้านคุณภาพและ มาตรฐานของหน่วยงานหรือสถาบันอย่างคณะ และภาควิชารองรับ ทั้งนี้
 
ควรมีการออกแบบหลักสูตรมาโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับรูป แบบการเรียนการสอนออนไลน์ ที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ และเน้นการทำ งานแบบร่วมมือ โดยอาจปรับมาจากหลักสูตรเดิมๆ และจัดทำให้เข้า กับบริบทของการออนไลน์ ถ้าทำได้อย่างเหมาะสม
 
เนื้อหารายวิชาควรอยู่ในรูปของหน่วยสำเร็จ หรือโมดูล ซึ่งมีการ กำหนดงาน การส่งงานในแต่ละส่วนอย่างเรียบง่าย ชัดเจน และไม่ ซับซ้อน การบรรยาย หรือเล็คเชอร์ควรมีให้น้อยลง และแทนที่ด้วย การตั้งคำถามประเภทปลายเปิดที่เปิดกว้างจริง มีการให้อภิปราย วิจารณ์และแสดงข้อคิดเห็นได้อย่างหลากหลายแทน
 
ควรเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ในโลกและชีวิตจริง โดยขุดค้นทักษะ การคิดวิเคราะห์ขึ้นมาแลกเปลี่ยนกันกับหมู่เพื่อนและ/หรือครูผู้ อำนวยคอร์ส

        
ตัวแปร 2 ประการของหลักสูตรออนไลน์ที่ต้องคำนึงถึงจึงได้แก่ กระบวนการ (process) และผลการเรียนรู้ (Outcomes) โดยที่ กระบวนการ ต้องเน้นการบูรณาการชีวิต งาน และประสบการณ์ทางการ เรียนเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความต่อเนื่อง และความเชื่อมโยงระหว่าง ความคิดรวบยอดกับการปฏิบัติ การจัดสรรเวลาให้ทำงานอย่างพอเพียง กับงานที่มอบหมาย ให้ใช้การท่องจำเพียงเล็กน้อย พยายามให้เกิดความ สมดุลย์ระหว่างเทคโนโลยี ครูผู้อำนวยคอร์ส และผู้เรียน และมีการแทรก ใส่กิจกรรมกลุ่มและทีม ในส่วนของผลการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องวัดได้ และเปิดโอกาสให้นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน หลักสูตรออนไลน์ควรมีวัตถุประสงค์เด่นชัดที่บรรลุได้ มี การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตามความต้องการของหลักสูตร มี เนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และควรออกแบบให้เกิด การสื่อสาร สนทนากันระหว่างผู้เรียนให้มากที่สุด ให้ผลการเรียนรู้ต้อง ขึ้นอยู่กับตรงส่วนนี้ บรรยากาศของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) ที่มีทั้งความเปิดเผย ซื่อสัตย์ จริงใจ มุ่งการเรียนรู้ ต้องเกิดขึ้น เพื่อการนี้ ภายใต้ความรับผิดชอบดูแลของครูผู้อำนวยคอร์ส

หัวใจดวงที่3 : ครู/ผู้อำนวยคอร์ส (The Facilitator)
        
ควรผ่านการฝึกอบรม และถือเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของ โครงการ โดยปกติจะเป็นผู้ออกแบบและดูแลรายวิชาด้วย จึงมีส่วนต่อ ความล้มเหลวหรือสำเร็จของโครงการเป็นอย่างมาก การฝึกอบรมบุคลิก ภาพส่วนตน และท่าทีทัศนคติ ล้วนมีผลต่อบริบทการเรียนออนไลน์ทั้งสิ้น ครู/ผู้อำนวยคอร์สที่ประสบความสำเร็จ มักจะรู้จักประสานประสบการณ์ ในชีวิต ความสามารถทางการสื่อสาร ความชำนาญในวิชาชีพ และเนื้อหา เข้าด้วยกัน ในการจัดบริบทการเรียนการสอน บุคลิกของครู/ผู้อำนวย คอร์ส นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดบรรยากาศห้องเรียนเสมือน โดยเฉพาะการมีท่าทีในเชิงบวก และให้กำลังใจที่จะทำให้ผู้เรียนเกิด ความรู้สึกอบอุ่นและปรับตัวได้เร็วยิ่งขึ้น

        
หน้าที่หลัก 2 ประการของครู/ผู้อำนวยคอร์ส จึงได้แก่ การ ออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสม และอำนวยการเรียนให้เกิดความพร้อม และความสะดวก โดยหลักการแล้วจึงไม่ใช่แค่การแปลงเนื้อหา คอร์ส เดิมๆ มาสู่รูปแบบดิจิตอล เสียงและวิดีโอ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่ง ได้แก่การจัด ให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กันและกันในระหว่างผู้เรียน ระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับสื่อและอุปกรณ์การเรียน รวมไปถึงชุมชน โลกขนาดใหญ่อย่างเวิลไวด์เว็บ บทบาทของครูจึงเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ จากผู้ถ่ายทอดความรู้ในห้องเรียนแบบเป็นศูนย์กลาง มาสู่การอำนวย การให้ผู้เรียน ค้นพบวิถีทางทางการเรียนของตนเองในบริบทที่เขาเองก็ เป็นศูนย์กลางด้วย ครู/ผู้อำนวยคอร์สจึงต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อในเรื่องของ ประสิทธิภาพด้านต่างๆ ของการเรียนแบบออนไลน์และ คุณค่า ของการคิดวิเคราะห์ การนำเพียงวิธีสอนแบบเดิมมาสวมในบริบทใหม่ ทางการเรียนไม่อาจก่อให้เกิดผลสำเร็จได้ การเผชิญกับความเครียด และ เตรียมพร้อมรับมือกับการปรับเปลี่ยน ตั้งแต่วิถีทางแนวการสอน การมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตลอดจนการบริหารจัดการคอร์สแบบ 24 ชม. จึง เป็นสิ่งที่ครู/ผู้อำนวยคอร์สต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่าง ความรับผิดชอบต่างๆ ได้แก่
 
การวางแผนและจัดทำรายวิชา
 
การสร้างบรรยากาศการร่วมมือทำงานเป็นทีม ให้ผู้เรียนต้องพึ่งพา กันเป็นส่วนใหญ่ โดยครู/ผู้อำนวยคอร์สต้องสามารถเป็นทั้งส่วนหนึ่ง ของทีม และสนับสนุนให้ผู้เรียน พึ่งพากันและกัน
 
การสร้างคำถามปลายเปิด ที่นำไปสู่การใช้สติปัญญาในการตอบ ในระดับต่างๆ กันได้อย่างหลากหลายตามเป้าประสงค์ของการสอน
 
การกำหนดปฏิทินการทำงาน สร้างความเป็นผู้นำ และรับผิดชอบโดย ไม่ควบคุม และพยายามหาสมดุลย์ระหว่างการนำทางกลุ่ม กับการ สร้างบริบทแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้นพบเป้าหมายด้วยตัวผู้เรียนเอง ซึ่งนำไปสู่รูปแบบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
 
การพัฒนาวิธีการเสริมแรงและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน
 
การจัดลำดับเนื้อหาและหน้าการนำเสนอต่างๆ ที่ย้อนดูได้เพื่อไม่ ให้จำนวนเนื้อหาหนักเกินไป
 
การออกแบบและจัดการ ให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับความ ต้องการรายบุคคลของผู้เรียน

หัวใจดวงสุดท้าย: เทคโนโลยี (The Technology)
        
การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้กลายมาเป็นสิ่ง ที่ท้าทาย เนื่องมาจากการเติบโตอย่างเร็วรวดของ สื่อ/เครื่องมือ/โปรแกรม ที่เกี่ยว ข้องหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น ห้องสนทนา (Chat rooms) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กระดานข่าวแบบฟอรั่ม (Forum) ซึ่งมีการจัดหัวข้อให้ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเข้าค้นคว้าบนอิน เทอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่สูงและสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การคัดสรร เทคโนโลยีควรขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของโครงการออน ไลน และควรคัดเลือกโดยยึดหลักให้ใช้งานง่าย (User Friendly) เชื่อถือได้ (Reliable) เข้าถึงได้ (Accessible) และลงทุนได้ (Affordable) ผู้สอนที่หลงไหลเทคโนโลยีมักจะชอบใช้สิ่งใหม่ๆ ที่ดูท้าทาย เช่น ภาพสวยงามขนาดโตที่แสดงผลช้า และบดบังกระบวนการ เรียนมากกว่าที่จะส่งเสริม จึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีโดยเน้นที่สามารถช่วย ในการถ่ายทอดเนื้อหารายวิชาได้ดีที่สุดก่อนเสมอ
        
การใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จ จึงขึ้นอยู่กับลักษณะ สำคัญคือ ความง่ายในการใช้ความเป็นเครื่องมือส่งผ่านที่แยกส่วนกับ เนื้อหาและการเรียนการสอนได้อย่างไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้จะมั่นใจและรู้ได้ จากความรู้สึกของครู/ผู้อำนวยคอร์ส เมื่อเริ่มเรียนรู้ใช้งานก่อนที่จะพัฒนา รายวิชา และจากการปฐมนิเทศผู้เรียนให้คุ้นเคย และใช้เป็นก่อนเริ่มการ เรียนการสอน อีกจุดหนึ่งของการเลือกใช้เทคโนโลยี จะอยู่ที่การเตรียมความ พร้อมตํ่าสุดในการใช้ เช่น เรียกร้องเพียงแค่การมีโมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เท่านั้น (ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนมีได้อยู่แล้ว)
        
ความเสมอภาคหรือพร้อมในการเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ ต้องคำนึงถึงเสมอในการออกแบบการสอนทางไกล และท้ายที่สุดสิ่งที่พึง ระวังและต้องคำนึงถึงเสมอคือ การเตรียมพร้อมแก้ปัญหาทางเทคนิคและ เทคโนโลยี ในเวลาที่ระบบรวนและไม่ทำงานตามปกติ ทั้งๆ ที่ องค์ประกอบ อื่นๆ เช่น ผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตร ดีหมดแล้ว เพื่อไม่ให้เทคโนโลยีกลายมา เป็นอุปสรรค ที่ก่อกวนกระบวนการเรียนการสอนนั่นเอง

ที่มา : http://www.edu.ku.ac.th

หมายเลขบันทึก: 204998เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท