เรื่องน่ารู้ของมะม่วงหิมพานต์


มหัศจรรย์มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์

 

ใน

ประเทศไทย มะม่วงหิมพานต์พบได้ทั่วไปในภาคใต้ และมีชื่อเรียกตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้แตกต่างกันไป เช่น กาหยู กาหยี (เข้าใจว่าเป็นคำยืมจากภาษามลายู ซึ่งยืมจากภาษาโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง) ม่วงเม็ดล่อ ม่วงเล็ดล่อ หัวครก เป็นต้น

ประโยชน์

ส่วนผลมะม่วงหิมพานต์นั้นเนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ แต่มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ทั้งดิบและสุก ทางภาคใต้ของไทย นิยมนำผลห่ามแกงส้ม ออกรสเปรี้ยว ส่วนผลดิบ รับประทานกับเกลือเป็นของกินเล่น บางครั้งออกรสฝาดเล็กน้อย ส่วนผลสุกสามารถนำไปหมักเป็นไวน์ น้ำส้มสายชู หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้ ผลมะม่วงหิมพานต์มีส่วนประกอยของแทนนินมาก และเน่าเสียเร็วมาก ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไปจึงมักจะทิ้งผลเทียม หลังจากเก็บเมล็ดออกส่วน urushiol นั้น จะต้องนำออกจากเปลือกเมล็ดสีเขียวเข้มก่อนที่จะรับประทานเนื้อสีขาวนวลข้างใน ยางจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์นี้ในอินเดีย ควาญช้างนำมาใช้เพื่อคุมช้างให้เชื่อง

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว โรยเกลือ เป็นอาหารว่าง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์นับเป็นส่วนประกอบอาหารหลายชนิดในเอเชีย อาจบดให้ป่น เป็นเนยเมล็ดมะม่วงสำหรับใช้ทาขนมปังแบบเดียวกับเนยถั่วก็ได้ เมล็ดมะม่วงนี้มีน้ำมันพืชสูงมาก มีการนำไปใช้ในเนยถั่วอื่นๆ บาง ชนิด เพื่อเพิ่มน้ำมันพิเศษ เมล็ดมะม่วงบรรจุหีบห่อที่พบในสหรัฐอเมริกา ปริมาณ 30 กรัม มีพลังงาน 180 แคลอรี (750 กิโลจูล) โดยมีไขมัน 70%ของเหลวที่มีอยู่ในเปลือก ที่หุ้มเนื้อข้างใน เรียกว่า Cashew Nut Shell Liquid (CNSL) มีประโยชน์หลายประการในด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในราวทศวรรษ 1930 ของเหลวชนิด CNSL นี้ถูกนำไปผ่านกระบวนการคล้ายการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยได้ผลผลิตเบื้องต้นสองอย่าง นั่นคือ ของแข็งบดละเอียด ใช้หุ้มเบรก และของเหลวสีอำพัน ที่ใช้เพื่อสร้างตัวทำให้แข็งแบบฟีนอลคามีน ( phenalkamine) และตัวปรับปรุงคุณภาพเรซิน สารฟีนอลคามีนนั้นเดิมใช้ในการเคลือบอีพอกซีสำหรับตลาดผลิตภัณฑ์ปูพื้นและเกี่ยวกับการเดินเรือ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่มีไฮโดรโฟบิกเข้มข้น และสามารถมีปฏิกิริยาเคมีได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ

ครั้งหนึ่งหัวหน้าเทวดาบนสวรรค์เกิดป่วยขึ้นมา เหล่าเทวดาทั้งหลายต่างพากันไปเสาะแสวงหาผลไม้ชนิดต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำทำยารักษา แต่ก็ยังไม่หาย ตกกลางคืนเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่องค์หนึ่งได้มาเข้าฝันว่า ผลไม้ที่สามารถรักษาอาการป่วยครั้งนี้ได้นั้นมีอยู่ต้นเดียวและมีผลอยู่ลูกเดียวเท่านั้น อยู่ในป่าหิมพานต์ ลักษณะเป็นผลสีเหลือง ต้นเป็นไม้ใหญ่มีใบหนา แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมทั่วบริเวณที่ขึ้นอย่างกว้างขวาง

เมื่อเทวดาทั้งหลายทราบเรื่องก็พากันเหาะไปเก็บมาให้ ครั้นได้กินยาที่คั้นจากน้ำผลไม้ แล้วหัวหน้าเทวดาก็หายป่วยอย่างอัศจรรย์ ฝ่ายต้นแม่ของผลไม้นั้น เมื่อถูกเด็ดลูกไปก็ร้องไห้เสียใจเหมือนแม่ที่ถูกคนอื่นมาพรากลูกไปจากอก จากกนั้นอีกหลายร้อยปีต่อมาจึงออกผลมาอีกผลหนึ่ง และต้นไม้นั้นก็มีอายุมากใกล้จะตายแล้ว ผลของมันจึงคิดว่าถ้าแม่ตาย มันคงอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีต้นแม่คอยหล่อเลี้ยงอาหาร จึงคิดจะคายเม็ดออกมาให้หล่นสู่พื้น เพื่อที่จะได้งอกเป็นต้นพันธุ์ต่อไป

ฝ่ายหัวหน้าเทวดาเห็นผลต้นไม้ที่เคยใช้เป็นยากำลังคายเมล็ดเกือบจะร่วงลงดินอยู่แล้วก็ตวาดไปว่า "อย่าร่วง" ด้วยวาจาสิทธิ์ เมล็ดผลไม้นั้นก็ติดห้อยอยู่กับผลด้านนอกมาตราบทุกวันนี้ คำว่าอย่าร่วงต่อมาได้เพี้ยนไปเป็น "ยาร่วง" ซึ่งเป็นชื่อเรียกมะม่วงหิมพานต์ของชาวใต้ ต่อมาเพี้ยนจากยาร่วงมาเป็น "มะม่วง" และเนื่องจากต้นพันธุ์ดั้งเดิมมีกำเนิดอยู่ในป่าหิมพานต์ จึงมีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า "มะม่วงหิมพานต์"

 

อ้างอิง

Morton, J. F. Fruits of Warm Climates. ISBN 0-9610184-1-0

Fruits of Warm Climates online

Handbook of Energy Crops - Anacardium occidentale L.

Cajueiro - Tropical plant database by Raintree Nutrition

History of the industrial use of Cashew Nutshell Liquid

King's American Dispensatory: Anacardium occidentale (Cashew-Nut)

Research Paper on the Cashew Processing Industry in West Africa

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มะม่วงหิมพานต์
หมายเลขบันทึก: 204980เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท