เพ็ญจันทร์ อรุณรัตน์ : แนวคิดการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)


"แนวคิดการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)"

 

    หลังจากได้รับมอบหมายให้ทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) ทางกลุ่มได้ไปศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ มาตราฐานการเรียนรู้ และศึกษาเนื้อหา ก่อนที่จะตกลงกันทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง What are you doing ? 

 

     โดยเลือก สาระที่ 1: ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 : เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็นและความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์  มีประสิทธิภาพและสุนทรียภาพ และเนื้อหาเกี่ยวกับ Present  continuous ประกอบด้วย
     - คำศัพท์ เช่น play ,read ,sit ,eat ,Sleep ,run, walk, kick,sing,swim
     - โครงสร้างประโยค Subject+v.to be +v.ing
     - คำกริยาที่เติม  ing(v.ing)  เช่น playing, reading, Sitting,eating  ฯลฯ

     ทำไปทำไม หลักการและเหตุผลในการทำ เนื่องจากในเรื่อง Present  continuous เป็นเรื่องนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และนำไปใช้ได้ไม่ถูกต้อง จึงควรหาวิธีที่จะให้นักเรียนได้ฝึกและทบทวนเรื่องนี้ได้บ่อยๆ หรือสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง

     ทำแล้วได้อะไร นอกจากจะได้สื่อประกอบการเรียนการสอนแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญในการสร้างบทเรียนก็เพื่อให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของเรื่อง Present  continuous ได้แก่
     1. รู้คำศัพท์ คือ  play , read ,sit,eat ,Sleep, run, walk,kick,sing,swim
     2. รู้จักโครงสร้างประโยค Present  continuous
     3. รู้จักคำกริยาที่เติม ing(verb+ing)

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)  ของ skinner,Pavlov,Watson
     เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimuli and Response) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงออก (Operant Conditioning) ซึ่งมีการเสริมแรง (Reinforcement) เป็นตัวการ
      ซึ่งทางกลุ่มนำแนวคิดในเรื่องการให้แรงเสริมมาใช้ในบทเรียน เช่นเมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้องอาจมีข้อความชมเชย หรือเสียงตบมือ
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) ของชอมสกี้ (Chomsky)
      แนวความคิดของชอมสกี้ (Chomsky) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึก ภายในที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย 
     ซึ่งทางกลุ่มนำแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลมาใช้ในบทเรียน
โดยให้   นักเรียนสามารถเลือกเข้าศึกษาบทเรียนได้ตามความสนใจและความสามารถของนักเรียน

ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ 

     เป็นการถ่ายโอนความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม ภายในกรอบความรู้เดิมที่มีอยู่ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้น เข้าด้วยกัน การรับรู้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เนื่องจากไม่มีการเรียนใด เกิดขึ้นได้โดยปราศจากการรับรู้ นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยใส่การเรียนรู้และการรับรู้แล้วนั้นโครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก ถึงสิ่งต่างๆ ที่เราเคยเรียนรู้มา
     ซึ่งทางกลุ่มนำแนวคิดในเรื่องการเชื่อมโยงความรู้เดิม เพื่อสร้างบทเรียนให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง และมีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

จิตวิทยาที่นำมาใช้

ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของมาโลน (Malone)
     - ความท้าทาย (Challenge) ควรจะมีกิจกรรมซึ่งท้าทายผู้เรียน กิจกรรมซึ่งท้าทายผู้เรียนนี้จะต้องมีเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับสมกับผู้เรียน (ไม่ยากหรือง่ายเกินไป) 
     - จินตนาการ (Fantasy) เพื่อให้ผู้เรียนจินตนาการเข้ากับเหตุการณ์ของบทเรียนและสามารถนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ได้
    - ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ออกแบบบทเรียนให้ดึงดูดความสนใจ ให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็นที่จะเข้ามาในบทเรียน
     ซึ่งทางกลุ่มนำแนวคิด ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของมาโลน (Malone) มาใช้ สร้างบทเรียนให้มีความ  น่าสนใจท้าทาย ให้นักเรียนได้มีจิตนาการ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

   ทฤษฎีแบบจำลองอาร์คส (ASCS Model) 
    
- ความเร้าความสนใจ (Arouse)
     - ความรู้เกี่ยวพันกับเนื้อหา (Relevant)
     - ความมั่นใจ (Confidence)
     - ความพึงพอใจของผู้เรียน (Satisfaction)
     - การพัฒนาการ 
     ซึ่งทางกลุ่มนำแนวคิด ทฤษฎีแบบจำลองอาร์คส (ASCS Model) มาใช้ สร้างบทเรียนให้มีความน่าสนใจให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     หลักการออกแบบบทเรียน ฃตามแนวคิดของ กาเย่
     1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
     2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
     3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
     4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
     5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
     6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
     7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
     8.ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
     9.สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20495เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอให้ทำให้สำเร็จนะจ๊ะ เอาใจช่วยเสมอ
สวัสดีค่ะ คือกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง CAI อยู่ เลยแวะมาอ่านค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณมากนะคะ

อยากให้เผยแพร่แบบประเมินจากการใช้ทฤษฏีสร้างแรงจูงใจขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท