การวัดผลประเมินผล


การวัดผลประเมินผล

                                   การวัดผลและประเมินผล

         ความหมายและความแตกต่าง ประเภทของการวัดและประเมินผล
1. รู้
2. เข้าใจ
 3. ปฏิบัติได้

      การวัด (Measurement)คือ กระบวนที่เราทำและได้ตัวเลขหรือสัมพันธ์กับตัวเลขมีมาตรฐาน เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง

       ประเมิน (Evaluation) เช่น ครูวิทูลมองเห็นผู้สาวคนนั้นว่า สวย (คนอาจจะประเมินไม่เหมือนกัน ครูมงคล อาจจะมองว่าไม่สวย ขึ้นอยู่กับการมีข้อมูล มาพิจารณา ที่จะตัดสินแทนค่า ว่า สวย / ไม่สวย

        จากข้อความข้างต้น จุดมุ่งหมายการศึกษา ครูเราต้องพัฒนาคนทั้ง 3 ด้าน ทักษะของมนุษย์ที่สูงสุดคือ การประเมินค่า ส่วน การวัด ต้องให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมที่จะวัด
* หมายเหตุ ความสามารถของมนุษย์ไม่สามารถทำหัวข้อเดียวได้ (Majer) นักการศึกษาชาวอเมริกัน

ระดับการวัดมี 4 ระดับแบ่งตามสเกลของข้อมูล (วิจัย)

       1. สเกลนามกำหนด/นามบัญญัติ Nominal Scales = ตัวเลข คุณลักษณะ เฉพาะเจาะจง เช่น เพศ / อาชีพ /เชื้อชาติ/ภาควิชา ฯลฯ (ต่ำสุด)
       2. สเกลเรียงอันดับ Odinal scales = ระดับความคิดเห็น ตำแหน่งทางวิชาการ วัย ตำแหน่งเงินเดือน ฯลฯ
       3. สเกลอันตรภาคชั้นหรือสเกลแบ่งช่วง Interval scales มีหน่วยการวัดเท่ากัน เช่น วัด ผลการเรียนของนักเรียน คะแนน อุณหภูมิ ปีปฏิทิน ฯลฯ
       4. สเกลอัตราส่วน Ratio scales สูงสุด หรือ สมบูรณ์แบบที่สุด เช่น ความยาว
น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง เวลา อายุ ฯลฯ
ประเภทของการวัดผล

       1. วัดความตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก
       2. วัดทางอ้อม คือ ผ่านเครื่องมือ ผ่านทางสมอง
การวัดผลแนวใหม่ เน้นดังต่อไปนี้
       1. กระบวนการและการกระทำ
      2. การจำลองสภาพจริงในชุมชน ความพึงพอใจ ในสภาพจริง
      3. ใช้ความคิด(ใช้สมองนำทางคิดก่อนตัดสินใจและปฏิบัติ)
      4. ความสามารถจริงในการดำเนินชีวิต/ใช้ชีวิต
การวัดผลประเมินผลปฏิสัมพันธ์การสอน
       1. รู้จักคิด
       2. รู้จักทำ
       3. ทำมีปัญหาและรู้จักแก้
ตัวอย่าง
1 + 1 = 2 (แบบเก่า )
มีวิธีหามาจากไหน / วิธีการให้หลากหลาย
การเรียนการสอน วัดทางอ้อม

        1. สติปัญญา(พุทธิพิสัย) ความรู้ ความสามารถ
        2. ความรู้สึก (จิตพิสัย) เช่น สนใจ เจตคติ บุคลิกภาพ
        3. ทักษะ กลไก (ทักษะพิสัย) ปฏิบัติทางเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ ปฏิบัติการในห้องทดลอง
* หมายเหตุ การวัด ดูที่คุณภาพของเครื่องมือ
        การประเมิน นำข้อมูลจากการวัด มาพิจารณา ตัดสินแทนค่า เกณฑ์ใช้ในการประเมิน อิงกลุ่ม อิงเกณฑ์
แนวทางการวัดผลประเมินผล

         1. เพื่อให้ผลที่ถูกต้องทั้ง 3 ด้าน (วัดทางอ้อม)
         2. สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรากำหนดไว้
         3. ต้องเป็นข้อมูล ต้องเป็นจริง (เน้นตรงธรรม)
* หมายเหตุ ต้องการประเมินผลตามสภาพจริง จากกลุ่ม งาน ประเมินหลายด้าน หลายจุด จากสถานการณ์ที่เรากำหนด ให้ หลายวิธี
ประเมินอย่างไรจึงเรียกแท้จริง/สภาพจริง

        1. สังเกต
        2. ชิ้นงาน โครงงาน นิทรรศการ
        3. การสัมภาษณ์
        4. บันทึกข้อมูลผู้เรียน
        5. จากการปฏิบัติ
         ประเมินสภาพจริง ความสามารถแท้ที่เราแสวงหาตามข้อตกลงพร้อมกัน มีการประเมินหลายฝ่าย ให้บุคคลประเมิน  ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน มีส่วนร่วมในการประเมิน = สะท้อนผลตนเอง   เครืองมือวัดและประเมินผล การกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน เช่น มีระดับของคะแนน มีเกณฑ์ ด้านคุณลักษณะ
“ 3 = ดีมาก , 2 = ดี , 1 = พอใช้ ส่วนอีกอย่างลักษณะคือ เครื่องมือ วิธีการ เกณฑ์ เช่น เครื่องมือเป็นแบบทดสอบ วิธีการสังเกต เกณฑ์ระดับ 3 ขึ้นไป ส่วนเครื่องมืออื่นมี แบบสัมภาษณ์ แบบวัดเจตคติ แฟ้มสะสมงาน  เป็นต้น   การวัดผลประเมินผลปฏิสัมพันธ์กับคน(นักเรียน) แบบพิมพ์ต่างๆ  ก็จะไปปรากฏในแบบพิมพ์ต่างๆ ปพ.1 – ปพ.9 ติดตัวนักเรียนไปจนศึกษาต่อและทำงานในช่วงที่ผู้เรียน
          จบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ , จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะได้รับ
เอกสารแบบพิมพ์ ปพ.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน , ปพ.2 ประกาศนียบัตร , ปพ.4 ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ,ปพ.6 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล(สมุดพก) แล้วให้โรงเรียนรายงานผู้สำเร็จการศึกษาในแบบ ปพ.3 ภายใน 30 วันตั้งแต่ที่ได้รับอนุมัติจบหลักสูตรเป็นจำนวน 3 ชุด ชุดที่ 1 เก็บไว้ที่โรงเรียน ชุดที่ 2 รายงานไปที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชุดที่ 3 รายงานไปที่สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ต่อไปตามลำดับครับ

แหล่งอ้างอิงจาก   
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=49768

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 204278เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท