ความเข้าใจในหลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตรท้องถิ่น
เหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
 
     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พุทธศักราช  2542 และแก้ไขเพิ่มเติม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) ได้บัญญัติในเรื่องที่ส่วนกับท้องถิ่นดังนี้
=  มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
=มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ
      การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการ
      เรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง 
      ต่อไปนี้
    
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่
ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ความเป็นมา ของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
     (๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความ
เข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
     (๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการ
          ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
    
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทย
          อย่างถูกต้อง
    
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
= มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง
   การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต
    และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
    ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรค
หนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
=มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
   ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
=มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและ  
   มาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และ
  ระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ 
   การศึกษา ให้เป็นไปตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.     หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้น  พุทธศักราช 2544  ได้กำหนดในเรื่องของท้องถิ่น ชุมชนไว้ดังนี้
=ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับ.....ภูมิปัญญา
   ท้องถิ่น
=ให้สถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดเป็นรายปีหรือรายภาคให้สอดคล้องกับ
   ภูมิปัญญาท้องถิ่น
=การจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญโดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ให้ความสำคัญ
   ต่อความเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
=หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาคนไทย .....มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์
   ภูมิปัญญาท้องถิ่น
=มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี และเมื่อเรียนจบการ
   เรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของสาระการเรียนแต่ละกลุ่ม  สถานศึกษาต้องนำโครงสร้าง
    ดังกล่าวนี้ไปจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา  โดย...คำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.     หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาได้กำหนดเรื่องท้องถิ่นและภูมิปัญญาเข้าสู่ระบบการศึกษาไทยไว้ดังนี้
= เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นไปตามแนวการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการ
    เรียนรู้ย่างแท้จริง  สถานศึกษา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้น
    พื้นฐานควนดำเนินการ.....
    àจัดให้มีเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่าง
          สถานศึกษาท้องถิ่น
àจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา  สถานศึกษาต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่น
àหลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาสถานศึกษา  ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการ
     พัฒนาที่ยั่งยืนในระดับ.....ท้องถิ่น
= หลักสูตร
     àการกำหนดสาระการเรียนรู้หัวข้อเรื่องในท้องถิ่นสนองตอบความต้องการของชุมชน
àสถานศึกษาต้องนำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระต่าง ๆ จากหลักสูตร
     การศึกษาขั้นพื้นฐาน  วิเคราะห์  กำหนดสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     เป็นรายปีหรือรายภาค ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
     ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย  พิจารณากำหนดวิธีการจัดการ
     เรียนการสอน  สื่อการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลพร้อมทั้งพิจารณา
= ภูมิปัญญาท้องถิ่น
= แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 204189เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2008 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท