หลักสูตร


การนำหลักสูตรไปใช้

การนำหลักสูตรไปใช้

หลักสูตร  หมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับมวลประสบการณ์ที่เขียนขึ้นมาจากความมุ่งหวังของผู้จัดทำ

หลักสูตรที่ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งแนวทางการวัดผลและประเมินผล  เพราะฉะนั้นในการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตรโดยมีบทบาทแตกต่างกันแต่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน

บทบาทของบุคลากรในการใช้หลักสูตร (สงัด  อุทรานันท์ 2532: 275-277)

นักวิชาการ ซึ่งได้แก่ศึกษานิเทศก์หรือนักวิชาการที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตร มีบทบาท

ในการส่งเสริมใช้หลักสูตรดังนี้

ช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรและดำเนินการเรียนการ

สอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

ทำการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในหน่วยงานที่ใช้หลักสูตร

ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการใช้หลักสูตรโดยการให้บริการวัสดุหลักสูตร

และให้กำลังใจแก่ผู้นำหลักสูตรไปใช้

ผู้บริหารโรงเรียน ควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หลักสูตร  ดังนี้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่โรงเรียนใช้อยู่อย่างชัดแจ้ง

ให้บริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ แก่ครู

ดำเนินการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

กระตุ้นและส่งเสริมครูในการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง เช่น จัดการฝึกอบรม หรือจัดประ

ชุมสัมมนา เป็นต้น

ให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่

ครูคนอื่น ๆ 

หัวหน้าหมวดวิชาหรือหัวหน้าสายวิชา ควรจะดำเนินการส่งเสริมการใช้หลักสูตรดัง

ต่อไปนี้

ศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบอย่างชัดเจน

ช่วยวางแผนและจัดทำแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิด

ชอบ

จัดหาวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนและให้บริการแก่ครูคนอื่นที่อยู่ภายในสาย

เดียวกัน

ดำเนินการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองอย่าง

สม่ำเสมอ 

ทำการประสานงานการใช้หลักสูตรกับหมวดวิชาอื่นหรือสายวิชาอื่นเพื่อให้การใช้หลัก

สูตรภายในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ครูผู้สอน ครูผู้สอนในฐานะเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรง มีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้การใช้

หลักสูตรภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ได้ดังนี้

ทำการศึกษาหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองใช้อยู่อย่างชัดแจ้ง

ทำการปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของ

ท้องถิ่น

ทำการสอนให้ถูกต้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ใช้อยู่

พยายามคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมหรือวิธีการที่ประสิทธิภาพสำหรับการใช้หลักสูตรที่

ตนเองเป็นผู้ใช้

บุคลากรอื่นๆ ซึ่งได้แก่ บรรณรักษ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นักวัดผล นักแนะแนว

ฯลฯ ต่างก็มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร โดยการกระทำในสิ่งต่อไปนี้

ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างเต็มที่

ให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างเต็มที่

 

หากบุคลากรทุกฝ่ายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ก็พอเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าการใช้หลักสูตรจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีปัญหาเกิดขึ้นน้อย อันจะช่วยให้นำหลักสูตรประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้มากที่สุด 

บทบาทของบุคลากรในการใช้หลักสูตร (ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์, 2539: 142-147)

      การนำหลักสูตรไปใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน รวมทั้งอาศัยการสนับสนุนจากบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องกระตุ้นยั่วยุ สนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่โรงเรียนและครู ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ

      1. ผู้บริหารโรงเรียน

มีบทบาทและแนวปฏิบัติดังนี้

      1.1 ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรให้กระจ่าง เพื่อจะได้ให้คำแนะนำแก่ครูผู้สอนและวางแผนในการเตรียมการและดำเนินการใช้หลักสูตร

      1.2 จัดเตรียมบุคลากรโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุมชี้แจง การฝึกอบรม การประชุมสัมมนา เป็นต้น เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตร และการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรมีโอกาสไปฝึกอบรมดูงานที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ

      1.3 จัดครูเข้าสอนให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และประสบการณ์ เพื่อจะได้จัดมวลประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      1.4 ให้บริการและสนับสนุนการสอนของครู โดยการจัดทำ จัดหาเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน และการจัดสภาวะแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน เช่น การจัดห้องสมุดให้อยู่ในสภาพที่ครูและนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป็นต้น โดยเน้นถึงคุณประโยชน์ และความสะดวกสบายในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนเป็นหลัก

      1.5 ดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เทคนิควิธีและเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

      1.6 ให้ขวัญและกำลังใจ ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเหมาะสมและยุติธรรม โดยยึดระบบคุณธรรมเป็นสำคัญ

      1.7 ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรแก่นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองและคนในชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีต่อหลักสูตร และรับความร่วมมือที่ดีจากบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียน โดยใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย

      1.8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม 

         2. ครูผู้สอน

มีบทบาทและแนวปฏิบัติดังนี้

      2.1 ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรให้กระจ่างและประชุมวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อพิจารณาหาจุดประสงค์ของหลักสูตรและเนื้อหาวิชาในแต่ละวิชา

ตลอดจนเพื่อพิจารณาวางแผนการใช้แผนการสอนให้เหมาะสม

      2.2 ทำความรู้จักผู้เรียน และวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน เช่น ความรู้ ความสามารถ และปัญหาของผู้เรียน เพื่อหาทางพัฒนาผู้เรียนทั้งชั้นและรายบุคคล

      2.3 ศึกษาแผนการสอน คู่มือครูให้เข้าใจอย่างแจ่มชัดก่อนทำการสอน

      2.4 จัดห้องเรียนที่มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนการสอนและเตรียมสื่อการสอนที่จะใช้ในการสอนแต่ละครั้งก่อนสอน

      2.5 ศึกษาและลงมือปฏิบัติการสอนด้วยกลวิธีหลากหลายให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงมากกว่าการฟังและการอ่านเพียงอย่างเดียว

      2.6 พัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่ ๆ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและเกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

      2.7 จัดสอนซ่อมเสริมแก่ผู้เรียนที่มีความจำเป็นต้องเรียน

      2.8 ตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ โดยใช้เทคนิควิธีและเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อหาทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน

      2.9 ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โรงเรียนและผู้เรียน 

        3. ศึกษานิเทศก์

มีบทบาทและแนวปฏิบัติดังนี้

      3.1 จัดอบรมหรือแนะนำครูเพื่อเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรและการดำเนินการเรียนการสอน

      3.2 เป็นที่ปรึกษาของครูในกรณีที่มีปัญหาทางด้านวิชาการและจัดให้มีการประชุมเพื่อแก้ปัญหา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสวงหาวิธีการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพเป็นครั้งคราวในระดับต่าง ๆ

      3.3 เป็นผู้ประสานงานทางวิชาการระหว่างโรงเรียนกับกรมกองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      3.4 เสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ครูมีกำลังใจในการทำงานและพัฒนาวิชาชีพของตน

      3.5 นิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนของครู

      3.6 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนให้ผู้สนใจได้เข้าใจและมีการขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ

      3.7 จัดให้การบริการต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น ติดต่อวิทยากรมาให้ความรู้แก่ครูผู้สอน หรือศึกษานิเทศก์เป็นวิทยากรเอง เป็นต้น 

        4.  ผู้ปกครองและชุมชน

      ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรดังนี้

4.1ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการจัดหาจัดทำวัสดุอุปกรณ์และสื่อประกอบการเรียนการ

สอนต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนของครูและผู้เรียน

4.2 ช่วยประชาสัมพันธ์สนับสนุนและเผยแพร่ความรู้เรื่องหลักสูตรแก่บุคคลที่ยังไม่เข้าใจใน

ท้องถิ่น

4.3 แสดงความสนใจในการเรียนของผู้เรียนด้วยการซักถามผลการเรียน และช่วยเสนอแหล่ง

ค้นคว้าเพิ่มเติม

4.4 ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเมื่อโรงเรียนขอความร่วมมือมา เช่นเป็นวิทยากรพิเศษให้

กับโรงเรียนหรือให้การสนับสนุนในด้านสถานประกอบการเป็นต้น 

(http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1031484133-Portfolio%203.doc)

นอกจากนี้ในการดำเนินการใช้หลักสูตรจะต้องมีคณะกรรมการที่เรียกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะทำหน้าที่ดังนี้

1.  กำหนดจุดมุ่งหมายของโรงเรียน(นอกเหนือจากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยตรง)

2.  จัดทำแผนหลักสูตรของโรงเรียน  โดยมีหลักสูตรของกระทรวงศึกษาอธิการเป็นแม่บท

3.  ร่วมกันกำหนด  จัดหา  และเตรียมสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ที่จะใช้ในแผนการใช้หลักสูตรนั้น

4.  กำหนดแนวปฏิบัติการเรียนการสอนตลอดแผน

5.  ร่วมกันกำหนด  จัดหาหรือส่งเสริมการให้ได้มาซึ่งสื่อการเรียนการสอนอย่างละเอียดแต่ละวิชาและการสอนแต่ละชั่วโมง

6.  จัดหาแหล่งเสริมความรู้ประสบการณ์การเรียนการสอน  เช่น ห้องสมุดศูนย์กลางการเรียนรู้  หนังสือ  วารสาร  โสตทัศนูปกรณ์  เป็นต้น

7.  การทำโครงการปรับปรุงคุณภาพครูประจำการ

      หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นการปิดช่องว่างระหว่างแผนการสอนกับการสอนในห้องเรียน  หรือการนำหลักสูตรไปใช้ในห้องเรียน  ซึ่งจะทำให้การนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การดำเนินงานในขั้นนี้โรงเรียนจะได้คู่มือการใช้หลักสูตรที่ละเอียดกว่าคู่มือหลักสูตรที่ได้มาจากระดับกระทรวง 

 (http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1027157485-project3.doc)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการนำหลักสูตรไปใช้โดยมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องเกิดจากการร่วมมือของบุคคลที่กล่าวข้างต้น

แหล่งอ้างอิง

นายไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. แนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1031484133-Portfolio%203.doc

. การนำหลักสูตรไปใช้.  [ ออนไลน์  ].  เข้าถึงได้จาก: http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1027157485-project3.doc

 




 

 

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 203941เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2008 03:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท