การพัฒนาการศึกษา


การพัฒนาการศึกษา

การพัฒนาการศึกษา

ประสิทธิ์ เขียวศรี  

การพัฒนาการศึกษาตามแนวทางของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) และแนวคิดของนักวิชาการมีเหตุผลและความจำเป็น สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางการศึกษา 13 ประการ กล่าวคือ

1.    เด็กในก่อนวัยเรียนจำนวนมากอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ

2.    มีเด็กวัยเรียนจำนวนมากที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

3.    ประชากรวัยทำงานมีการศึกษาในระบบโรงเรียนเฉลี่ยต่ำมากคือ 3.8 ปี

4.    กำลังแรงงานร้อยละ 80 มีการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา

5.    เยาวชนอายุ 18-21 ปี ได้รับการศึกษาขั้นปริญญาตรีเพียงร้อยละ 18.7   

6.    คุณภาพการศึกษาด้อยลง

7.    กระบวนการเรียนการสอนมุ่งท่องจำ มากกว่าการคิดวิเคราะห์

8.    คุณธรรมจริยธรรมในสังคมเสื่อมทรามลง

9.    สื่อและเนื้อหาสาระการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

10.           วิชาชีพครูตกต่ำ

11.           การผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
10 เท่า 

12.           ระบบการบริหารจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจ และขาดประสิทธิภาพ

13.           รูปแบบการศึกษาไม่หลากหลายโดยรัฐเป็นผู้ผูกขาดการจัดการศึกษามากเกินไป

 

การพัฒนาการบริหารการศึกษา

ก่อนที่จะพัฒนาการบริหารการศึกษา สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือต้องระบุหรือกำหนดกรอบให้ได้อย่างถูกต้องเสียก่อนว่า งานใด หรือ ภารกิจใด ที่เป็นการบริหารการศึกษา แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่า งานดังกล่าว มีระบบ กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการบริหารจัดการอย่างไร และจะพัฒนาได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 203674เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท