การนิเทศ..โดยครูแก้วตา ม.บูรพา


การนิเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา

                งานนิเทศการศึกษาที่ผู้บริหารโรงเรียนอาจทำได้

1.   การปฐมนิเทศครูใหม่  งานปฐมนิเทศครูใหม่ เพื่อช่วยให้ครูได้คุ้นกับโรงเรียน และงานในหน้าที่ใหม่ที่จะต้องทำ โดยจะให้ครูใหม่มีความรู้ในเรื่องของปรัชญา วัตถุประสงค์ของโรงเรียน ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน การจัดสายงานของฝ่ายบริหาร กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน เช่น การแนะแนวกิจกรรมเสริมหลักสูตร ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ครูและนักเรียนจะต้องปฏิบัติตาม สวัสดิการต่างๆ ที่ครูจะได้รับ สภาพในการทำงาน บุคคลต่างๆ ที่ครูจะต้องเกี่ยวข้องด้วย การวางโครงการสอน การทำบันทึกการสอน บริการต่างๆในโรงเรียนที่ครูจะนำมาใช้ประกอบการสอน เช่น บริการโสตทัศนศึกษา บทบาทที่ครูใหม่จะต้องทำ การให้ความรู้แก่ครูใหม่ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น อาจทำได้ด้วยการบรรยาย การสนทนาซักถาม การอภิปราย หรือแจกเอกสารที่ได้เตรียมพิมพ์ไว้แล้วให้ครูอ่าน

2.   การจัดประชุมก่อนเปิดเรียน การประชุมนี้อาจทำได้หลายอย่าง เช่น ประชุมเพื่อชี้แจงถึงงานที่จะต้องทำเมื่อเปิดเรียนแล้วและขอความเห็นจากครู ชี้แจงโครงการใหม่ๆ ที่ครูยังไม่ทราบ หรือยังเข้าใจไม่ชัดเจน ประชุมอบรมให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่ครูเพื่อที่จะได้นำไปใช้เมื่อเปิดเรียนแล้ว เช่น  หน้าที่ของครูฝ่ายปกครอง หน้าที่ของครูโฮมรูม การแนะแนว การเป็นที่ปรึกษาของกลุ่มกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ประชุมครูตามสายวิชาหรือสายชั้น เพื่อร่วมกันทำประมวลการสอน หรือโครงการสอนเป็นต้น

3.   การสังเกตการสอนในชั้นเรียน เพื่อช่วยเหลือครูทั้งในด้านเนื้อหาวิชาที่สอน การใช้อุปกรณ์ การวัดและประเมินผล การควบคุมชั้นเมื่อมีปัญหา ให้คำแนะนำปรึกษาเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น การสังเกตการสอนนั้นควรทำหลายครั้ง เพื่อที่จะได้ทราบว่าครูได้ปรับปรุงตนเองตามที่นิเทศไปแล้วมากน้อยเพียงใด ในเรื่องนี้บุคลิกลักษณะและมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะแสดงให้ครูเห็นว่าการสังเกตการสอนนั้นทำไปเพื่อช่วยเหลือครูอย่างแท้จริง

4.   การเยี่ยมชั้นเรียน ถ้าปรากฏว่าหลังจากที่ได้ทำการนิเทศให้คำแนะนำต่างๆแล้ว การสอนของครูยังไม่ดีขึ้น ควรที่จะได้จัดบริการให้ครูได้มีโอกาสไปเยี่ยมชั้นเรียนอื่นๆ อาจเป็นโรงเรียนเดียวกันหรือโรงเรียนอื่นๆ ก็ได้ เพื่อครูจะได้มีโอกาสสังเกตว่าการสอนในระดับเดียวกันนั้นครูอื่นๆประสบปัญหาใดบ้าง เหมือนกันหรือต่างกัน และครูอื่นได้ดำเนินการสอนและแก้ปัญหาอย่างไร การนิเทศโดยวิธีนี้อาจทำให้ครูเกิดการเรียนรู้และได้ประสบการณ์ใหม่ ๆเพื่อนำมาปรับปรุงการสอนของตนให้ดีขึ้นได้

5.   การสาธิตการสอน ควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีโอกาสดูการสาธิตการสอนตามสมควร ทั้งนี้เพื่อให้ครูได้เห็นขั้นตอนในการดำเนินการสอน และวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูคนใดมีความสามารถในการสอน มีความตั้งใจ สนใจ มีไหวพริบดี แนะง่าย อาจวางแผนการสอนร่วมกับคนนั้น แล้วให้สาธิตการสอนให้เพื่อนครูดู หรืออาจเชิญครูจากโรงเรียนอื่นมาสาธิตการสอนก็ได้ หลังจากที่ได้ชมการสาธิตการสอน ควรเปิดโอกาสให้ครูได้อภิปรายซักถามข้อข้องใจได้อย่างกว้างขวาง

6.  การนิเทศด้วยการให้คำปรึกษาหารือเป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่ วิธีนี้ควรแจ้งให้ครูทราบว่า เมื่อครูมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการสอน การบริการหรือการจัดกิจกรรมใดๆ ก็ตามอาจมาปรึกษาหารือกับผู้บริหารโรงเรียน ควรจัดตารางเวลาที่ว่างไว้เป็นประจำ ให้ครูได้มีโอกาสเข้าขอคำปรึกษาได้จริงๆ

7.     การนิเทศด้วยการจัด Work shop แบบต่างๆ เช่น

     7.1 จัดให้มีการประชุมครูทั้งโรงเรียน

     7.2 จัดเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามความสนใจของครู อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องวิธีสอนต่างๆเป็นต้น

                         7.3 การจัดประชุมอบรมในระหว่างฤดูร้อนใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์

8.    การอบรมครู จัดการอบรมครูในโรงเรียนของตนเองหรือร่วมกับโรงเรียนใกล้เคียง เรื่องที่อบรม เน้นเรื่องของการสอน วิทยาการใหม่ๆ การนำผลวิจัยมาใช้ในการสอนเป็นต้น

9.   การจัดสัมมนาครูโรงเรียนใกล้เคียงกัน อาจร่วมกันจัดสัมมนาครูโดยมีการสัมมนากันในปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอน การพัฒนานักเรียน การใช้อุปกรณ์หรืออื่นๆ ก็ได้

 

ผู้บริหารโรงเรียนอาจจะเลือกใช้วิธีการนิเทศวิธีใดวิธีหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือจะใช้ทุกวิธีที่กล่าวมา แต่จะต้องคำนึงถึงสภาพปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูเป็นสำคัญ ทั้งนี้ต้องใช้ความเป็นกัลยาณมิตรในการนิเทศ ซึ่งในการนิเทศการสอนนั้น มีทั้งการนิเทศที่มีรูปแบบและการนิเทศที่ไม่มีรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารควรมีหลักการในการนิเทศ จึงจะทำให้การนิเทศมีประสิทธิภาพ

 

หลักการนิเทศภายในโรงเรียน

                                หลักการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนมีหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสรุปได้ดังนี้

1.  มีความถูกต้องตามหลักวิชา หมายถึง การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่วางไว้ตามสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริงและกฎเกณฑ์ที่แน่นอน

2.  เป็นวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำงานอย่างมีระบบ มีวิธีการในการศึกษา ปรับปรุงและประเมินผล โครงการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน จะเกิดมาจากการวิเคราะห์ การรวบรวมข้อมูลและสรุปผลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือได้

3. เป็นประชาธิปไตย หมายถึง จะต้องเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน และรู้จักใช้ความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานนั้นดำเนินไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

       4. เป็นการสร้างความเชื่อมั่น หมายถึง เป็นการเสริมสร้างความสามารถของครู

เพื่อให้มีความมั่นใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

5. เป็นการพัฒนางาน หมายถึง เป็นการพัฒนาวิชาชีพครูมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

         6.เป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง หมายถึง การทำงานด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความไว้วางใจ และยอมรับซึ่งกันและกัน

 

การนิเทศช่วยครูได้อย่างไร

                                การนิเทศการสอนที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการสอน

      2. ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนได้

3. ช่วยให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการสอนกับเพื่อนครู

4. การนิเทศช่วยกระตุ้นให้ครูมีการวางแผนการสอนและพัฒนาการสอน

5. การนิเทศเป็นกระบวนการที่ท้าทายให้ครูวิเคราะห์ผลการสอนของตนเองและเสริมสร้าง

คำสำคัญ (Tags): #การนิเทศ
หมายเลขบันทึก: 203348เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท