ภาพความเข้าใจ (Mental Model) ใครบางคน


เมื่อใช้ Mind' eye มองลึกเข้าไป...สิ่งสำคัญที่มองเห็น คือ เจตนาที่ดีงาม..เพื่อปวงชน.."คนชายขอบ"

          จากการถูกทวงถามที่มีเกิดขึ้นในเวทีเสมือน..ที่เกิดการ ลปรร. ในประเด็นที่ว่า "Mental Model"  ของคุณชายขอบเป็นอย่างไร ตามที่เคยวิพากษ์เชิงวิเคราะห์ ใน “ชายขอบ” กับ KM ใน สสจ.พัทลุง #1:  เริ่มต้นแบบ “งง-งง-งง” นั้น...จึงอยากบอกเล่า...แลกเปลี่ยนโดยใช้ฐานคิดจากเรื่อง Cognitive Process ในการเดินเรื่องเล่าครั้งนี้นะคะ...(ยิ้ม..ยิ้ม) (ได้ขออนุญาตจากคนต้นเรื่องแล้วนะคะ)

 

 

         

          หากมองที่กระบวนการทางปัญญาที่เกิดขึ้น...อยากบอกได้ว่าคุณชายขอบเป็นผู้ที่มีความล้ำลึกอย่างมากทางความคิดที่มีการบูรณาการศาสตร์หลายๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน...นั่นอาจเรียกได้ว่ามีการ "ตกผลึก" ทางความคิด...เมื่อใดที่คุณชายขอบมีสิ่งสงสัย..แล้วรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส (sensory) ก็จะเกิดความสงสัยทางปัญญาหรือที่เรียกว่า เกิดการเสีมสมดุลทางปัญญา ดังนั้นเพื่อให้เกิด Cognitive equilibium (เกิดความสมดุลทางปัญญา)...จำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานเกิดขึ้นในปัญญา สิ่งที่ "คุณชายขอบ"..เรียนรู้และเกิด นั่นคือ พยายามเชื่อมข้อมูลใหม่ที่รับเข้ามา..เชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในปัญญา ที่สั่งสมทั้งจากประสบการณ์เดิม..และที่เป็นตัวความรู้เดิมต่างๆ ที่มี  แต่หากเมื่อใดก็ตามที่เชื่อมโยงไม่ได้ ซึ่งอาจมาจากที่ไม่มีฐานข้อมูลเดิม..สิ่งที่ "คุณชายขอบ" มักเลือกทำ...คือ..การเสาะแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยเป็นในรูป self-learning หรือการ ลปรร. กับแหล่งความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม จากนั้นจึงนำมาเชื่อมต่อเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย...และสร้างเป็นภาพความเข้าใจ...เกิดขึ้น และ Representation ออกมา...ดั่งที่เรามองเห็นผ่านได้จาก...ผลงานบันทึกที่เขียน..หรือแนวคิดที่สื่อ...และอาจเรียกสิ่งใหม่ที่ได้นี้ว่า "คุณชายขอบ" เกิด  Knowledge Construction

 

 

          และหากมองในฐานแนวคิดของ Schema ก็ยิ่งเกิดความล้ำลึกอย่างมาก เพราะผู้บันทึกมองว่า "คุณชายขอบ" น่าจะมี Schema ที่เยอะและแตก...แขนงออกไปมาก หรืออาจอธิบายบนฐานคิดของเรื่อง Thinking Process หรือ Information Processing ก็ได้อีกอย่างล้ำลึก...หากมีโอกาสคราวต่อไปอาจขออนุญาตคนต้นเรื่องนี้..วิพากษ์เชิงวิเคราะห์อีกครั้ง...(ยิ้ม)...สำหรับบันทึกนี้อาจคงพอตอบข้อสงสัยใครบางคนได้ว่า...Dr.Ka-poom มองเห็นอะไร..ทางปัญญาของคุณชายขอบ..และเมื่อใช้ Mind' eye มองลึกเข้าไป...สิ่งสำคัญที่มองเห็น คือ เจตนาที่ดีงาม..เพื่อปวงชน.."คนชายขอบ"

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 20311เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เพิ่มเติม...คะ

ดูเหมือนเขียนมาเพื่อ "ชื่นชม"

และก็ "ชื่นชม"....จริง ในสิ่งที่พบ และ "ทึ่ง"

และรูปเหล่านี้...มีเกิดในทุกคน...ทุกเพศ..ทุกวัย..

แตกต่างกันไป...ตาม ความเป็น "ปัจเจคบุคคล"

Mental Model เป็นสิ่งที่ "มนุษย์" สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ หรือบางครั้งอาจเรียกว่า รูปแบบที่ใช้ในการทำความเข้าใจ หรือเป็นการสร้างรูปแบบที่ใช้ในการทำความเข้าใจ  จะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งเราจะรับรู้ด้วยจิตใจในขณะที่มันเคลื่อนไหว

     อ่านครั้งนี้เป็นครั้งที่ซ้ำ เพราะตอนตั้งคำถาม "Mental Model คุณชายขอบ เป็นอย่างไร" นั้น เป็นการตั้งคำถามแบบ "โง่ ๆ ซื่อ ๆ" ไม่เข้าใจอะไร สักเท่าไหร่ เมื่อเจอคำอธิบายก็ "ทึ่ง" คนสังเกตและอธิบายทำได้ "สุดยอด ของการอธิบาย" นี่แหละที่ผมเคยพูดว่า เมื่อผมอ่านและเขียนบันทึกใน GotoKnow.org มาก ๆ เข้า ก็ยิ่ง "โง่" ลงทุกวัน เพราะพบว่าที่ยังไม่รู้ และคนอื่นรู้ หรือลองปฏิบัติจนได้ผลดี แล้วสื่อออกมาให้ร่วมรู้ มีอีกเยอะมาก เยอะจริง ๆ ไม่ได้ดูถูกตัวเอง แต่เพียงรู้ตัวตนของตัวเองว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ
     ขอบคุณ "เพื่อนที่รักที่ดีคนหนึ่ง" ที่พยายามเป็นกระจกสะท้อนบางอย่างออกมา เชื่อว่าสิ่งนี้ เราจะไม่มีทางรู้และเข้าใจตนเองได้เองอย่างดีนัก...ขอขอบคุณอีกสักครั้ง
เข้ามาอ่าน หลายครั้งเห็นเปลี่ยนหัวเรื่องหลายหน 
คนอื่นเป็นกระจกสะท้อนให้กับเรา ดีกว่าเรามองตัวเอง 
จริงไหมคะ

"คุณดอกหญ้า"

ใช่เลยคะ..การก้าวเดิน..แม้เรื่องใดใด

ทำให้เราเกิดการเรียนรู้..และเปลี่ยนแปลง

ทุกอย่างมีเหตุ...

และจึงมีผลตามมา...

ขอบคุณนะคะ...ที่"เข้ามาอ่าน หลายครั้งเห็นเปลี่ยนหัวเรื่องหลายหน "...

นั่นย่อม...มีคนเฝ้ามอง...

"คุณชายขอบ"

บางครั้งหากแม้เรา..อาจมองว่า..เราเข้าใจ "ตน"
แต่ในบางครั้ง..."เรา"...จำต้องใช้ผลจากการ "สะท้อน"
เพื่อหันกลับมา...ทบทวน "ตน"...อีกครั้ง
ว่า "คน"...มอง "ตน"...
ไม่ใช่ "แก้ไข"...เพื่อการแก้ตัว
แต่คือ..ใช่ "แก้ไข"...เพื่อ.."การพัฒนา" ---> "ตน"

สรุปย่อบทเรียนเกี่ยวกับรูปแบบความคิด

รูปแบบความคิด (Mental Model) คือ ความเชื่อ ภาพลักษณ์ และข้อสมมติฐานที่พวกเรายึดมั่นอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวพวกเราเองโลกของเรา และองค์กรของเราและสิ่งที่เราปรับตัวอย่างเหมาะสมกับสิ่งเหล่านี้

วิธีการที่พวกเรามองโลกมีผลกระทบต่อประสบการณ์ของเรา เมื่อวิธีการที่เรามองโลกเปลี่ยนแปลงไป เราก็อาจเปลี่ยนการกระทำของเราและได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิมอย่างมาก

7 หลักการเกี่ยวกับรูปแบบความคิด:

1. ทุกคนมีรูปแบบความคิด

2. รูปแบบความคิดกำหนดสิ่งที่เราเห็นและวิถีทางที่เราเห็น

3. รูปแบบความคิดนำทางถึงวิถีทางที่เราคิดและปฏิบัติ

4. รูปแบบความคิดทำให้พวกเรายึดถือการอนุมานของเราเป็นข้อเท็จจริง

5. รูปแบบความคิดจะไม่สมบูรณ์เสมอ

6. รูปแบบความคิดมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เราได้รับ และส่งผลกลับในการเสริมแรงให้กับรูปแบบความคิดเอง

7. รูปแบบความคิดมักจะดำรงอยู่ยาวนานกว่าประโยชน์ของมัน

นำมาฝากจาก หนังสือ Shadows of the Neanderthal เงาแห่งยุคหิน (การทำความกระจ่างในความเชื่อที่จำกัดองค์กรของเรา)

โดย David Hutchens ภาพประกอบโดย Bobby Gombert

1 ใน 5 เล่มจาก หนังสือชุด วินัย 5 ประการ สำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ฉบับนิทาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท