28. โรงเรียนวิถีพุทธ


โรงเรียนวิถีพุทธ

   โรงเรียนวิถีพุทธ

โรงเรียนวิถีพุทธ  หมายถึง โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้  หรือ           ประยุกต์ใช้  ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการผู้เรียนได้เรียนรู้ได้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญาและมีวัฒนธรรม  เมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต

ทำไมต้องจัด โรงเรียนวิถีพุทธ

        ดร.สิริกร  มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้กรอบความคิดและการปฏิบัติไว้ดังนี้

1.       วิถีพุทธ เป็นวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยส่วนใหญ่แต่เดิมมา

2.       พุทธธรรมมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาเข้าใจชีวิตแท้จริงและสามารถดำเนินชีวิต(กิน อยู่ ดู ฟัง)ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.       พุทธธรรมมีระบบการศึกษา 3 ประการคือ ไตรสิกขา หรือศีล  สมาธิ  ปัญญา  ซึ่งเป็นการฝึกอบรม ที่ครอบคลุมการ  ดำเนินชีวิตทุกด้านและบูรณาการสู่การพัฒนาชีวิตที่สมบูรณ์ได้

 ลักษณะ โรงเรียนวิถีพุทธเป็นอย่างไร

  • สถานศึกษาจัดพัฒนาผู้เรียนตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้เกิดปัญญาวุฒิธรรม  4  ประการคือ

1.       สัปปุริสสังเสวะ  คือการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีสื่อที่ดี

2.       สัทธัมมัสสวนะ คือ เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตรที่ดี

3.       โยนิโสมนสิการ คือ มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี

4.       ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  คือ ความสามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องตามธรรม

  • สถานศึกษาพัฒนางานในด้านต่าง ๆ คือ

           ด้านกายภาพ

                จัดสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบและส่งเสริมการบริหารจิตเจริญปัญญา

           ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต

            จัดกิจกรรมที่บูรณาการไตรสิกขา โดยเน้น การกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะรู้คุณค่าแท้

            ด้านการเรียนการสอน

            มีหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างชัดเจนต่อเนื่อง

            ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ

           ส่งเสริมวัฒนธรรม  แสวงปัญญา มีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันทุกคน พยายามปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น

            ด้านการบริการจัดการ

            ร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชน พัฒนานักเรียนและพัฒนาซึ่งกันและกันตามวิถีชาวพุทธ  ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถจัดจุดเน้นหรือลักษณะเฉพาะของตนเองได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาหรือบูรณาการการพัฒนากับกิจกรรมต่างๆ เช่น การพัฒนาคุณธรรม 4 ประการ (ฆราวาสธรรม)ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แก่ สัจจะ ทมะ จันติ  จาคะ

ที่มา  :    นายยอดทอง  จันดาวัลย์     ศึกษานิเทศก์ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3

หมายเลขบันทึก: 202888เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2008 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท