มะรุม


http://www.formumandme.com/article.php?a=813

 http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/01/J6210140/J6210140.html

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1901.msg14165

http://gotoknow.org/blog/pundalert/77516

http://tdr.chombung.com/modules.php?name=News&file=article&sid=72&mode=thread&order=0&thold=0

โครงการต้นไม้เพื่อชีวิต

pic_no_1462_pic_no_1135_p_o3.gifมะรุมไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง300ชนิดองค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้น
คว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน25ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย

         โรคงูสวัสดิ์แม้แต่กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย

ประโยชน์คร่าวๆ จากวารสารค้นคว้าที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้คือ

1.   ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ  และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี

2.   ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3.   รักษาโรคความดันโลหิตสูง

4.   ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง

5.   ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง

6.   ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง

7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม

8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์

9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

         นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาอ้างอิงได้หมดในที่นี้  หากสนใจท่านสามารถหาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงกำกับท้ายเอกสารฉบับนี้

วิธีใช้    

ใบสด    ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่

เด็กแรกเกิด -1 ปี  คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน  ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก  ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ   ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ  เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ
เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่  รับประทานวันละ 1 กิ่ง  จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้  ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก

         การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก  ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมาก ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิช

ผล   รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่    ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น  แกงส้มฝักมะรุม  ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย  ยำฝักมะรุมอ่อน (เหมือนยำถั่วพลู)
สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน  แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม
แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ  ดอกมะรุมชุบไข่ทอด
ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่
ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน   ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก
ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู
แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด 
แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน (จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ)
ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด    เหล่านี้เป็นต้น

เมล็ด   สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้  รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า  รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง  แก้ผิวแห้ง  ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น  รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เปลือกจากลำต้น  นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี        * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*
กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้

ดอก    ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

ใบตากแห้ง  สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีตลอลีนและแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่อกันการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า3เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง


เอกสารอ้างอิง:

Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz.

WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax +66-2-254-5195)
  
WWW.TREESFORLIFE.ORG  WWW.MORINGATREES.ORG  WWW.MORINGAFARMS

 

มะรุม

marum.jpg"มะรุม"  เป็นผักพื้นบ้านจากไม้ยืนต้นที่มีชื่อเรียกเหมือนกันในทุกภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคอีสาน เพียงแต่เสียงจะเพี้ยนกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ เช่นทางอีสานเรียกว่า "ผักอีฮุม" เป็นต้น

น่าแปลกที่มะรุมเป็นผักที่ทุกภาคเอาไปทำแกงส้มกันอย่างเป็นเอกฉันท์ เพียงแต่เป็นแกงพื้นบ้านในแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่น ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มอร่อยที่สุด ผู้เฒ่าผู้แก่จะกินมะรุมกันในช่วงต้นหนาว เพราะมะรุมจะออกพราวในยามนี้ ผักดกผลสมบูรณ์ รสชาติอร่อยแบบเต็มที่

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกในสวนครัวไทยมาแต่โบราณ กินได้ตลอดทั้งต้นเพราะกินยอดก็ได้ กินดอกก็ดี กินฝักอร่อยที่สุด ที่นิยมกินอย่างมากก็ฝักมะรุมนี่แหละ ลองปลูกมะรุมไว้ข้างบ้านก็ได้ เพราะมะรุมจะเป็นทั้งไม้ประดับและพืชผักสวนครัว

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lamk เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร  แผ่กิ่งก้านโปร่ง  ชอบแดดเต็มวัน  เป็นไม้ผลัดใบ แตกกิ่งชูช่ออย่างสมบูรณ์ช่ววต้นฤดูฝน  เริ่มออกดอกสีขาวฝอยคล้ายดอกมะขามในปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว จากนั้นก็ทยอยตกฝักอ่อน  ช่อหนึ่งมีฝักสับ 2-3 ฝัก ใช้เวลา 2-3 เดือนก็ตกฝักเปลือกสีเขียว เม็ดอ่อนกำลังกิน  ฝักเป็นแท่งยาวเหมือนไม้ตีกลอง  ตัวฝักมีลักษณะเป็นลอนๆ  เราจะได้กินฝักมะรุมเพียงช่วงฤดูหนาวเท่านั้น

คนทั่วไปคุ้นเคยกับมะรุมเฉพาะที่เป็นฝักเพราะมีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาลของมะรุม ขายเป็นมัดหรือถุงสักครึ่งกิโลกรัม ราคาประมาณ 10 บาท เฉพาะคนที่ปลูกมะรุมไว้เป็นพืชผักสวนครัวเท่านั้น จึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ดอกมะรุมและฝักอ่อน  ฝักมะรุมอ่อนนี้จะยาวสักฝ่ามือ เปลือกยังอ่อนเป็นสีเหลืองไม่เขียว แท่งกลมเล็ก   ในฝักมะรุม 100 กรัม มีคุณค่าอาหารต่างๆ โดยเฉพาะแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามีซีที่มีอยู่สูง

มะรุมต้องแกงส้มคู่กับปลาช่อน ด้วยช่วงฤดูกาลมะรุมเป็นช่วงเดียวกับข้าวใหม่ปลามันพอดี  ปลาช่อนเนื้อหวานมัน เอามาแกงส้มมะรุมยิ่งเข้ากันนัก  แม้แต่ทางใต้ก็นิยมเอามะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อนเหมือนกัน แต่กรรมวิธีจะต่างไปจากของภาคกลาง แกงส้มปักษ์ใต้จะใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลา และเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขามอย่างของภาคกลาง ส่วนปลาช่อนจะหั่นแว่นชิ้นใหญ่ ไม่ได้แบ่งเนื้อปลามาโขลกกับเครื่องแกง

ยอดอ่อน ช่อดอก นำมาลวกให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริกสารพัด หรือจะเอาไปใส่ในแกงส้มแบบเดียวกับฝักมะรุมก็ได้ คนอีสานเขาถือว่ามะรุมหรือผักอีฮุม เป็นผักจิ้มน้ำพริกอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งพอถึงหน้าของมันแล้วต้อมีขึ้นสำรับแทบทุกครั้ง จิ้มกินกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่ว ล้วนแต่แซบอีหลีนักแล

 

มะรุม ไม้ยืนต้นมหัศจรรย์ Moringa-Miracle Tree

     มะรุมเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม

ชื่อสามัญ horseradish tree, drumstick tree, "mother's best friend"

ชื่อพื้นเมือง ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม

ชื่อวิทยาศาตร์ Moringa olifera Lamk.

วงศ์ MORINGACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเรือนยอดกลมและโปร่ง เจริญเติบโตเร็ว อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

การปลูก มะรุมเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไนเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร

ประโยชน์ทางยา

      ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
             ยอดอ่อนใช้ถอนพิษไข้ 
             ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง 
             ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต 
             เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง 
             ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)
      เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
             ยาง (gum)ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma 
      คุณค่าทางอาหาร
      ใบใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามี ซี สูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย 
             ดอกฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง 
             ฝัก  ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม 
             เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร 
              

การปรุงอาหาร ในประเทศไทย ฤดูหนาวจะมีมะรุมจำหน่ายทั่วไป ทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทานมะรุมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง

ประโยชน์อื่น ๆ

      เมล็ด เมล็ดคั้นได้น้ำมันคุณภาพสูงใช้เป็นอาหารและใช้ถนอมผิว กากที่เหลือใช้แทนสารส้มในการทำให้น้ำให้ใสและสะอาด
             ใบและกิ่ง เป็นอาหารสัตว์
             ทั้งต้น เป็นพืชบำรุงดิน ใช้ฟื้นฟูสภาพดิน ใช้เป็นพืชบังลม รั้วไม้เป็น ("รั้วกินได้")

เอกสารอ้างอิง

      Fahey,Jed W. Sc.D. Moringa oleifera: A Review of the Medical Evidence for Its Nutritional, Therapeutic, and Prophylactic Properties. Part 1.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มะรุม
หมายเลขบันทึก: 202822เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2008 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท