หลักของการเข้าถึง


การเข้าถึง

โดยโชคชัย รัตนอุดม
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
สำนักเทศบาลนราธิวาส

หลักของการเข้าถึง
หลัง การเข้าถึงได้เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่สำคัญของผู้นิเทศ ที่สามารถทำให้ต้องการเข้าถึงผู้รับการนิเทศ หากผู้นิเทศได้ ย่อมหมายถึงการได้รับการยอมรับ ความไว้วางใจ และมีความศรัทธาต่อผู้นิเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้นิเทศนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้นิเทศมืออาชีพต่อไป
เทคนิคการสร้างการเข้าถึงเพื่อนำไปสู่การยอมรับ ความไว้วางใจ และศรัทธา ได้นั้น
ผู้นิเทศควรดำเนินการดังนี้
1. พัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นผู้ที่มีความสุภาพเรียบร้อย ทั้งกิริยาท่าทาง และวาจา ซึ่งจะส่งผลให้ผู้นิเทศเป็นบุลคลที่น่าเคารพ
2. พัฒนาจิต ให้เป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศอยากจะเข้าไปปรึกษา
3. วางตนเสมอกับผู้รับการนิเทศ ที่แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน อันเป็นการให้เกียรติ และยอมรับในตัวของผู้รับการนิเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในการนิเทศในโอกาสต่อไป
4. วางตัวให้เป็นที่ปรึกษาที่ดี โดยที่กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ในการนิเทศการศึกษา คือการเป็นผู้ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาแก่ผู้รับการนิเทศ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยอมรับในการเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้รับการนิเทศ ผู้นิเทศควรดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 รับฟังปัญหาและความต้องการของผู้รับการนิเทศในฐานะผู้ฟังที่ดี
1.2 สรุปประเด็นสำคัญ เพื่อทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้รับการนิเทศ
1.3 ให้คำแนะนำปรึกษา และหากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ให้ใช้ภาษาและถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย
ดังนั้นศึกษานิเทศก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนิเทศจึงควรพัฒนาตน โดยใช้เทคนิควิธีการเข้าถึง เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้รับการนิเทศได้อย่างเป็นกัลยาณมิตรเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้นิเทศได้อย่างเป็นที่ได้รับการยอมรับของคณะครูอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความ
ร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 202517เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลักการเข้าถึงอย่างเดียวไม่พอรับ ต้องเข้าใจและนำไปพัฒนาด้วยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท