หลักสูตรวิทยาศาสตร์ควรจะได้พิจารณารวมเอาหัวข้อที่ส่งเสริมการสร้างความหมาย (meaning-making)  ทำนองเดียวกันระหว่างโครงสร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และโครงสร้างชีมมาตาของความคิด  ข้อถกเถียงหลักๆคือเกณฑ์ที่จะก่อให้เกิดความรู้เพื่อเป็นทางนำในการทดสอบทฤษฎี และเพื่ออธิบายการพัฒนาทฤษฎีที่มีอยู่  และในทางที่กลับกันสามารถนำมาใช้ในการกำหนดรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (Duschl, 1990)  เช่นเดียวกัน Hodson (1988) ได้กล่าวถึงการใช้ปรัชญาวิทยาศาสตร์เป็นทางนำการออกแบบและการนำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ ไปในแนวทางที่เป็นหล้กสูตรที่ถูกต้องเป็นปรัชญามากขึ้น  นั่นคือ 
      สิ่งแรก วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และแผนการสอน (lesson plans) จะต้องมุ่งเน้นไปที่หลักมูลฐานของความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
     ประการที่สอง กิจกรรมการสอนที่กระตุ้นการพัฒนาความเข้าใจหลักการจำเป็นที่จะต้องพัฒนาขึ้น และ
      สุดท้ายงานของนักเรียนควรจะพิจารณาหรือประมวลในเทอมที่สอดคล้องกับทัศนะนี้ คือความรู้เชิงประกาศหรือกล่มความรู้เฉพาะสัมพันธ์กับหลักการ กฏ ทฤษฎี และสามัญการ (generalization) จะต้องนำมาสอนนักเรียน ตามไปด้วยกันกับการสอนความรู้เชิงกระบวนการและยุทธวิธี และเงื่อนไขของการประยุกต์

เป็นทัศนะที่มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีเป็นเนื้อหาที่จะขยายความและเติบโตต่อไปมีส่วนที่แย้งกันเป็นข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) นั่นคือกรอบมโนทัศน์พื้นฐานของเด็กๆ จะได้รับการขยายปรับปรุง พัฒนาและทำให้ชัดเจนแน่นอนขึ้น ขณะที่พวกเขาได้รับประสบการณ์มากขึ้นและเกิดความเข้าใจ ดังนั้นการยอมรับเอาทัศนะนี้เป็นมโนทัศน์ที่ก้าวหน้าค่อยๆ ต่างออกไปทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มผู้สร้างความรู้ (constructivist)

ในทัศนะของธรรมชาติการเรียนรู้ทำให้แน่ใจถึงการประสานสอดคล้องระหว่างหลักการทางปรัชญาและจิตวิทยาภายใต้หลักสูตร  การแยกเนื้อหาที่สำรวจพื้นฐานทั่วไปในกระบวนการสืบเสาะ (inquiry) ที่แสวงหาคำตอบให้กับปัญหาเดียวกัน

ความสำคัญของความรู้เชิงกระบวนการหรือยุทธวิธี เป็นที่ต้องการสำหรับการให้ได้มาซึ่ง  การใช้ที่เหมาะสม และการปรับปรุงความรู้ทางวิทยาศาสตร์  การประยุกต์คำสอนสัมพันธ์กับกระบวนการของการให้ได้มาซึ่งความรู้ในทางวิทยาศาสตร์และองค์ประกอบที่เป็นอิทธิพลของการใช้และการพัฒนาของขั้นตอนเหล่านี้

ความพยายามของนักปรัชญาที่จะกำหนดแนวทางนำเชิงบรรทัดฐาน (normative quidelines) สำหรับอะไรที่เป็น จัดไว้เป็นทฤษฎีหนึ่งของวิทยาศาสตร์  งานของนักปฏิฐานนิยมที่มีตรรกะ (logical positivist) นับเป็นเวลานานที่ความแตกต่างเชิงการเฝ้าสังเกตและเชิงทฤษฎีได้ถูกขจัดออกไป  ที่ซึ่งหลักการทางการคิดทางจิตวิทยา (principal of cognitive psychology) ร่วมด้วยกับหลัการทางการเกิดความรู้ (epistemological principle)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ควรจะเหนี่ยวนำนักเรียนเคลื่อนจากทัศนะที่สมบูรณ์เพียบพร้อม (absolutism) ไปเป็นทัศนะความน่าจะเป็น (falibilism)ของวิทยาศาสตร์ ประวัติของวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งที่ทรงคุณค่าสำหรับการพัฒนาหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

เราจะเรียกร้องครูวิทยาศาสตร์อย่างไรเพื่อปรับปรุงความสามารถของนักเรียนให้มีความสามารถในการคิดหาเหตุผลอันเป็นที่เกิดของความรู้ ถ้าในขณะนั้นนักเรียนอยู่ในระดับของการคิดหาเหตุผลที่ต่ำกว่าระดับที่จะเกิดความรู้ได้  เด็กๆถูกมองเป็นนักคิดแบบบูรณาการ โดยสร้างความหมายที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา โดยผสมผสานองค์ประกอบคือความรู้ ด้าน อารมณ์ความรู้สึก คุณค่า ความงาม กรอบการตีความ การททดลอง อุปลักษณ์ (metaphor) รูปนัย (formal) และการทดลอง

ที่มา :  http://www.nstlearning.com