ทัศนะของกลุ่มนักสร้างความรู้ (constructivist) นั่นคือถ้าเด็กนักเรียนประสานตามแนวทัศนะนี้ พวกเขาก็จะพัฒนาปัญญาขึ้นตามธรรมชาติ และการพัฒนานี้มีโน้มเอียงไปทางความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) 

นักสร้างความรู้เชื่อว่าความรู้เป็นผลจากที่แต่ละบุคคลสร้างขึ้นจากความเป็นจริง จากทัศนมิติ (perspective) โดยพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะ ของพวกเขา การเรียนรู้จะเกิดขึ้นผ่านทางการสร้างสรรอย่างต่อเนื่องของ กฏ สมมุติฐานที่ใช้อธิบายสิ่งที่สังเกต

ความจำเป็นในการสร้างกฏเกณฑ์ และสร้างสมมุติฐานใหม่เกิดขึ้นเมื่อแนวคิดของความเป็นจริงปัจจุบันของผู้เรียนถูกผลักออกจากความสมดุลย์อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง ระหว่างแนวคิดเหล่านั้นและการสังเกตใหม่ๆ

นักสร้างความรู้อธิบายกระบวนการภายในทางจิตวิทยา ในกระบวนการนี้แต่ละบุคคลจะตรวจสอบข้อมูลข่าวสารใหม่อย่างต่อเนื่องเทียบกับกฏเกณฑ์เดิม ทำทวนกฏเกณฑ์ดังกล่าว เมื่อความไม่ลงรอยการปรากฏขึ้น และเข้าสู่ความเข้าใจใหม่หรือที่เรียกว่าสร้างสรรจากความเป็นจริง (construction of reality)

ในเทอมทางจิตวิทยา กฏเกณฑ์เก่าเป็นโครงสร้างทางความคิดที่มีอยู่  เมื่อกฏเกณฑ์เก่า และข้อมูลข่าวสารใหม่มากระทบกัน การตรวจสอบกระบวนการก่อให้เกิดความคิดที่ไม่สมดุลย์ (cognitive disequilibrium) การทบทวนจะเป็นการปรับความสมดุลย์ (accommodation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ กฏเกณฑ์ใหม่ หรือโครงสร้างการคิดภายในใหม่ต้องการให้เข้าไปแทนที่กฏเกณฑ์เก่า ที่ไม่สามารถที่อธิบายความเป็นจริงได้

แบบจำลองการเรียนรู้ที่ใช้หลักการของนักสร้างความรู้เป็นฐาน  บ่อยมากที่เสนอแนะลำดับของเนื้อหาซึ่งจะต้องให้มีการสำรวจเป็นสิ่งแรก และแบบจำลองของวัฏจักรการเรียนรู้ตามแนวของนักสร้างความรู้จะตรงกับแบบจำลองวัฏจักรการเรียนรู้ของ Atkin และ Karplus (1962) ซึ่งมีขั้นตอนคือ การสำรวจ (exploration)  การประดิษฐ์ (invention) การค้นพบ (discovery) ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาที่ใช้หลักการสร้างความรู้เป็นฐาน

การใช้แบบจำลองนี้ ครูเป็นผู้ออกแบบโอกาสให้นักเรียนในการให้ประสบการณ์แนวคิดในบทเรียน ด้วยสื่ออุปกรณ์ หรือสารสนเทศในขั้นการสำรวจ ในขั้นต่อไปครูนำเข้าสู่แนวคิด ที่จะพิจารณา ปกติแล้วจะให้เทอมใหม่ และนำเข้าสู่สารสนเทศใหม่ และแนวทางที่แตกต่างในการคิดในขั้นตอนประดิษฐ์  สุดท้ายครูจัดกิจกรรมต่อไปที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเดิม เป็นขั้นตอนของการค้นพบ

ตามแนวปรัชญาการสร้างความรู้นี้จะเป็นตัวนำเราให้ค้นพบวิธีการในการสอนและเตือนให้เรารู้ว่า ระบบระเบียบจะคงอยู่เฉพาะในจิตใจของคนเท่านั้น

ตามขอบข่ายของการศึกษาที่ใช้นักสร้างความรู้เป็นฐาน 4 ประการ
- การจัดโครงสร้างหลักสูตรครอบคลุมแนวคิดเบื้องต้น
- เปิดเผยแนวคิดทางเลือกอื่น
- การสอนเรื่องแนวคิดหนึ่งๆ จะไม่ให้ผลดีนอกจากความเข้าใจของผู้เรียนในปัจจุบันของแนวคิดนั้นได้รับการสำรวจอย่างชัดแจ้งก่อน
- ภายใต้บริบทของการเติมโตและการร่วมมือกัน ความขัดแย้งเป็นบ่อเกิดของกระบวนการพัฒนา

ที่มา http://www.nstlearning.com