ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)


ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

E.Q.

              E.Q. =  Emotional  Quotient  เป็นตัวชี้วัดความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional  Intelligence)  คือ  ความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักรู้ในความคิด  ความรู้สึก  และภาวะอารมต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้  มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตน  ทำให้สามารถชี้นำความคิดและการกระทำของตนได้อย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับการทำงาน  และการดำเนินชีวิต โดยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ (Salovey and Mayer, 1990  อ้างถึงใน ทศพร  ประเสริฐสุข  2542 : 21)

องค์ประกอบของ E.Q.
              ทศพร  ประเสริฐสุข (2542 : 25-29) ได้สรุปองค์ประกอบของ E.Q  ไว้ 5 ประการ  คือ
1.  การตระหนักรู้ในตนเอง  (self-awareness  หรือ  knowing one’s  emotion)  เป็นความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจ  ความรู้สึก  ความคิดและอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง  สามารถประเมินตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา 
 2.การบริหารจัดการกับอารมณ์ของตน  (managing  emotion)  เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม  มีความสามารถในการควบคุมตนเอง  ปรับตัว  และมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
  3. การจูงใจตนเอง (motivation  oneself) เป็นความสามารถในการจูงใจตนเอง  ที่เรียกว่า  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์  มองโลกในแง่ดี  สามารถนำอารมณ์และความรู้สึกของตนเองมาสร้างพลังในการกระทำสิ่งต่างๆ และเป็นพลังในการให้กำลังใจตนเองในการคิดและกระทำอย่างสร้างสรรค์
4.การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (recognizing  emotion in others)  เป็นการรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น  เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  เอาใจเขามาใส่ใจเรา  และสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
       5.การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น  (handling  relationships)  เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง  อันจะส่งผลให้เกิดความเป็นผู้นำ

แนวทางในการพัฒนา E.Q.
1.                  ฝึกให้เด็กรู้จักคุณค่าของตนเองตามความเป็นจริง  ให้มองตนเองอย่างตระหนักรู้     มองตนเองในแง่ดี  รู้จักดีกับชีวิต  สามารถชื่นชมตัวเองได้  เป็นการฝึกให้รู้จักอารมณ์ตนเอง
2.                  รู้จักแยกแยะอารมณ์ของตนว่าชนิดไหนดีหรือไม่ดี         และเลือกแสดงออกทางอารมณ์ได้
อย่างเหมาะสม
3.                  รู้จักปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบของสังคมด้วยความเต็มใจ
4.                  รู้จักและเข้าใจธรรมชาติอารมณ์ของตนเอง    จำแนกได้ว่าอารมณ์ใดให้ประโยชน์  อารมณ์ใดให้โทษ
5.                  รู้จักบริหารจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้  เพื่อให้รู้ว่า  อารมณ์เกิดได้ทุกอย่าง  แต่เราไม่สามารถแสดงอารมณ์ทุกอย่างได้
6.                  การแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสีหน้า  ท่าทาง และคำพูด
7.                  รู้จักหยุดการแสดงอารมณ์ที่ไม่ดี  ความสามารถในการไตร่ตรองก่อนการแสดงออกสามารถที่จะอดทน  รอคอยที่จะแสดงพฤติกรรมได้
8.                  ฝึกสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับตน   แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
9.                  ฝึกความสามารถในการหยั่งรู้อารมณ์ผู้อื่น  รับรู้อารมณ์  และความรู้สึกของผู้อื่น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจ   และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
10.ฝึกด้านมนุษยสัมพันธ์การแสดงน้ำใจเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น  เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น  ฝึกการให้เกียรติผู้อื่นได้ด้วยความจริงใจ  สามารถแสดงความชื่นชอบ  ชื่นชม  และให้กำลังใจซึ่งกันและกันได้ในวาระที่เหมาะสม
 
ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต
องค์การยูเนสโก (UNESCO 1975  อ้างถึงใน วันทนา  กลิ่นงาม, 2528 : 303)  ได้กำหนดเครื่องบ่งชี้คุณภาพชีวิตของประชากรดังนี้ 
1.      อาหารและโภชนาการ 
2.      สุขภาพ 
3.      การศึกษา 
4.      สภาพแวดล้อม 
5.      รายได้ 

ที่มา :  http://www.nstlearning.com

หมายเลขบันทึก: 202483เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท