ครูไข่มุก


แผนการจัดการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

หน่วยที่ 1

เรื่อง  เงินทองของมีค่า

 

1.      ชื่อหน่วยการเรียนรู้  เงินทองของมีค่า

2.      กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3.      วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่.3.2 ( 3 )

4.      คำอธิบายหน่วยการเรียนรู้

                  ศึกษาบทบาทหน้าที่ระบบของธนาคาร และสถาบันการเงินวิเคราะห์สภาพการเงินของครอบครัว ชุมชน สังคม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมปัญหาของครอบครัว ชุมชน สังคม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เสนอแนวทางแก้ไขและมีส่วนร่วมการแก้ปัญหาของครอบครัว  ชุมชน ตามหลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5.      แผนการจัดการเรียนรู้ ที่1

5.1.    เงินทองของมีค่า

 

 

  

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง  เงินทองของมีค่า( 5 ชั่วโมง )

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

     1.  อธิบายและวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้เงินของคนในครอบครัวและชุมชน

     2.  เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมไขปัญหาของครอบครัว  ชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ     

          พอเพียง

     3.  บอกความหมาย  หน้าที่   และประเภทของเงินได้

     4.  วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ  จนนำไปสู่การเกิดภาวะ

          เงินเฟ้อ   ภาวะเงินฝืดได้

     5.  จำแนกประเภทและอธิบายบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารและ

          สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารได้

สาระการเรียนรู้

1.      ปัญหาของครอบครัว ชุมชน ด้านการใช้จ่ายจนก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

2.      วิธีแก้ไขปัญหาของครอบครัว ชุมชน ด้านการใช้จ่ายเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

3.      วิธีการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อ และเงินฝืด ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.      ความพอเพียง

1.1.ความพอประมาณ

-          รู้จักสถานะทางการเงินของครอบครัวและชุมชน

-          เข้าใจสภาพภูมิสังคมของครอบครัวและชุมชน รอบๆตัว

-          สามารถแยกแยะ วิเคราะห์ได้ว่าการดำเนินชีวิตของตนเอง สอดคล้องเหมาะสมกับอัตภาพของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  สังคม  ในด้านต่างๆหรือไม่

1.2.ความมีเหตุผล

-          เข้าใจปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดของครอบครัว  ชุมชน  ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  เกิดจากพฤติกรรมไม่พอเพียงหรือไม่สอดคล้องกับหลักพอเพียงอย่างไร

-          สามารถนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา  ตามหลักคิดพอเพียงได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

1.3.การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

-          รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งจากภายในครอบครัว  ชุมชน  และจากภายนอกส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำเนินชีวิติของคนในครอบครัว  ชุมชน

-          สามารถนำเสนอแนวทางในการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

2.  คุณธรรมกำกับความรู้

          2.1.  เงือนไขคุณธรรม

                        -  รู้จักผิดชอบชั่วดี  รู้ควรไม่ควร  รู้จักประมาณตน

                        -  ขยันหมั่นเพียร  อดทนและรับผิดชอบในการทำงาน

          2.2.  เงือนไขความรู้

                        -  รอบรู้ปัญหา  ครอบครัว  ชุมชน

                        -  รอบคอบในการวิเคราะห์สาเหตุ  เชื่อมโยงปัญหาและการเสนอแนวทางในการ

                            แก้ไข

กิจกรรมการเรียนรู้

          ขั้นนำ ( ชั่วโมงที่ 1 )

            ครูนำเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาด้านการเงิน   เศรษฐกิจ  การฆ่าตัวตาย  การลักขโมย  การขายตัวของนักเรียน  ฯลฯ  ให้นักเรียนฟัง  ครูและนักเรียนสนทนาถึงสาเหตุและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น หนี้สิน  การใช้เงินเกินตัว  การไม่รู้จักประมาณ  การขาดศีลธรรมในการดำเนินชีวิต ฯลฯ  ครูทำความเข้าใจให้ความรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง( 3 ห่วง 2 เงือนไข )

            ขั้นให้ประสบการณ์ ( ชั่วโมงที่ 2-4 )

1.      ครูเชื่อมโยงสภาพปัญหาจากข่าว จากสื่อต่างๆ กับปัญหาในชุมชนที่นักเรียนเคยพบ  

เห็นโดยระดมความคิดของนักเรียน จัดกลุ่มปัญหา เช่นปัญหาด้านครอบครัว ( การใช้เงินเกินตัว  การมีหนี้สิน ) ปัญหาการศึกษา ( การเรียนน้อย  การอ่านไม่ออก )ปัญหาเศรษฐกิจ ( การทำมาหากิน  ความยากจน )  ปัญหาสังคม ( การประพฤติตนไม่เหมาะสมกับวัย  ปัญหายาเสพติด ปัญหาโจรผู้ร้าย )  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

      2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกปัญหา มา 1 ปัญหา  แล้วร่วมกันนำหลักแนวคิดปรัชญาของ  เศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข ( 3 ห่วง 2 เงือนไข )  ซึ่งจะเป็นการทบทวนความรู้ที่นักเรียนได้รับตอนต้นชั่วโมง

3..ครูให้นักเรียนระดมความคิดร่วมกัน หรือค้นหาความหมายของเงิน  หน้าที่ของเงิน 

 ประเภทของเงิน และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เข้าใจปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         4..ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าความหมายความสำคัญสถาบันการเงิน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนในครอบครัว  ชุมชน ว่ามีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ หรือภาวะเงินฝืดหรือไม่อย่างไร

   5..ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปปัญหาของครอบครัว  ชุมชน และแนวทางการแก้ปัญหาตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยสื่อออกมาเป็นตัวการ์ตูน หรือรูปภาพ ลงสีให้สวยงาม          

ขั้นสรุป ( ชั่วโมงที่ 5 )

1.                        ครูนำผลงานของนักเรียนที่สื่อเป็นตัวการ์ตูน รูปภาพเสนอหน้าชั้นให้เพื่อนดูพร้อมทั้งวิจารณ์ผลงานของเพื่อนว่าแตกต่างจากกลุ่มของตนเองอย่างไร มีการสื่อเนื้อหาที่ชัดเจนหรือไม่

2.                        ครูสรุปเพิ่มเติมและให้นักเรียนทำใบงานเพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจเป็นรายบุคคล

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1.      ข่าวจากหนังสือพิมพ์

2.      หนังสือเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3.      รูปภาพผลงานของนักเรียนห้อง ม.2/1  .2/3   .2/5

การวัดผลประเมินผล

1.      สังเกตจากการนำเสนอความคิดเห็นโดยผ่านตัวการ์ตูนหรือรูปภาพ

2.      ทดสอบจากใบงาน

กิจกรรมเสนอแนะ

หมายเลขบันทึก: 202418เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณครู

เข้ามาเยี่ยมคุณครูค่ะ ครูกาฬสินธ์เหนื่อยไหมคะ ครูลพบุรีหัวฟูทั้งวันเลยค่ะ ยินดีที่รู้จัก จากครูภาษาไทย สพท.ลพบุรี เขต 1 ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูนะคะ คงกำลังทำผลงานอยู่ใช่ไหมคะ ขอให้โชคดีนะคะ

ดีงับ

ดีดีดี เดดดดดดดด คับพี่

ป๋มอยากรุเรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเงิน เรื่องธนาคารอาคารสงเคราะห์ คับคุณครู

เป็นแผนที่เยี่ยมเลยค่ะ

นำไปใช้ได้จริงด้วย

ขอบคุณนะคะ

บายงับครูไปแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท