การจัดการความรู้


การดำเนินการปรับปรุงระบบส่งเสริมฯ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

31 กรกรกฎาคม 2551

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯต.ทุ่งหวัง

การทบทวน/ปรับปรุงข้อมูล

                ประเด็น   ข้อมูลแหล่งน้ำ

                ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-          คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

-          ผู้ใหญ่บ้าน

-          ปราชญ์ชาวบ้าน

-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สนง.ชลประทานจังหวัดสงขลา  สนง. เกษตรจังหวัดสงขลา สนง. เกษตรอำเภอเมือง สงขลา

จากเรื่องเล่าของนายหมัด เหมรัญ

สภาพแหล่งน้ำของตำบลทุ่งหวัง 

ต้นน้ำสายใหญ่ของตำบลทุ่งหวัง มาจากเขาใบพัด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหวัง ในฤดูฝนตกมากน้ำก็จะไหลลงมาจากเขาใบพัด เป็นสายน้ำและลำคลองผ่านหมู่ที่ 7 หมู่ที่  6 , 4 , 2 , 9

ซึ่งเมื่อในฤดูน้ำหลากน้ำก็มากจนล้นไปท่วมพื้นที่ทำการเกษตร และบ้านเรือนทำให้ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อถึงฤดูแล้งประมาณเดือน เม.ย. มิ.ย.  ของทุกปี น้ำก็จะแห้งแล้ง จนไม่มีน้ำเพื่อการสาธารณูปโภคและเพื่อการเกษตรเลย

เวทีระดมความคิด  ( แลกเปลี่ยนเรียนรู้ )

จากเจ้าหน้าที่ชลประทานจังหวัด

-          ตำบลทุ่งหวังไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและสายน้ำใหญ่

-          น่าจะแก้ไขปัญหาได้ดังนี้

1.       ในพื้นที่ลาดเอียงซึ่งน้ำจะไหลผ่านได้เร็ว ในหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 6 และเป็นพื้นที่ต้นน้ำให้ทำฝายชะลอน้ำ(ฝายแม้ว) เพื่อสกัดน้ำ(ใต้ดิน)ให้คงอยู่นานที่สุด

2.       ในพื้นที่ราบตั้งแต่หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 4 ,หมู่ที่ 2  และ หมู่ที่ 9 ให้สำรวจความต้องการใช้น้ำของเกษตรกรเป็นกลุ่ม  เพื่อการขุดลอกคลองเป็นจุดตามความเหมาสมของผู้ต้องการใช้น้ำ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7

-          เพื่อปรับปรุงแหล่งน้ำโดยการขุดลอกลำคลองเป็นจุด ๆ   ต้องเปลี่ยนท่อกลมที่ฝังไว้ใต้ถนนในลำคลองของหมู่ที่ 4 ด้วย เพราะท่อมีขนาดเล็กเกินไป เมือฤดูน้ำหลากทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหาย

-          ควรเปลี่ยนเป็นท่อสี่เหลี่ยมหรือสะพานก็ได้

นายหมัด   เหมอารัญ (คณะกรรมการบริหารศูนย์)

-          การทำฝายชะลอน้ำเพื่อสกัดกั้นน้ำให้คงอยู่แบบเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โต และเป็นแบบปิด- เปิดได้ เพราะเมื่อฤดูน้ำหลากก็จะได้เปิดให้น้ำไหลได้สะดวก ไมกีดขวางทางน้ำ

นายประวิทย์  วงศ์สุริยะ  (รองนายก อบต.ทุ่งหวัง)

-          ในส่วนของอบต.  มีความเห็นด้วย และขอให้ชุมชนรีบดำเนินการหาข้อมูลเขียนแผน การจัดทำฝายชะลอน้ำ โดยเร็วเพื่อจะได้นำแผนเข้าบรรจุไว้ในแผนของอบต. ในการของบประมาณสนับสนุบต่อไป

โดยสรุป

                                -ให้ชุมชนศึกษาข้อมูลในการจัดทำฝายชะลอน้ำ และสำรวจพื้นที่พร้อมทั้งความต้องการใช้น้ำของเกษตรกร ในการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งในการทำฝายชะลอน้ำและขุดลอกคลองเพื่อจะได้นำเข้าบรรจุไว้ในแผนของอบต.ปี2551/2552

หมายเลขบันทึก: 202388เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ท่านหามาให้เราได้อ่านขอบคุณคับ

ช่วยเม้นกลับด้วยนะคับขอบคุณคับ  คลิกเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท