การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด


กระบวนการคิด

          ในประเทศอังกฤษก็ให้ความสำคัญกับการสอนคิดมากเช่นกัน เช่น Department

for Education and Skills ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของอังกฤษ ได้จัดกลุ่มประเภทของโปรแกรมการสอนทักษะการคิด เป็น 3 โปรแกรม คือ (1)ด้วยวิธีการทางปรัชญา เน้นการอภิปรายประเด็นคำถามและให้เหตุผล (2)บนพื้นฐานการเรียนรู้ของสมอง โดยใช้กิจกรรม เกม การเคลื่อนไหว ศิลปะและดนตรี และ(3)แบบแทรกซึมลงไปในหลักสูตร นั้น ๆ เลย

           การสอนคิดมีจุดมุ่งหมายพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเก่ง จึงต้องให้โอกาสนักเรียนฝึกคิดอยู่บ่อย ๆ ครูจึงต้องเปลี่ยนคำถามจากการใช้คำว่า ใช่-ไม่ใช่ เป็น ทำไม-อย่างไร ในกิจกรรมการเรียน-การสอน-การสอบให้มากขึ้น หวังว่าแนวคิดเหล่านี้จะเป็นประโยชน์บ้าง  ซึ่งในที่นี้มีการคิดแบบนักบริหารมาฝากนะคะ

การคิดแบบนักบริหาร

ความคิดคืออะไร

            ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind)  ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive  system)  โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น  การคิดเป็นเรื่องที่สำคัญ  การคิดไม่เหมือนกัน  การคิดแบบจินตนาการ  การคิดหวนรำลึกถึง    การคิดใช้เหตุผล  และการคิดแก้ปัญหา

 

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร

·         การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา

              หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด

·         ความต้องการสิ่งแปลกใหม่  กระตุ้นให้คิด  คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ  นักคิดก็คือ  กบฏตัวน้อย  มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม  ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด  หากเราบอกตัวเองว่า  เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว  หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา

·         ความสงสัย  กระตุ้นให้คิด  สร้างให้เกิดความรู้  ความอยากรู้อยากเห็น  บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น  แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า  ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น  พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น 

·         สภาพปัญหา  กระตุ้นให้คิด  ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด  เราต้องหาวิธีออก  วิธีคิด  การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้  การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด  10  มิติ  การคิด  10  มิติ  เกิดจากการประชุมระดับชาติ  เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด  นอกกรอบ

 วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด  10  มิติ

·         การคิดเชิงกลยุทธ์

·         การคิดเชิงอนาคต

·         การคิดเชิงสร้างสรรค์

·         การคิดเชิงวิพากษ์

·         การคิดเชิงบูรณาการ

·         การคิดเชิงวิเคราะห์

·         การคิดเชิงเปรียบเทียบ

·         การคิดเชิงสังเคราะห์

·         การคิดเชิงมโนทัศน์

·         การคิดเชิงประยุกต์

 

 1.  การคิดเชิงกลยุทธ์

            การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น  จริง ๆแล้วความคิดทั้ง  10  มิติ  เป็นการใช้ตลอดเวลา  และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด  คือ  คนที่นำในองค์กร  คนแรกที่ต้องพบปัญหา  คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก  สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา  และมีทรัพยากรจำกัด  บุคลากรก็มีจำกัด  สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ  ในการวางแผน  การบริหารจัดการ  การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง  นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า  การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตเพื่อการตัดสินใจในอนาคต  มี  2  วิธีที่จะเผชิญในอนาคต  วิธีหนึ่งที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น  เดินไปเรื่อย ๆ  ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม  ตามสภาวะแวดล้อม  ตายเอาดาบหน้า  อีกวิธีหนึ่ง  คือ  แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้  เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้  แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ    วันนี้  นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า  ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว   โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้  เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด  ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง  บริหารงบประมาณ  บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย  การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม  การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์  ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต  การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ  หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้

                        ขั้นที่หนึ่ง  กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง

                        ขั้นที่สอง  วิเคราะห์และประเมินสถานะ

                        ขั้นที่สาม  การหาทางเลือกกลยุทธ์

                        ขั้นที่สี่  การวางแผนปฏิบัติการ

                        ขั้นที่ห้า  การวางแผนคู่ขนาน

                        ขั้นที่หก  การทดสอบในสถานการณ์จำลอง

                        ขั้นที่เจ็ด  การลงมือปฏิบัติการ

                        ขั้นที่แปด  การประเมินผล

 

1.       การคิดเชิงอนาคต

มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม  การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย   6  หลักดังนี้คือ   

1.   หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic  Approach)  ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน

2.  หลักความต่อเนื่อง (Continuity)  การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน

3.  หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล(Causal  Relationship)  การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม  แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้

4.   หลักการอุปมา(Analogy)  โดยยึดหลักว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน  ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ  เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย

5.   หลักการจินตนาการ(Imagination)  การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย  การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล  เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ

6.   หลักดุลยภาพ (Equilibrium)  เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง  ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ  หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ  ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง

 

3.  การคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์  โจทย์ไม่เหมือนเดิม  คำตอบไม่เหมือนเดิม  วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม  จึงมีความแปลกใหม่  ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม  ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่าง ๆด้วยวิธีการใหม่ ๆการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด  และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  ใครคิดก่อนได้เปรียบ  หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่

1.    ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ

2.    อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์

3.    การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์

วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง  3 ข้อดังกล่าว

4.  การคิดเชิงวิพากษ์ 

หมายถึง  ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ  ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม  เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง  พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม  หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่

หลักที่  1  ให้สงสัยไว้ก่อน…………….อย่าเพิ่งเชื่อ

หลักที่  2  เผื่อใจไว้……………อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้

หลักที่  3  เป็นพยานฝ่ายมาร…………ตั้งคำถามซักค้าน

 

5.  การคิดเชิงบูรณาการ

                        ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ  ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน  ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม  ครบถ้วนทุกมุมมอง  ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา  หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่

1.    ตั้ง  “แกนหลัก

2.    หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก

3.    วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน

6.  การคิดเชิงวิเคราะห์              

                       ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์  เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน  เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป  มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย  และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย

1.    หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อมูลที่ได้รับ

2.    ใช้หลักการตั้งคำถาม

3.    ใช้หลักการแยกแยะความจริง  เช่น

3.1   แยกแยะระหว่าง  ความจริง (truth)  กับความเชื่อ (belief)

3.2   แยกแยะโดยจำกฎขั้วตรงข้าม (the principle of contradiction)

3.3   แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง (facts)  กับข้อคิดเห็น (opinions)

7. 

หมายเลขบันทึก: 201542เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ธิติยา พงศ์ศิริไพศาล

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆที่แบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท