ร่วมแรงร่วมใจ


ร่วมแรงร่วมใจ

·      การสอนแบบมุ่งประสบการณ์และการเรียนร่วมแรงร่วมใจ

                หมายถึง     การเรียนการสอนอาศัยหลักการและแนวคิดที่เหมาะสมจากการสอนซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและทุกคนมีโอกาสฝึกทางภาษาได้เท่าเทียมกันการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนเป็นการช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา

ก. ทฤษฏี/หลักการ/แนวคิดจองรูปแบบ

            การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจได้แนวคิดจากทฤษฏีพหุปัญญา( Theory of Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์กล่าวว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่อย่างหลากหลาย 8 ด้านเพียงแต่ความสามารถไม่เท่ากันความสามารถที่แสดงออกมาทำให้คนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหากได้รับการส่งเสริมความสามารถให้เต็มศักยภาพได้เชาว์ปัญญา 8 ประการ 1.ด้านภาษา 2.ด้านคณิต 3.ด้านมิติสัมพันธ์ 4.ด้านดนตรี 5.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย

6.ด้านการสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 7.ด้านการเข้าใจตนเอง 8.ความเข้าใจธรรมชาติ 

ข.วัตถุประสงค์

                    เป็นยุทธวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆแต่ละคนในกลุ่มมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเคารพความคิดเห็นและยอมรับความรู้ความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนโดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนๆในกลุ่มเน้นการร่วมมือกันในกลุ่มโดยให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีโอกาสช่วยกันให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้เท่าเทียมกัน

ค.กระบวนการเรียนการสอน

ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

            1.ขั้นนำเสนอบทเรียน

            2.ขั้นตรวจสอบพื้นความรู้ของนักเรียน

            3. ขั้นศึกษาเนื้อหา

            4.ขั้นฝึกปฏิบัติ

             5.ขั้นสรุปและประเมินผล

 1.ขั้นนำ          เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ยิ่งขึ้นโดยการนำสื่อเช่นเทปเพลง แผนภูมิ การแสดงท่าทางประกอบเพลงรูปภาพของจริง การสนทนาซักถามมาประกอบการนำเขาสู่บทเรียน

 2.ขั้นตรวจสอบพื้นความรู้ของนักเรียน                     

            ตรวจสอบให้รู้ว่านักเรียนมีพื้นความรู้บ้างหรือไม่มากน้อยเพียงใดทำได้ไม่ยากสำหรับนักเรียนกลุ่มเล็กสำหรับนักเรียนกลุ่มใหญ่ครูควรเลือกกิจกรรมประเภทที่สามารถตรวจสอบพื้นความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 3.ขั้นศึกษาเนื้อหา

            เป็นการศึกษาเนื้อหาเรื่องที่จะเรียนจากแหล่งความรู้และจากใบความรู้การสนทนาซักถาม การอภิปราย การใช้รูปภาพประกอบการเรียนรู้จากของจริงเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 4.ขั้นฝึกปฏิบัติ

            เป็นการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยวิธีการต่างๆอาจฝึกรวมกันทั้งชั้นหรือฝึกเป็นกลุ่ม เป็นคู่ ฝึกจนชำนาญสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 5.ขั้นสรุปและประเมินผล

            เป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนว่าถูกต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ร่วมกันรวมทั้งครูผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนที่ยังไม่เข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ที่แท้จริง

ง. แหล่งเรียนรู้

            1.หนังสือ ตำรา ใบความรู้ ใบงาน

            2.ห้องสมุด

            3.เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

            4.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

จ.การประเมิน

            1.ความรู้ความเข้าใจ  k

           -ทดสอบ

               -  อภิปราย

        2.ทักษะกระบวนการ P

                - สังเกต

              -สอบถาม

            3.เจตคติ  A

            - คุณค่าและคุณภาพของชิ้นงาน

            - ความรู้สึกที่มีต่อการเรียน

ฉ.เครื่องมือประเมิน

            - แบบสังเกต

            - แบบทดสอบ

            - แบบตรวจผลงาน

            - แบบสอบถามเจตคติ

ช.เกณฑ์ในการประเมิน

            ประเมินโดยถือเกณฑ์ 50 % ผ่าน

ซ.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ

            1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ

            2.ผู้เรียนมีความสามัคคีทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้

            3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้สรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

            4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

·      การสอนแบบมุ่งประสบการณ์และการเรียนร่วมแรงร่วมใจ

                หมายถึง     การเรียนการสอนอาศัยหลักการและแนวคิดที่เหมาะสมจากการสอนซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและทุกคนมีโอกาสฝึกทางภาษาได้เท่าเทียมกันการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนเป็นการช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา

ก. ทฤษฏี/หลักการ/แนวคิดจองรูปแบบ

            การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจได้แนวคิดจากทฤษฏีพหุปัญญา( Theory of Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์กล่าวว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่อย่างหลากหลาย 8 ด้านเพียงแต่ความสามารถไม่เท่ากันความสามารถที่แสดงออกมาทำให้คนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหากได้รับการส่งเสริมความสามารถให้เต็มศักยภาพได้เชาว์ปัญญา 8 ประการ 1.ด้านภาษา 2.ด้านคณิต 3.ด้านมิติสัมพันธ์ 4.ด้านดนตรี 5.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย

6.ด้านการสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 7.ด้านการเข้าใจตนเอง 8.ความเข้าใจธรรมชาติ 

ข.วัตถุประสงค์

                    เป็นยุทธวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆแต่ละคนในกลุ่มมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเคารพความคิดเห็นและยอมรับความรู้ความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนโดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนๆในกลุ่มเน้นการร่วมมือกันในกลุ่มโดยให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีโอกาสช่วยกันให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้เท่าเทียมกัน

ค.กระบวนการเรียนการสอน

ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

            1.ขั้นนำเสนอบทเรียน

            2.ขั้นตรวจสอบพื้นความรู้ของนักเรียน

            3. ขั้นศึกษาเนื้อหา

            4.ขั้นฝึกปฏิบัติ

             5.ขั้นสรุปและประเมินผล

 1.ขั้นนำ          เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ยิ่งขึ้นโดยการนำสื่อเช่นเทปเพลง แผนภูมิ การแสดงท่าทางประกอบเพลงรูปภาพของจริง การสนทนาซักถามมาประกอบการนำเขาสู่บทเรียน

 2.ขั้นตรวจสอบพื้นความรู้ของนักเรียน                     

            ตรวจสอบให้รู้ว่านักเรียนมีพื้นความรู้บ้างหรือไม่มากน้อยเพียงใดทำได้ไม่ยากสำหรับนักเรียนกลุ่มเล็กสำหรับนักเรียนกลุ่มใหญ่ครูควรเลือกกิจกรรมประเภทที่สามารถตรวจสอบพื้นความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 3.ขั้นศึกษาเนื้อหา

            เป็นการศึกษาเนื้อหาเรื่องที่จะเรียนจากแหล่งความรู้และจากใบความรู้การสนทนาซักถาม การอภิปราย การใช้รูปภาพประกอบการเรียนรู้จากของจริงเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 4.ขั้นฝึกปฏิบัติ

            เป็นการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยวิธีการต่างๆอาจฝึกรวมกันทั้งชั้นหรือฝึกเป็นกลุ่ม เป็นคู่ ฝึกจนชำนาญสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 5.ขั้นสรุปและประเมินผล

            เป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนว่าถูกต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ร่วมกันรวมทั้งครูผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนที่ยังไม่เข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ที่แท้จริง

ง. แหล่งเรียนรู้

            1.หนังสือ ตำรา ใบความรู้ ใบงาน

            2.ห้องสมุด

            3.เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

            4.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

จ.การประเมิน

            1.ความรู้ความเข้าใจ  k

           -ทดสอบ

               -  อภิปราย

        2.ทักษะกระบวนการ P

                - สังเกต

              -สอบถาม

            3.เจตคติ  A

            - คุณค่าและคุณภาพของชิ้นงาน

            - ความรู้สึกที่มีต่อการเรียน

ฉ.เครื่องมือประเมิน

            - แบบสังเกต

            - แบบทดสอบ

            - แบบตรวจผลงาน

            - แบบสอบถามเจตคติ

ช.เกณฑ์ในการประเมิน

            ประเมินโดยถือเกณฑ์ 50 % ผ่าน

ซ.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ

            1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ

            2.ผู้เรียนมีความสามัคคีทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้

            3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้สรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

            4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ร่วมแรงร่วมใจ
หมายเลขบันทึก: 201294เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท