อาหารผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง


อาหารหลัก 5 หมู่สำคัญต่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง > ไตวายแล้วกินอย่างไร

สรุปว่าถ้าไตวายเรื้อรังแล้วควรมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

อาหารโดยทั่วไปมี 5  หมู่เราต้องรับประทานให้ครบทุก ๆ หมู่  คือ 1.โปรตีน  ได้แก่  เนื้อสัตว์ต่าง  ๆ  ไข่  นม  และถั่ว  2.  คาร์โบไฮเดรต  ได้แก่  ข้าว  ก๋วยเตี๋ยว  หรืออาหารที่ทำจากแป้งและน้ำตาล  3.  ไขมัน  ได้แก่  น้ำมันหมู  น้ำมันพืช เนยต่าง ๆ  4.  วิตามินและเกลือแร่  มีมากในพวกผลไม้และผัก และ 5. น้ำ ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยไตวาย  การรับประทานอาหารจำเป็นต้องรับประทานให้ครบทั้ง  5  หมู่และไม่ให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจผู้ป่วยไตวายเรื้อรังก็จะทราบได้  แต่ถ้าจะต้องการศึกษาข้อมูลเรื่องอาหารด้วยตนเองขอแนะนำว่า  1  ต้องทราบน้ำหนักของตนเองเพื่อควบคุมอาหารโปรตีนไม่ให้เกินความจำเป็น  หรือน้อยเกินไป  2  ไขมันเป็นอาหารที่ควบคุมได้ยาก และหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไขมันมีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค  แต่ไม่ได้ให้กินได้ทุกอย่างควรเลือกไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวซึ่งได้แก่  น้ำมันมะกอก  น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกคำฝอย  น้ำมันเมล็ดทานตะวัน  น้ำมันรำข้าว  น้ำมันถั่วลิสง  น้ำมันงา  เป็นต้น

ไขมันที่ไม่แนะนำได้แก่  น้ำมันปาล์ม , น้ำมันมะพร้าว  กะทิ  น้ำมันหมู  ไขมันวัว  เนย  ครีม  ซีส  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีในอาหารต่าง ๆ เช่น มันหมู หมูติดมัน  เนื้อติดมัน  หมูสามชั้น  หนังหมู  หนังไก  หนังเป็ด  เครื่องในสัตว์ต่าง  ๆ  ไข่แดง  ไข่ปลา  ปลาหมึก  หอยนางรม  มันปู  มันกุ้ง  แฮมเบเกอร์  เป็นต้นเพราะพวกนี้จะทำให้อ้วนและมีไขมันในเลือดสูงก็จะทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบได้

พวกผักจะใหคุณค่าทางด้านวิตามิน  เกลือแร่ เช่น วิตามินอี วิตามินซี  แคลเซี่ยม  โปแตสเซี่ยม  เป็นต้นยังให้ใยอาหารช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระคล่อง  ท้องไม่ผูก เช่นผักใบเขียว  แต่ต้องระวังพวกที่มีโปแตสเซี่ยมสูง ๆ  เพราะไตไม่สามารถขับสารโปแตสเซี่ยมได้ก็จะทำให้เป็นของเสีย  ตัวอย่างผักที่กินได้  เช่น  แตงกวา  มะระ  ฟักเขียว  มะเขือยาว  พริกหวาน  กะหล่ำปลี  หอมใหญ่  ถ้ากินสดจะต้องกินประมาณ  1  ถ้วยตวงกินแบบสุกได้ประมาณ1/2  ถ้วยตวง  ผักที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่เห็ด  หน่อไม้  ผักแว่น  ผักหวาน  สะเดา  ฟักทอง  น้ำมันผักต่าง  ๆ 

กลุ่มผลไม้เป็นอาหารที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับพวกแป้งและน้ำตาลและให้ประโยชน์ทางวิตามิน  เกลือแร่  และใยอาหารเช่นเดียวกับผัก  โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระดับ  2 -  3  ผลไม้ที่กินได้ต่อมื้อ  ได้แก่  แอปเปิล  1  ผลเล็ก   สับปะรด  6  ชิ้น(ชิ้นละ  1  คำ)  ส้ม  1  ผลกลาง   ส้มโอ  3  กลีบ  เงาะ  4  ผล  ชมพู่  2  ผล  เป็นต้นและขอย้ำว่าไม่ใช่กินในรายการนี้ทั้งหมดในคราวเดียวเพราะจะทำให้โปแตสเซี่ยมในเลือดสูงอย่างแน่นอน  ผลไม้ที่ควรเลี่ยงคือพวกมีโปแตสเซี่ยมมาก ๆ  หรืออยู่ในระดับกลางเช่น  ทุเรียน  ลำไย  กล้วย  สับปะรด  ฝรั่ง  เงาะ  ส้ม  มะม่วง  องุ่น  ลิ้นจี่  ละมุด  ขนุน  มะละกอ  แต่สำหรับ  แตงโม  จะมีโปแตสเซี่ยมน้อยมาก   แต่ที่ต้องงดแน่นอนคือ  น้ำส้มคั้นหรือน้ำผลไม้รวม  แต่ผู้ป่วยบางรายหมออาจให้งดผลไม้ทุกชนิด  บางรายอาจให้กินเพิ่ม  เนื่องจากท่านอาจเป็นโรคไตที่มีเกลือรั่วทางปัสสาวะมากร่างกายขาดเกลือ  หมออาจให้กินเค็มและกินผลไม้เพิ่ม

       สรุปว่า  ถ้าท่านเป็นโรคไตวายเรื้อรัง  ให้ถามหมอของท่านว่า  " กินได้มากน้อยเท่าไร "  เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

น้ำ  คนเราต้องการน้ำมาหล่อเลี้ยงไตตลอดเวลาถ้าขาดน้ำไตจะเสื่อมลงเร็ว  บางรายอาจเสื่อมทันที  เช่นผู้ป่วยโรคไตกินของแสลงแล้วท้องเสีย  ผู้ป่วยจะต้องล้างไตทันที  ดังนั้นต้องดื่มน้ำในแต่ละวันพอควร  และถ้าเป็นโรคไตที่ขับน้ำไม่ได้หรือโรคไตเรื้อรังระดับ  4 - 5  แล้ว  ถ้ากินน้ำมาก  ๆ  น้ำอาจคั่งในตัวและเกิดภาวะน้ำท่วมปอด  หัวใจวายได้  สรุปว่า  " ต้องกินน้ำให้พอเพียง  แต่ต้องไม่มากเกินไป "  ดังนั้นน้ำใน  1  วันพอเหมาะอยู่ที่ตรงไหน  ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน เช่นตวงปัสสาวะได้  1  ลิตรต่อวัน  นำมารวมกับปริมาณที่สูญเสียไปกับเหงื่อ  อุจจาระ ลมหายใจประมาณวันละครึ่งลิตรดังนั้นควรดื่มน้ำวันละ1.5  ลิตร  เป็นต้น  แต่ต้องดูว่าอาหารที่กินเข้าไปมีพวกน้ำมากหรือเปล่าเช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ  โจ๊ก  ข้าวต้ม แกงต่าง  ๆ ซุปต่าง  ๆ เนต้น  อาหารดังกล่าวจะมีน้ำมากต้องหักลบปริมาณน้ำออกจากน้ำที่จะดื่มต่อวัน  แต่ถ้ากินอาหารรสจัด  จะทำให้ดื่มน้ำมากจึงควรเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดทุกชนิด

เรื่องการกินอาหารนั้นยังมีรายละเอียดมากผู้ป่วยควรศึกษาให้ดีและสอบถามหมอ  พยาบาล  ที่รักษาดูแลเรา หรือผู้รูเรื่องอาหารก็จะดีต่อสุขภาพของเราเอง

สมพงษ์/ผู้เสนอ/รายงาน

หมายเลขบันทึก: 201216เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมเลยครับ

อันนี้เป็นความรู้เรื่องอาหารสำหรับคนไข้โรคไตของสมาคมโรคไตนะครับ  ละเอียดดี เอาไปศึกษากันครับ

http://www.nephrothai.org/food/index.asp

มีอยู่ประโยคหนึ่งครับเขียนผิด คำที่ว่าผักที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ... คำที่เขียนผิดก็คือ

คำว่า"ควร" จาก ร.เรือ เป็น ย.ยักษ์ ครับแก้ไขด้วยครับ ก่อนถึงคำที่ลากแถบสี

แดงครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณน้องแดงมาก..ทีหลังทำให้ดวยนะ / พี่พงษ์

อาหารที่ต้องพร้อมไปกับการรักษาที่ดีวันนี้เลยเอาการรักษานี้มาแบ่งให้ได้อ่าน

การรักษาโรคมะเร็งในไตด้วยยาชีวโมเลกุล

วัตถุประสงค์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายได้ถือว่ามีบทบาทเด่นในการรักษาโรคที่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งของไต (mrcc) เป้าหมายคือเพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหัวข้อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

หลักฐาน สันนิทินิบ (Sunitinib) แสดงถึงการรักษามาตรฐานในแนวหน้า สำหรับระดับดีและระดับกลางของกลุ่มการที่ได้รับการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งในไตที่ชัดเจน เอนติบอดี้ที่ใช้ในการรักษามะเร็ง(bevacizumab) / อินเตอร์ฟีรอน(interferon) และ พาโซพานิป (pazopanib) นอกจากนี้ยังมีองค์การอาหารและยาได้รับการอนุมัติเป็นตัวแทน กลุ่มแรกขณะที่ โซราเฟนิป (sorafenib) ได้ย้ายไปยังกลุ่มที่สองและการรักษาในภายหลัง

Temsirolimus (ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งไตระยะลุกลาม) ตัวยับยั้ง เอ็มทอร์ mTORan (mammalian Target of Rapamicin)แนะนำการรักษาแนวหน้าสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำและเป็นทางเลือกแนวหน้าที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อของเซลล์ที่ไม่ชัดเจน

สรุป ในแง่ของความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจชีววิทยาของ MRCC ยาชนิดใหม่ ๆ ได้รับการคิดค้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ พร้อมกับทางเลือกในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท