บัญชีกลางศึกษาการรับสิทธิบำนาญร่วมกับ กบข


กรมบัญชีกลางประชุมหารือร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิบำนาญ เพื่อให้ผู้รับบำนาญได้รับประโยชน์มากที่สุด

กรมบัญชีกลางประชุมหารือร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)  เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิบำนาญ เพื่อให้ผู้รับบำนาญได้รับประโยชน์มากที่สุด

นายมนัส  แจ่มเวหา  รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง  ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง  เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้มีข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จำนวนหนึ่ง เสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสูตรการคำนวณบำนาญในกรณีที่เข้าเป็นสมาชิก กบข. โดยเห็นว่า ทำให้ได้รับเงินบำนาญน้อยลง  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สมัคร      เป็นสมาชิก  จึงมีความประสงค์ขอให้กรมบัญชีกลางปรับสูตรในการคำนวณบำเหน็จบำนาญใหม่ เพื่อให้ได้รับบำนาญรายเดือนสูงขึ้น

ตามกฎหมายในปัจจุบัน ข้าราชการผู้เกษียณอายุที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. จะได้รับบำนาญ โดยใช้เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ (เป็นปี) หารด้วย 50   ส่วนการคำนวณเงินบำนาญของสมาชิก กบข. จะคำนวณโดยใช้เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย มาเป็นฐานการคำนวณ  แต่คำนวณแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย  ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้ผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และมีเวลาราชการทวีคูณได้รับเงินบำนาญน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  เพราะถูกจำกัดมิให้เกินร้อยละ 70  หรือผู้ที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนมาก ๆ ในช่วงก่อนเกษียณจะเสียเปรียบ เพราะถูกจำกัดให้ใช้เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 กรมบัญชีกลาง     กบข.   และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับกรณีนี้  ในเบื้องต้นจะพิจารณาว่า การได้รับเงินบำนาญน้อยลง เพราะการถูกจำกัดวงเงินไว้ให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายนั้นจะมองเพียงกรณีนี้กรณีเดียวไม่ได้  ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า ผู้ที่เข้าเป็นสมาชิก กบข. จะได้รับ
เงินประเดิม  เงินสะสม เงินสมทบ  เงินชดเชย  และดอกผลของเงินเหล่านี้ด้วย  ซึ่งผู้ที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก กบข. จะได้ไม่ได้รับผลประโยชน์ในส่วนนี้   อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่า ควรจะต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องนี้  โดยจะนำข้อมูลของผู้ที่ออกจากราชการและเป็นสมาชิก กบข.  เมื่อปีงบประมาณ 2550 ซึ่งมีจำนวน 8,518 คน มาคำนวณเงินก้อนที่ได้ และเงินบำนาญเปรียบเทียบเงินบำนาญสูตรเก่า เพื่อหาจำนวนเงินบำนาญที่เป็นส่วนต่างของทั้งสองกลุ่ม ว่าเป็นจำนวนเงินประมาณเท่าไร  โดยมีสมมติฐานว่า ผู้ที่ได้รับเงินก้อนสามารถนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ย
เงินฝากประจำ 1
ปี  และผู้รับบำนาญมีชีวิตอยู่ต่อตามอายุเฉลี่ยตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจ  จากนั้นจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคำนวณเปรียบเทียบกับเงินประเดิม  เงินสะสม  เงินสมทบ  เงินชดเชย  และดอกผลที่เกิดขึ้น ว่าเงินทั้งหมดที่ได้เพิ่มเติมจาก กบข. สามารถใช้จ่ายไปได้เป็นระยะเวลาเท่าใด  มากกว่าหรือน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.

ทั้งนี้ เมื่อกรมบัญชีกลางและ กบข. ได้ข้อมูลเปรียบเทียบดังกล่าวมาเรียบร้อยแล้ว จะนำไปดำเนินการต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. ต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 201145เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ผมมีความเห็นว่าน่าจะเพิ่มจำนวนเงินบำนาญแต่ละเดือนให้มากขึ้นเพราะปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นมาก บางคนได้เงินบำนาญเดือนละห้าพันหกพันบาท ซึ่งลำบากกันมาก แต่ส่วนมากจะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ลำบาก เนื่องจากข้าราชการที่ระดับสูง ๆ จะนำเงินประจำตำแหน่งมาคำนวณด้วย ผมมีความเห็นว่าน่าจะให้เงินบำนาญคนที่ไม่ถึง 15000 ให้ได้รับ 15000 บาททุกคน ขอบคุณมากครับ

ผมออกจากราชการโดยเกษียณก่อนกำหนด ผมได้เงินรวมแล้ว 6แสนกว่าบาท และแล้วผมก็โดนหักไป50000 กว่าบาทโดยที่เค้าบอกว่า กบข. ขาดทุนในปีนี้ แล้วคนที่ได้รับโดนหักไปแล้วจำนวน 5 คนแล้วที่ผมรู้จัก แต่ผมยังไม่โดนน่ะครับ เพราะว่าของผมเงินยังไม่เข้า ใครโดนแบบนี้บ้างช่วยแสดงความคิดเห็นหน่อยครับอยากฟัง

การคำนวณบำนาญ กบข.สูตรใหม่ จะมีผลย้อนหลังหรือไม่ครับ และจะเสร็จทันการเกษียณก่อนกำหนด 1 ตค. 52 นี้หรือไม่ครับ

ทำไมทางกรมบัญชีกลางไม่ส่งข่าวเรื่องสูตรบำนาญ กบข. เลยปีกว่าแล้ว(บอก6 เดือน)

ตอบ

กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจ้างสถาบันวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการช่วยเหลือผู้รับบำนาญด้านการปรับสูตรการคำนวณบำนาญ

และการจ่ายจำเหน็จดำรงชีพแล้ว ปัจจุบันขอรับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะมีใจให้กับเรื่องนี้หรือ? เฝ้ารอผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคาร หายจ้อย

อดเอา อดเอา อดเอา ไว้รัฐบาลหน้า

อยากทราบการคำนวณบำเหน็จตกทอดของ กบข.(30เท่าของเงินบำนาญ)ถ้าคำนวณจากบำนาญของ กบข.คือไม่เกิน70%ก็จะทำให้สมาชิกขาดทุนเพิ่มอีกหลายแสน

ดังนั้นผมขอเสนอดังนี้

1 บำเหน็จตกทอดต้องใช้คำนวณจากการคำนวณบำนาญเดิมก่อนเพราะไม่เกี่ยวกับเงินที่สมาชิกได้จาก กบข.เพื่อลูกหลาน สมาชิกก็จะไม่บ่นกันมาก

2 ทำไมต้องเฉลี่ย60เดือนด้วยรัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชนไม่ให้อยู่กินอย่างลำบาก

เมื่อค่าใช้จ่ายไม่พอรัฐบาลก็ต้องขึ้นเงินเดือนให้อยู่ดีเพราะฉะนั้นควรจะลดลงเหลือประมาณ20-30เดือนก็จะไม่โดนด้า

3 ชวงนี้รัฐบาลลดค่ายาหลายรายการของข้าราชการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นทั้งๆที่ตอนหนุ่มๆก็ไม่ค่อยได้ใช้ภรรยาก็ใช้ของประกันสังคมลูกๆก็ไม่เคยใช้จนหมดสิทธิไปแล้วดั้งนั้นควรคิดบำนาญกบข.เป็น80-90%

อยากทราบการคำนวณบำเหน็จตกทอดของ กบข.(30เท่าของเงินบำนาญ)ถ้าคำนวณจากบำนาญของ กบข.คือไม่เกิน70%ก็จะทำให้สมาชิกขาดทุนเพิ่มอีกหลายแสน

ดังนั้นผมขอเสนอดังนี้

1 บำเหน็จตกทอดต้องใช้คำนวณจากการคำนวณบำนาญเดิมก่อนเพราะไม่เกี่ยวกับเงินที่สมาชิกได้จาก กบข.เพื่อลูกหลาน สมาชิกก็จะไม่บ่นกันมาก

2 ทำไมต้องเฉลี่ย60เดือนด้วยรัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชนไม่ให้อยู่กินอย่างลำบาก

เมื่อค่าใช้จ่ายไม่พอรัฐบาลก็ต้องขึ้นเงินเดือนให้อยู่ดีเพราะฉะนั้นควรจะลดลงเหลือประมาณ20-30เดือนก็จะไม่โดนด้า

3 ชวงนี้รัฐบาลลดค่ายาหลายรายการของข้าราชการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นทั้งๆที่ตอนหนุ่มๆก็ไม่ค่อยได้ใช้ภรรยาก็ใช้ของประกันสังคมลูกๆก็ไม่เคยใช้จนหมดสิทธิไปแล้วดั้งนั้นควรคิดบำนาญกบข.เป็น80-90%

 

 

กระผมจ่าสิบเอกเสวี เลพล สังกัด รพศ.๑ พัน๒ หมายเลขสมาชิก3 1601 00451 60 1มีความประสงค์ต้องการลาออกจากการเป็นสมาชิก กบข.เนื่องจากทาง กบข.แก้ไขสัญญาจากการจ่ายร้อยละ 90%มาเป็นร้อยละ70%ของเงินบำนาญ

ข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย

ขอให้กรมมบัญชีกลาง ฯ ช่วยเร่งลัดสูตรบำนาญ กบข.ใหม่ ให้สมาชิกทราบด้วย เพราะล่วงเลยเวลามานานแล้ว

ขอให้เริ่มแก้ไขจากข้าราชการที่สมัครใจก่อนเพราะระยะเวลาไม่ยาวนานทำให้สูตรที่คิดไว้ไม่เป็นธรรม หรืออนุญาตให้สามารถลาออกได้เพื่อใช้ในการคำนวนสูตรเดิม ปัญหาวันทวีคูณที่พวกเรามีสิทธิได้รับ และความไม่เป็นธรรมเพราะถูกตัดจากบำเหน็จตกทอด30 เท่า ของบำนาญลดลง ขอถามว่า กบข.ให้อะไร เช่น ถ้ารับบำนาญแบบเก่า 30,000 บาท ก็จะรับบำเหน็จตกทอด900,000บาท แต่ถ้ารับบำนาญสูตร กบข.จะได้รับไม่เกิน 21,000บาท รับบำเหน็จ 630,000บาท เห็นชัดหรือยังครับ

เงินกองทุน กบข. ทั้งหมดมาจากข้าราชการทุกคนที่เป็นสมาชิก ทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของกองทุน ทำไมต้องออกกฎหมายมาบังคับกดขี่กีดกันกันด้วย ทั้งที่ความเดือดร้อนความจำเป็นในภาวะปัจจุบันเป็นอย่างไรเห็นๆกันอยู่ เหมือนระบบศักดินา ระบบคอมมิวนิสต์ไม่มีผิด เราเป็นประเทศประชาธิปไตยต้องรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่ภายใต้หลักการและเหตุผล ความจำเป็นและยึดฉันทามติ ไม่ใช่ให้คนนอกกองทุนมาเป้นผู้กำหนด(คุณเป็นใครมีสิทธิอะไร)

ระเบียบเขียนขึ้นมาได้ก็ต้องแก้ไขได้หากมีความจำเป็น ....แสดงพลังกันเถิดพี่น้องชาว กบข.ทุกคน ช่วยกันขับไล่พวกเหลือบที่คอยสูบเลือดจ้องแต่จะเอาผลประโยชน์ใส่ตนไล่มันออกให้หมด... เปลี่ยนมาเป็นการบริหารเงินกองทุนเหมือนระบบสหกรณ์ครูดีที่สุด

อรุณลักษณ์ แม้นเทวินทร์

อยากลาออกจาก กบข.จังเลย ไม่ยุติธรรมสำหรับสมาชิกเลย บริหารอย่างไร ขาดทุนย่อยยัยแล้วช่วยเหลือสมาชิกได้อย่างไรบ้าง จ้างมาบริหารก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยนะ เด็กอมมือก็บริหารได้ เงินก็ของสมาชิก การชี้แจงก็ไม่โปร่งใส งงไปหมด ยอมให้ลาออกเถิดถ้าไม่เต็มใจจะอยู่แล้ว

ตอบ คุณอรุณลักษณ์ แม้นเทวินทร์

  เนื่องจากมีสมาชิก กบข. เรียกร้องให้แก้ไข พ.ร.บ.กบข. เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้ตามคำชักชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก (ปี 2540) ซึ่งเป็นเรื่องระดับนโยบายเกี่ยวโยงกับงบประมาณแผ่นดิน ทุกฝ่ายต้องหารือกันอย่างรอบคอบ เพื่อหาทางออกร่วมกันมาชิก กบข.จะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยตัวแทนจากรัฐบาลเป็นผู้บริหารสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง ผู้บริหาร กบข. และสมาชิก กบข. ต้องหาความชัดเจนต่อไป

  ควรเพิ่มบำนาญ ของกบข.เป็นอย่างน้อย ร้อยละ 85-90 เพื่อที่จะได้ไม่เเตกต่างกันมากนัก ปกติอายุคนไทยเฉลี่ยที่ 70 -72 ปี อยู่เเล้ว เเละเห็นด้วยที่ คนที่รับบำนาญตอนเกษียณ รับได้ไม่ถึง 15000 บาท ปรับเป็น 15000 บาท ต่อเดือน

วรรณศิริ นัดดากูล

อายุ50ปีรับราชการมา27ปีถ้าลาออกจาก กบข เราจะได้เงินตอบแทนครบทุกช่องไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท