ใจหรือกาย......ที่พิการ


นพิการ เรามักนิยามของความพิการที่ร่างกาย

พิการแขน พิการขา พิการมือ พิการตา พิการหู อีกสารพัด

แต่พิการใจ มิใช่อกหัก แต่พิการในต่อมสำนึกเอื้ออาทร แบ่งปันกัน

ดังนั้นคนที่มีร่างกายครบ ๓๒ ประการ อาจพิการใจก็เป็นไปได้

ในเวทีประเมินผลการดำเนินงานสุขภาพจิตและจิตเวชขึ้น ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ๑ โรงพยาบาลน่าน มีเรื่องราวโดนใจเรื่องของคนไม่พิการใจกับคนพิการทางร่างกายน่าสนใจยิ่ง

ทีมสุขภาพจิต รพ.เชียงกลาง และเครือข่ายสุขภาพจิต อ.เชียงกลาง ได้นำเสนอผลงานการดำเนินงานสุขภาพจิตเรื่อง สานสายใยดวงใจเชียงกลาง ป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยอัมพาต อ.เชียงกลาง จ.น่าน นำเสนอโดยคุณอรไท  พิพิธพัฒน์ไพสิฐ พยาบาลวิชาชีพ ๗ รพ.เชียงกลาง

        ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยอัมพาตหรือผู้พิการ มักเป็นคนที่ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างที่ควรเป็น ทีมสุขภาพจิต รพ.เชียงกลาง จึงได้ร่วมกับทีมสุขภาพจิต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเชียงกลาง จึงได้จัดประชุมร่วมกัน และจัดทำฐานทะเบียนผู้พิการให้เป็นปัจจุบันและครอบคลุม และที่สำคัญได้มีการอบรมอาสาสมัครผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ป่วยอัมพาตในชุมชนขึ้น หลังการอบรมได้นำไปสู่การจัดตั้งเครือข่ายจิตอาสาและผู้ดูแลผู้พิการในชุมชนขึ้น และที่สำคัญได้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช อ.เชียงกลางขึ้นภายใต้ชื่อ ชมรมสายใยดวงใจเชียงกลาง

        เครือข่ายฯ ได้มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทุกเดือน และออกไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจผู้พิการ ผู้ป่วยอัมพาตที่บ้านเป็นประจำทุกเดือน เป็นการออกไปให้ความรู้ กำลังใจ และให้การดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้เขาสามารถดูแลช่วยเหลือกันและกันได้ เช่น การอาบน้ำ ตัดผม การฝึกเดิน การบริหารกาย บริการจิต การดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลที่อยู่ที่นอน เป็นต้น

        ที่สำคัญยังเอาเรื่องราวของความทุกข์ยากที่พบในการออกเยี่ยมเยือนผู้พิการและผู้ป่วยมาเล่าสู่ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การช่วยเหลือเยียวยากันตามกำลังและศักยภาพของพื้นที่

เรื่องราวของความทุกข์ยาก เหมือนรายการวงเวียนชีวิต ที่ผ่านการบอกเล่าสู่กันฟัง นำไปสู่การอาสาช่วยเหลือกันและกัน ก่อนที่รายการวงเวียนชีวิตตัวจริงจะมา ทำให้เกิดกระบวนการดูแลช่วยเหลือกันและกัน

นี่คือตัวอย่างเรื่องราวของคนจิตอาสา ที่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์

เรื่องราวของคนไม่พิการทั้งกาย และไม่พิการทั้งใจ ที่มีความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

วามพิการจึงไม่ได้นิยามแค่ว่ากายพิการเท่านั้น หากแต่รวมถึงจิตใจของเราด้วยใช่หรือไม่....

เคล็ดวิชา

๑. จิตพื้นฐาน เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์

๒. ทีมงานหลากหลาย ท้องถิ่นร่วมด้วย

๓. จับประเด็นความทุกข์ยากของคนมาสร้างจิตสำนึกร่วม "วงเวียนชีวิต"

๔. พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอ

หมายเลขบันทึก: 200570เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

* พิการกายใจปกติ....นับถือค่ะ

* พิการใจกายปกติ..น่าห่วงใยเหมือนกันนะคะ

* โลกนี้สับสนจริงหนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท