การศึกษามาเลเซีย


การศึกษา

การศึกษาในประเทศมาเลเซีย

ระบบการบริหารศึกษาในประเทศมาเลเซียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบการบริหาร

การศึกษาที่ได้ผ่านการปรับปรุงพัฒนาจากพื้นฐานเดิมของประเทศที่มีชาวมาลายูผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีวิถีชีวิตแบบชาวมุสลิมตะวันออก เดิมระบบการบริหารการศึกษาของมาเลเซียบริหารแบบไม่เป็นทางการ มีปอเนาะ มัสยิด หรือบ้านผู้รู้เป็นฐานในการจัดการศึกษา ต่อมาเมื่อประเทศตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ระบบการบริหารการศึกษาในมาเลเซีย (เดิมเรียกว่า มาลายา) ได้พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยได้รับอิทธิบทจากระบบการศึกษาแบบอังกฤษสูงมากเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆในอาณานิคมของประเทศอังกฤษ  ต่อมาได้เริ่มมีการพัฒนาตามความเหมาะสมของบริบทด้านต่างๆ ของประเทศมาเลเซียโดยเริ่มในปี 1956 มีการศึกษาสภาพ               การจัดการศึกษา เรียกว่า  รายงานตนราซัค ( Penyata Razak 1956 )  และ ระเบียบการศึกษา 1957 ( Ordinan Pelajaran 1957 ) เริ่มมีแผนการศึกษาชาติ มีการตกลงที่จะใช้ภาษามาลายูเป็นภาษาราชการและภาษากลางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เริ่มใช้หลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมในภูมิภาคมากขึ้น และเริ่มมีการใช้ระบบการสอบวัดผลกลางทั่วประเทศ  ต่อมาในปี 1960 ได้มีรายงานผลการบริหารการศึกษาฉบับ รายงาน ราห์มาน ตาอิบ  ( Rahman Taib 1960 ) และ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา 1961 เป็นปีที่เริ่มมีการใช้ภาษามาลายูเป็นภาษาหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เริ่มการสอบใช้ ภาษามาลายู และอังกฤษ เริ่มมีการส่งเสริมการศึกษาสายเทคนิคศึกษาและอาชีวศึกษาสร้างความพร้อมด้านแรงงานฝีมือตามความจำ เป็นที่เกิดจากการพัฒนาประเทศ กำหนดให้มีหลักสูตรศาสนศึกษาและจริยศึกษาเป็นหลักสูตรแกนทุกระดับการศึกษาในป  1979 รัฐสภาได้จัดทา ํรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาการศึกษาเน้น 3 Rs ( ทักษะการอ่าน การเขียน และคิดคำนวณ ) กิจกรรมในสถานศึกษาให้ความสำคัญ  ด้านการสร้างความสามัคคี และการมีวินัย สร้างความเป็นชาตินิยมมาเลเซีย ขยายการศึกษาพื้นฐานจาก 9 ปี  เป็น 11 ปี พัฒนาระบบการบริหารการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งหลักสูตรในปี 1995 ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา 1995 เน้นพัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐานระดับสากล และก้าวสู่เป้าหมายของความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เริ่มให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ( ช่วงอายุ 5 - 7 ปี ) ใช้แผนการศึกษาชาติ ระบบ 6 : 3 : 2 : 1 (1 )   โดยกำหนดให้การศึกษาระดับอนุบาลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาชาติ ระดับประถมศึกษาเปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนในโรงเรียนที่สอนโดยภาษาแม่ของตนเป็นหลัก แบ่งเป็น 3 ประเภท คือโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ ใช้ภาษามาลายู ภาษาจีน และภาษาทมิฬ ระดับมัธยมศึกษาแบ่งเป็นสายสามัญศึกษาเทคนิคศึกษา และอาชีวศึกษา ปัจจุบันมีการส่งเสริมวิทยาลัยเทคนิค และโปลีเทคนิค และการศึกษาเอกชนเป็นพิเศษ ระดับอุดมศึกษามีทำ การสอนตั้งแต่หลักสูตรระดับอนุปริญญา จนถึงระดับหลังปริญญาเอก ( Post Doctoral Degrees ) และเป็นการศึกษานานาชาติ รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้สถาบันอุดมศึกษาบริหารแบบนอกระบบราชการ และถือการศึกษาเป็นสินค้าทางปัญญาของชาติที่จะสามารถนำ เงินตราเข้าประเทศ และเป็นสื่อในการเผยแผ่อารยะธรรมชองชาติ เช่นประเทศที่พัฒนาแล้วระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารการศึกษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ    ระดับกลุ่มโรงเรียน และระดับโรงเรียน การจัดโครงสร้างการบริหารการศึกษาในแต่ละระดับ   เน้นโครงสร้างที่เล็กกะทัดรัด  กระชับ และมีประสิทธิภาพ         การบริหารการศึกษาระดับชาติเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government ) มีการบริหารการศึกษาระดับชาติอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federa  Government / Kerajaan Pusat) การศึกษาทุกประเภท ทุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ          เพียงกระทรวงเดียว   ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นแบบการศึกษานอกระบบ ( Non –formal Education ) จะมีกรมจากกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น ลักษณะการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียโดยรวมมีลักษณะค่อนข้างจะเป็นการบริหาร   แบบ  รวมศูนย์สู่ส่วนกลาง เพื่อความเสมอภาค และความมีมาตรฐานเดียวกันในด้านการศึกษาทั้งประเทศ ดังนั้นในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์   ( กฎกระทรวง ระเบียบ ฯลฯ ) หลักสูตร        การสอบ  และวัดผลระดับตัวประโยค  การตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษา   การจัดสรรงบประมาณ   การบรรจุแต่งตั้ง ( ครู ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา ) เป็นต้น จะกำหนดจากส่วนกลางคือกระทรวงศึกษาธิการ และยังมีกิจกรรมหลายกิจกรรมที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดำ เนินการเองทั้งหมด  เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง   การก่อสร้าง                 ( การก่อสร้างของทางราชการทุกประเภท ทุกสังกัดดำ เนินการโดย สำ นักโยธาธิการJabatan Kerja Raya - JKR. )  ตำ ราเรียน การประเมินผลชั้นตัวประโยค และข้อสอบมาตรฐานระดับต่าง ๆ (ประกาศนียบัตร SPM. / SPVM./ STPM.) การตรวจสอบมาตรฐานโรงเรียน  การกำหนดนักศึกษา    ผู้มีสิทธิเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นต้น  การบริหารการศึกษาในระดับรัฐ  และเขต            การปกครองพิเศษ มีหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดการศึกษา  2  หน่วยงาน คือ

                 1. สำนักงานการศึกษาแห่งรัฐ หรือ สำนักงานการศึกษารัฐ ( The State Educational Office / JabatanPendidikan NegeriJPN. ) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา  ( National  Education Institutions / Sekolah-sekolah Kebangsaan ) ในแต่ละรัฐที่สังกัดรัฐบาลกลาง

2.  สำนักงานมนตรีแห่งรัฐฝ่ายการศึกษาของรัฐบาลแห่งรัฐ ( State Government )  ในแต่ละรัฐ  เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาในส่วน สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นภายใต้มูลนิธิต่าง ๆ                      ( Foundations /Yayasan-yayasan Negeri )  ของรัฐบาลแห่งรัฐ และการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน ฝ่ายการศึกษาของรัฐบาลแห่งรัฐ  จะรับผิดชอบด้านการจัดให้มีอาคารสถานที่ บุคลากร และเงินเดือน  สวัสดิการต่าง ๆ  งบประมาณในการบริหารสถานศึกษา   ส่วนหลักสูตรและระบบการวัดผลประเมินผล  ตลอดจนการตรวจสอบมาตรฐาน  จะใช้ของกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกันกับสถานศึกษาแห่งชาติ สังกัดรัฐบาลกลาง  การบริหารการศึกษาระดับอำเภอ  จะมีสำนักงานการศึกษาอำเภอ หรือ สำนักงานการศึกษาอำเภอ  ( District Educational Office / Jabatan Pendidikan Daerah – JPD. )  รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาชาติภายในอำเภอ ( ส่วนสถานศึกษา ในสังกัดรัฐบาลแห่งรัฐที่ตั้งอยู่ในแต่ละอำเภอ  จะขึ้นตรงกับสำนักงานมนตรีแห่งรัฐ  ฝ่ายการศึกษา )         การบริหารการศึกษาระดับกลุ่มโรงเรียน เป็นการบริหารงานเฉพาะ    การประสานงาน  และความร่วมมือกันทางวิชาการ   ตลอดจนความร่วมมือด้านทรัพยากร             ทางการศึกษาระหว่างสถานศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียน   เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ไม่รวมสายงานบังคับบัญชา  การบริหารการศึกษาระดับกลุ่มโรงเรียน  จะเป็นการรวมกลุ่มสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา  สังกัดรัฐบาลกลางที่ตั้งอยู่ในเขต ( Zone ) ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน  ( ต่างอำเภอกันก็ได้   แต่ต้องอยู่ในรัฐเดียวกัน)  จำนวน15    20  โรงเรียน   เป็น  1 กลุ่มโรงเรียน   โดยมีสำนักงานประสานงาน  และดำ เนินกิจกรรมต่าง ๆ  เรียกว่า สำนักงานศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน  (Resources Center/Pusat Kegiatan  Guru -PKG. )   การบริหารการศึกษาระดับสถานศึกษา เป็นการบริหารภายในสถานศึกษา เช่นมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน และสถานศึกษาอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น  มีผู้บริหารสถานศึกษาและคณะบริหารของสถานศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบ ในสถานศึกษาระดับ ตํ่ากว่าปริญญา  จะมี สถาบันทางการศึกษา หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาหรือในแต่ละสาขาวิชาชีพ และ สมาคมครู - ผู้ปกครอง ( Parents and Teachers Association – PTA. ) ร่วมบริหารในฐานะเป็น ที่ปรึกษาของผู้บริหาร  และคณะบริหารแต่ละสถานศึกษา  การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่ง   จะเป็นผู้เสนอคำของบประมาณ  ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการ       กำหนดเสนอรับการพิจารณาตามลำดับจนถึงกระทรวงศึกษาธิการ ปกติจะได้รับการจัดสรรตามที่เสนอ  ทั้งนี้เพราะมีมาตรฐานกลางกำหนดไว้แล้ว   ด้านหลักสูตร   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล  จะกำหนดมาตรฐานหรือกรอบการดำ เนินการ และติดตามตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง   เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ   และเป็นฐานในการก้าวสู่มาตรฐานสากล ในปี ค..2000  รัฐบาล     กำหนดเป้าหมายให้สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องได้รับ MS ISO 9002 ทุกสถานศึกษา  สนองพระราชบัญญัติการศึกษา    ฉบับ 1995 และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศเป็นประเทศพัฒนาแล้ว    ในปี ค.. 2020  ( Vision 2020 / WAWASAN 2020 )

     ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ และมี  ความเหมาะสมกับบริบทของศาสนาวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย    คุณการศึกษาในมาเลเซียมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษซึ่งมีจำนวน  48  ประเทศกระจายทั่วโลก   รัฐบาล และสังคมมาเลเซียยอมรับและให้ความ  สำคัญว่า การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ   ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราช                 มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ดี  และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ก็เพราะพื้นฐานด้านการศึกษา      เป็นสำคัญ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกอาเซียน มีประวัติ และอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  ตั้งอยู่บนแหลมมลายูทางใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว   มีพื้นที่ทั้งหมด  329,750   ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย   สิงคโปร์ บรูไน   และอินโดนีเซีย    สภาพทางภูมิศาสตร์ส่วนบนแหลมมลายูจะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล           ทั้งฝั่งมหาสมุทรอินเดีย  และมหาสมุทรแปซิฟิก   ถัดจากชายฝั่งจะเป็นที่ราบ    มีภูเขาพาดกลางแนวเหนือใต้     ส่วนบนเกาะบอร์เนียว  ส่วนที่เป็นรัฐซาบาห์  และซาราวัค เป็นที่ราบแคบ ๆ ชายฝั่งทะเล ถัดมาเป็นภูเขาแบบป่าทึบ   แบบป่าดงดิบเขตมรสุม   มีป่าไม้แบบธรรมชาติดั้งเดิมที่อุดมสมบูรณ์จำนวนประชากร ประมาณ   26   ล้านคน  (  คาดว่าในปี 2010 จำนวน  27  ล้านคน  และปี 2025      จำนวน  35  ล้านคน )  มีอัตราเพิ่มของประชากรประมาณ  2 . 5 %  (  ปีละ 467,500   คน ในเวลาประมาณ  27 ปี จะมีประชากรเป็น 2 เท่า )  อัตราความหนาแน่นของประชาชนต่อพื้นที่                 เป็น  146.9   คนต่อพื้นที่   1   ตารางไมล์   อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง  35 %  ของประชากรทั้งหมด      ในจำนวนประชากรทั้งหมด    เป็นภูมิบุตร  ( มาลายู และชาวเผ่าดั้งเดิม )  59 %   เป็นผู้ที่มีเชื้อชาติจีน 32  %   และเชื้อชาติ อินเดีย   9 %    กลุ่มเชื้อชาติมาลายูนับถือศาสนา อิสลาม    ชาวจีนส่วนใหญ่   นับถือศาสนาพุทธ  และชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู    ส่วนชาวเขานับถือลัทธิ   และความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละเผ่า ( Tribal Religions )

ระบอบการเมืองและการปกครอง

ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากจักรภพอังกฤษ    เมื่อวันที่ 31    สิงหาคม     1957

เป็นประเทศหนึ่ง  ที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ ( Constitutional Monarchy ) ที่มีราชาธิบดี ( Paramount Ruler / Yang Di-pertuan Agong )  เป็นประมุข ซึ่งมาจากสุลต่าน(Sultan ) ของแต่ละรัฐ ( State / Negeri ) หมุนเวียนกันเป็นราชาธิบดี  ในแต่ละรัฐ  จะมีสุลต่านเป็นประมุข ยกเว้นรัฐปีนัง  ( Pulau Pinang ) กับ รัฐมะละกา ( Melaka )  การบริหารประเทศมีรัฐบาลกลาง            ( Federal Government /Kerajaan Pusat )  เป็นผู้บริหาร มีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหารสูงสุด   ส่วนในแต่ละรัฐ   จะมีรัฐบาลประจำรัฐบริหาร ( State Governor / Kerajaan Negeri  ) เป็นคณะมนตรี แห่งรัฐ   มีมุขมนตรีแห่งรัฐ (Governor / Menteri Besar  )  เป็นหัวหน้า   อำนาจของรัฐบาลแห่งรัฐมีจำ กัดตามรัฐธรรมนูญแห่งชาติกำหนดในรัฐบาลกลาง  ( Federal Government )  นายกรัฐมนตรี    ( Prime Minister ) มาจากการเลือกตั้ง ( หัวหน้าพรรคฝ่ายรัฐบาล )  เป็นผู้บริหารประเทศ อำนาจนิติบัญญัติ ใช้ระบบรัฐสภาแบบ 2 สภา ( Bicameral Parliament  )  คือสภาผู้แทนราษฎร ( House of Representatives )  กับ วุฒิสภา ( Houseof Senate ) สมาชิกทั้ง 2 สภามาจากการเลือกตั้งการปกครอง แบ่งเขตการปกครองเป็นรัฐ ( State / Negeri-negeri ) มีทั้งหมด 14 รัฐ ได้แก่ รัฐKelantan , Terangganu, Perlis, Kedah, Selangore, Sabah, Sarrawak, Pulau Pinang,Pahang,Perak,Negeri Sembilan, Melaka, Johor Baru กับอีก 2 เขตการปกครองพิเศษ              ( Federal Territory ) คือ Wilayah Persekutuan ( เขตกรุงกัวลาลัมเปอร์) และ Labuan  แผนปฏิบัติ   ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เด่นชัด เช่น

1.   การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure Development ) มาเลเซียได้ดำเนิน        การสร้างปัจจัยพื้นฐานอย่างจริงจัง  ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา  และสังคม   ฉบับที่ 5         ( 1987 – 1990 )  ต่อด้วยแผนพัฒนา ระยะที่ 6  ( 1991 – 1995 ) และระยะที่ 7  ( 1996 – 2000 )   เช่น

1.1 ด้านการคมนาคมขนส่งทางบก  มีถนนสายต่าง ๆ ในส่วนแหลมมลายูถึง 

23,600   กิโลเมตร    ซาบาห์ 3,782 กิโลเมตร  และซาราวัค 1,644 กิโลเมตร   สภาพของถนนเกิน ร้อยละ 90  เป็นถนนราดยาง   มีถนนระดับซูเปอร์ไฮเวย์เชื่อมระหว่างรัฐและภูมิภาค    เช่นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเหนือใต้  ( PLUS. Super Highway Project / Projek Lebuh RayaUtara – Selatan ) เป็นถนนสี่เลนทางขนานแบบ Motor way เป็นต้น

1.2 ด้านการขนส่งทางรถไฟ มีเส้นทางรถไฟในส่วนแหลมมาลายู 1,665 กิโลเมตร

เชื่อมเหนือ  ใต้ และตะวันออกกลาง ของประเทศ เป็นต้น

1.3 การขนส่งทางอากาศ  สนามบินในประเทศมีทั้งหมด 119 แห่ง   ในจำนวนนี้

32  แห่งเป็นสนามทางวิ่งถาวร  ในจำนวนสนามบินถาวรมี   26 แห่งเป็นสนามบินขนส่งเชิงพาณิชย์ และหนึ่งในจำนวนดังกล่าว   เป็นสนามบินนานาชาติที่ทันสมัยแห่งใหม่ที่เมือง ซือปัง เรียกว่า Kuala Lumpur International  Airport – KLIA. ส่วนที่เหลือกระจายเป็นสนามบินภายในประเทศประจำรัฐต่าง   ทั้ง 14 รัฐ เป็นต้น

1.4 การขนส่งทางนํ้า มาเลเซียได้พัฒนาท่าเรือต่างๆทั้งท่าเรือโดยสาร และท่าเรือ

ขนส่งสินค้านานาชาติ กระจายเกือบทั่วประเทศ เช่น ท่าเรือนานาชาติ Penang , Tanjong Kidurong, Kota Kinabalu, Kuching, Pasir Gudang, Port Kelang, Sandakan, Tawau เป็นต้น

1.5 การสื่อสารโทรคมนาคม มาเลเซียได้ให้บริการด้านการสื่อสารระบบไมโครเวฟ

และไฟเบอร์ออพติก เชื่อมทั่วประเทศทั่วถึงเกือบทุกบ้านในทุกหมู่บ้าน

2. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  ประเทศมาเลเซีย  ได้พัฒนาเศรษฐกิจเป็นนโยบายหลักของประเทศ   เน้นอุตสาหกรรมเกษตร   และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  กระจายทั่วประเทศ  มีแผนแม่บทในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี   ตลอดจนนโยบายการมีสินค้าภายใต้ชื่อ  และตราของตนเอง เช่น โครงการอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติ (PROTON ,PERODUA , etc.,) อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์แห่งชาติ ( MEDONAS)  และ อุตสาหกรรมเครื่องบินแห่งชาติ เป็นต้น 

3. การพัฒนาด้านสาธารณสุข     การพัฒนาด้านสาธารณสุขในมาเลเซีย   ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สุขภาพของประชาชนได้รับการดูแลอยู่ในระดับดี 

4. ด้านการจัดการศึกษา    การศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีการให้ความสำคัญด้านการศึกษาในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาสูงถึง 6.9 % ของ GNP และคิดเป็นร้อยละ 16.9 ของงบประมาณประจำ ปีของรัฐบาล การจัดการศึกษาโดยรวมในประเทศ สรุปได้ดังนี้

1 ) สภาพการรู้หนังสือ

อัตราการรู้หนังสือ อยู่ที่ 78 % อายุช่วงการศึกษาภาคบังคับ 6 – 14 ปี

2 ) จำนวนโรงเรียน และนักเรียน

(1) โรงเรียนรัฐบาล

- จำนวนโรงเรียนประถมศึกษา มี 7,085 โรงเรียน นักเรียน 2.8 ล้านคน

- จำนวนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มี 1,522 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณ

   1.8 ล้านคน

(2 ) โรงเรียนเอกชน ( Ministry of Education Annual Report , 1997 : 63 )

- จำนวนโรงเรียน อนุบาล 2,314 โรง

- จำนวนโรงเรียนประถมศึกษา 91 โรง

- จำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษา 180 โรง

- จำนวนสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 449 สถาบัน

3) ทรัพยากรทางการศึกษา

(1) ห้องสมุด

- ห้องสมุดแห่งชาติ 6 แห่งทั่วประเทศ

- ห้องสมุดสาธารณะ 121 แห่ง ห้องสมุดเฉพาะ 265 แห่ง กระจัดกระจาย

   ทั่วประเทศ

- ห้องสมุดประจำ สถานศึกษา เฉลี่ยสถาบันละ 1 แห่ง

(2) พิพิธภัณฑ์  มีพิพิธภัณฑ์ ประเภทต่างๆทั่วประเทศ จำ นวน 440 แห่ง

(3) สื่อมวลชนทางการศึกษา

- รายการโทรทัศน์การศึกษา จำ นวน 1 รายการ / สถานี ออกอากาศ ทุกวัน

   จันทร์ ถึง วันพฤหัสบดี เวลา 08.00 – 15.00 .

- รายการวิทยุการศึกษา จำ นวน 1 รายการ / สถานี สำ หรับเขตรัฐซาบาห์

(4 ) ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา

- ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติ จำ นวน 1 แห่ง

- ศูนย์วิชาการประจำ รัฐ รัฐละ 1 ศูนย์

- ศูนย์วิชาการกลุ่ม กลุ่มละ 1 ศูนย์

- ศูนย์วิชาการประจำ โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ศูนย์

(5) CD –ROM ทางกา

หมายเลขบันทึก: 200549เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขยันเขียน มีคุณค่ามาก ครับ

เวลาเรียนใช้ภาษาอะไร

อยากเรียนรู้รูปแบบการบริหารการศึกษา ครับผม ขอบคุณม๊าก มาก

แปลมาจากไหนครับ อยากรู้ที่มา

ถ้าจัดรูปแบบให้ดีกว่านี้จะสุดยอดไปเลยครับ เป็นกำลังใจให้

มีหลักสูตรขั้นฐานพื้นในประเทศมาเลเซียให้มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท