3/3 สิทธิการรักษาพยาบาลประกันสังคม3


สิทธิการรักษาพยาบาลประกันสังคม3

กรณีไม่ได้เข้า รพ.ตามบัตรฯ(อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน)

  •  ถ้าเข้าโรงพยาบาลรัฐบาล  ทั้งกรณีประสบอันตราย/กรณีฉุกเฉิน

             - ผู้ป่วยนอก   ค่ารักษาเท่าที่จ่ายจริง

             -  ผู้ป่วยใน   เบิกได้ไม่เกิน 72 ชม.นับแต่เวลาที่เข้า

                      -  ค่ารักษาเท่าที่จ่ายจริง

                      -  ค่าห้องไม่เกิน 700 บาท/วัน

  •  ถ้าเข้าโรงพยาบาลเอกชน
    •  ผู้ป่วยนอก
      • ค่ารักษา    1,000  บาท
      • ค่าเลือด       500  บาท/Unit
      • สารต้านพิษเชื้อบาดทะยัก 400 บาท
      • วัคซีน  290  บาท   เฉพาะเข็มแรก
      • เซรุ่มจากม้า 1,000 บาท  เข็มแรก
      • เซรุ่มจากมนุษย์* 8,000 บาท เฉพาะเข็มแรก
    •  ผู้ป่วยใน
      • ไม่เกิน 72 ชม.
      • ค่ารักษา   2,000 บาท/วัน
      • ค่าห้อง        700  บาท/วัน
      • ค่ารักษาในห้อง  ICU 4,500 บาท/วัน
      • ผ่าตัดใหญ่ ฯ

   ข้อจำกัดที่ควรจำ

  • ประสบอันตราย   ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  เช่น  (ประสบอุบัติเหตุนอกงาน รถล้ม ถคว่ำ ถูกฟัน ถูกแทง ถูกตี)
  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  เช่น  หมดสติ   หัวใจวาย   กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ใกล้ ความตาย
    • ผู้ป่วยนอก   ปีละไม่เกิน   2  ครั้ง
    •   ผู้ป่วยใน   ปีละไม่เกิน   2  ครั้ง

 การเบิกค่าหยุดงาน

  • เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายเดือน 
    • ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วัน
    • ปีละไม่เกิน 180 วัน
    • โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

          (ทั้งนี้ต้องใช้สิทธิเบิกค่าหยุดงานจากนายจ้างตามกฎหมายจนหมดแล้ว)

     

 สิทธิประโยชน์กรณี คลอดบุตร

     15 เดือนก่อนคลอดต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน

  •  ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายให้เต็ม 12,000.- บาท
  •  ผู้หญิงจะได้เงินหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร   ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เดือนครึ่ง)  จะหยุดจริงเท่าไรก็ได้             

 สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ

    15 เดือนก่อนทุพพลภาพต้องส่งเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

  • เงินทดแทนการขาดรายได้ ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างตลอดชีวิต
  • ค่ารักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
  • บำเหน็จชราภาพ 1 ก้อน หลังจากได้รับอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพตาย ทายาทได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์

กรณีสงเคราะห์บุตร

    เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า  12  เดือน  ภายในระยะเวลา  36  เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา  33  หรือมาตรา  39 
  • ผู้ประกันตนชายจะเบิกได้ต้องมีทะเบียนสมรส

   สิทธิประโยชน์กรณี สงเคราะห์บุตร

  • สงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 350 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน
  • เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละ ไม่เกิน 2 คน  (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
  • หากผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพผู้อุปการะบุตรของผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อเนื่องจนบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์  ถ้าบุตรตายขณะเบิกเงินสงเคราะห์บุตร บุตรอายุไม่ครบ 6 ปีจะได้ไปจนครบ 6 ปี

กรณีชราภาพ 

             หมายถึง  การสร้างความมั่นคงทางรายได้ในยามที่ความสามารถในการหารายได้ลดลงหรือสูญเสียไปด้วยเหตุ   ที่ไม่สามารถทำงานต่อไปได้   เนื่องจาก  พ้นวัยทำงาน ตามเกณฑ์อายุ  ที่กำหนดหรือความเสื่อมสภาพทางร่างกายที่เข้าสู่วัยชรา

 

สิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพ

    เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 180 เดือน และ
  2. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง  และ
  3. มีอายุครบ  55  ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย

   กรณี  การจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน

  • จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน จ่ายตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
  • จำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน + นายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน

สิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพ

  1. จ่ายเงินสมทบ 180 เดือน ได้เงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย
  2. จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ อีกร้อยละ1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน

สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

  1. กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน180 วัน ภายใน 1 ปีปฏิทิน 
  2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ภายใน 1 ปีปฏิทิน

กรณีว่างงาน

  • ขึ้นทะเบียนว่างงานที่ สำนักงานจัดหางานของรัฐ                
  • มีความรู้ความสามารถ  และพร้อมที่จะทำงาน             
  • ต้องแสวงหาตำแหน่งงาน                                     
  • จะต้องไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง      
  • ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

 

กรณีออกจากงาน  (ภายหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (ลาออก/ ถูกเลิกจ้าง))

       ยังได้รับสิทธิฟรี ! ต่อไปอีก 6 เดือน ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย และถ้าป่วยเบิกค่าหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ผู้รักษา

                2. กรณีคลอดบุตร

                3. กรณีทุพพลภาพ

                4. กรณีตาย

หากต้องการขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านธนาคาร

            ให้ผู้ประกันตนนำสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์แนบกับแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน  สมุดบัญชีออมทรัพย์  ได้แก่ ธนาคารดังต่อไปนี้

                กรุงไทย      กรุงศรีอยุธยา               กรุงเทพ

                กสิกรไทย      ไทยพาณิชย์             ทหารไทย

                ไทยธนาคาร    อิสรามแห่งประเทศไทย  ไทยธนาคาร

 

หวังว่าคงให้ความรู้กับผู้อ่านได้บ้างนะคะ ส่วนหน่วยงานของผู้เขียนได้ข้อมูลเต็มที่ค่ะ สมารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัตืงาน 

หมายเลขบันทึก: 200432เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้ความรู้ดีมากเลยคับ แต่มีอีกเรื่อง 1 ที่ผมอยากรู้ กรณีบุตร เจ็บไขได้ป่วยต้องเข้า ผมคนเป็นพ่อมีประกันสังคม (ลูกไม่มีประกันสังคม)

ผมอยากทราบว่า ผมสมารถไปเอาเงินส่วนต่างจาก ประกันสังคมได้หรือเปล่าคับ

(อาจใช้คำไม่ถูกต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยคับ) ขอบคุณนะคับ ถ้าใครมีความด้านนี้ช่วยส่ง e-mail ให้ผมหน่อยนะคับ จะขอบพระคุณอยากมา [email protected]

เรียนคุณ ไม่แสดงตนค่ะ

ยินดีนะคะที่ได้รับข้อมูล...บุตรคุณไม่แสดงตน อย่างน้อยต้องมีสิทธิพื้นฐานของประชาชนชาวไทย คือสิทธิบัตรทองค่ะ ลองตรวจสอบจากเลขประชาชนในใบสูติบัตรของลูกดูนะคะ...ถ้ายังไม่มีสิทธิบัตรทอง(สิทธิว่าง)ให้รีบขึ้นทะเบียนบัตรทองที่สถานพยาบาลใกล้บ้านค่ะ...จะได้ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลนะคะ

ตรวจสอบสิทธิผ่าน www.nhso.go.th-->สำหรับประชาชน-->ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง

หรือโทร 1330 แจ้งขอตรวจสอบสิทธิการรักาพยาบาลได้เลยค่ะ

สามีมีประกันสังคม ถ้าหากต้องการตรวจสุขภาพประจำปี สามารถดำเนินการได้หรือไม่ และหากไม่ได้จะสามารถใช้สิทธิภรรยา (กรณีภรรยาเป็นข้าราชการ)ได้หรือไม่

  • ถ้าหากไม่ได้เข้าโรงพยาบาลรัฐบาล จะใช่ประกันสังคมของบิดาได้หรือป่าวค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท