kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การประกวดโรงเรียนคู่หูด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพระดับเขต (๑๒) : โรงเรียนบ้านสุขสำราญ จังหวัดกำแพงเพชร


โรงเรียนเริ่มมีกิจกรรมในการควบคุมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อภาวะทันตสุขภาพที่โรงเรียน ที่มีผลต่อสุขนิสัยของนักเรียนแล้ว แต่สิ่งที่โรงเรียนต้องทำคือการสร้างค่านิยมให้นักเรียนคำนึงถึงว่าอาหารเหล่านั้นเป็นโทษต่อนักเรียนอย่างไร หากจะทานต้องปฏิบัติ และควบคุมอย่างไร

                วันที่ 8 สิงหาคม 2551  เวลา 13.00 - 15.00 น.  ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ออกประเมินโรงเรียนคู่หูกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ที่โรงเรียนบ้านสุขสำราญ  อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร  ในหมวดกิจกรรมการควบคุมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อภาวะทันตสุขภาพ โดยมีโรงเรียนอนุบาลคลองลาน ซึ่งอยู่ห่างกัน 6 กิโลเมตรเป็นโรงเรียนคู่หู

                โรงเรียนบ้านสุขสำราญ มีอาจารย์วราวรรณ ปานทอง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีชั้นอนุบาล - มัธยม 3 ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 364 คน ครู 20 คน

                โรงเรียนได้กำหนดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอนุบาลคลองลาน คือโครงการอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพและฟันที่แข็งแรง   โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคือการควบคุมอาหาร , การเลือกรับประทานอาหาร , การแปรงฟัน , การที่นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และการที่ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วม

                โรงเรียนมีกิจกรรมเกี่ยวกับทันตสุขภาพดังนี้

  • การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน โดยมีนักเรียนแกนนำควบคุมการแปรง แม้นจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากนักเรียนชั้นมัธยมมากนัก
  • มีนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเงินได้รับการอาหารกลางวันฟรี (ประมาณ 100 คน) โดยใช้เป็นคูปองแลกอาหาร
  • ผู้ขายอาหารคือบุคคลภายนอก ที่โรงเรียนสามารถควบคุมชนิดและคุณภาพของอาหารได้
  • นโยบายการเป็นเขตปลอดขนมกรุบกรอบ ลูกอม และน้ำอัดลม กำหนดโดยคณะครู และนักเรียน โดยมีโรงเรียนอนุบาลตลองลานเป็นโรงเรียนตัวอย่าง แต่โรงเรียนมีสิ่งท้าทายคือการที่มีร้านค้าขายขนมดังกล่าวอยู่ตรงกับหน้าประตูโรงเรียน

 

                ในภาพรวม โรงเรียนเริ่มมีกิจกรรมในการควบคุมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อภาวะทันตสุขภาพที่โรงเรียน ที่มีผลต่อสุขนิสัยของนักเรียนแล้ว แต่สิ่งที่โรงเรียนต้องทำคือการสร้างค่านิยมให้นักเรียนคำนึงถึงว่าอาหารเหล่านั้นเป็นโทษต่อนักเรียนอย่างไร หากต้องทานต้องปฏิบัติ และควบคุมอย่างไร    การที่เด็กนักเรียนปฏิบัติถูกต้องที่โรงเรียน แต่เมื่อออกจากโรงเรียนไปแล้วนักเรียนทำตามที่ทำที่โรงเรียนหรือไม่  สำหรับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ น่าจะต้องมีการอบรม และเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความสามารถตามขีดความสามารถที่นักเรียนมีอยู่ สิ่งที่ท้าทายสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสคือการทำกิจกรรมอย่างไรที่จะชักนำให้เด็กนักเรียนมัธยมเข้ามาร่วมด้วยมากที่สุด และทำอย่างไรจึงจะให้ทุกภาคส่วนของโรงเรียนร่วมมือร่วมใจกันในการจัดทำกิจกรรมดังกล่าว เพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของนักเรียน และการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนอย่างมีคุณภาพต่อไป

ขอบคุณครับ



ความเห็น (1)

            

เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่น่าปวดหัว          จริงๆค่ะ พี่ก้องน่าจะเข้าใจดีนะ

ก็ เป็นวัยรุ่นเหมือนกันใช่ม๊า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท