ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

สมองเรียนรู้


สมองเรียนรู้จากการลงมือทำ

สมองของเราเป็นระบบทางสรีรวิทยาที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้  ต้องการที่จะเรียนรู้  และสมองเองก็รู้ดีโดยธรรมชาติว่าจะเรียนรู้อย่างไร  ทารกทุกคนลืมตาได้เอง  คว่ำได้เอง  เด็กคลาน  นั่ง  ยืน  เดิน  หัดเลียนเสียง  กิน เคี้ยว  กลืน  โดยไม่ต้องมีใครสอน  พฤติกรรมเหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่าสมองรู้จักวิธีการเรียนรู้  สิ่งที่ทำได้เหล่านี้ไม่ได้เกิดจากประสาทอัตโนมัติ  ที่ทำได้ทั้งหมดก็เพราะเจ้าของชีวิตเรียนรู้ที่จะทำด้วยตนเอง

                สมองเรียนรู้จากการลงมือทำ   การลงมือทำหมายถึงว่า  อาจเริ่มจากผิดต่อไปก็แก้ไขที่ทำผิดนั้น  เรียนรู้จากที่ผิดแล้วพยายามใหม่จนพบว่าอะไรที่เรียกว่าถูกต้อง  สมองจะใช้งานชุดความรู้ที่ถูกต้อง  และจัดการลบแบบแผนที่ผิดทิ้งไป  ลองคิดเทียบเคียงกับการ

ขี่จักรยาน  เด็กเริ่มจากล้มแล้วล้มอีกแต่ในที่สุดอาจจะถึงขี่ผาดโผนก็ได้  เกือบไม่ต้องมีใครสอนว่าสมองจะมีวิธีเรียนรู้การขี่จักรยาน

อย่างไร  ในความรู้ที่ซับซ้อนมากๆ  การแนะนำ  ช่วยเหลือบางอย่าง  ช่วยให้สมองเรียนรู้เร็วขึ้นได้

 

ที่มา  :  อัครภูมิ  จารุภากร  และพรพิไล  เลิศวิชา  ,สมองเรียนรู้  ,หน้า 258

หมายเลขบันทึก: 200040เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท