เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศีกษา


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบัน เราสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น เช่น อินเตอร์เน็ต จะช่วยให้ผู้เรียนกระจ่าง และค้นคว้าข้อมูลได้มากขึ้น โลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก และได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา ซึ่งช่วยให้คนในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีโอกาสรับรู้ข่าวสาร มีระบบการส่งข่าวสารที่รวดเร็ว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างทันที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสังคมเปิดที่ทุกชาติสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็ว และได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมทั้งในทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีความว่องไวต่อการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนระบบการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ทั้งส่วนของ การเรียนแบบปกติที่เน้นการศึกษาในห้องเรียน และระบบการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (หรือหลายคนเรียกส่วนนี้ว่า eLearning) ให้ผู้เรียน สามารถเรียนจากที่ใดหรือเมื่อใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ เช่น ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีโฮมเพจประจำวิชา ผู้เรียนสามารถ ทำแบบฝึกหัด ทำรายงานผ่านโฮมเพจของตนใช้ระบบห้องสนทนาพูดคุยในวิชาการ มีกระดานข่าวในการโต้ตอบในวิชาการที่เรียน ใช้ระบบอีเมล์ใน การส่งคำถามคำตอบหรือสื่อสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น 
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
สรุป
การศึกษาที่จะมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ แม้เป็นสิ่งที่ดีและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตาม การประยุกต์ให้เกิดความ เหมาะสมกับการใช้งานในการศึกษาไทยเป็นสิ่งที่ต้องการมีการวางแผนและเตรียมการให้ดี การเตรียมปัจจัยต่าง ๆ และความพร้อมในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานองค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทาง ปฏิบัตินั้นต้องสามารถให้ดำเนินการได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายหรือโครงการที่ดูหรูเลิศแต่ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ ตลอดจนผู้บริหารและ ผู้ร่วมโครงการต้องมีความจริงใจไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ที่แอบแฝงบางประการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ระบบ eEducation เป็นจริงได้ แต่หากขาด ความพร้อมแล้วก็คงเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าอีกโครงการหนึ่ง
 

การศึกษายุคไอที.”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.oknation.net/blog/ 2550.

ความรู้ในการปฏิบัติงาน.”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.trang2.go.th/kmc/modules 2551. 

เทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย..  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.vcharkarn.com. 2550.

เทคโนโลยีสารสนเทศ.”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.it.chula.ac.th/document/ict_masterplan1.pdf 2545.

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน..  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.onec.go.th/publication/a_ict/a_ict.pdf 2544.  

 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 199923เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท