การดำเนินงานควบคุมการระบาดหัดในมหาวิทยาลัย


การดำเนินควบคุมการระบาดโรคหัดในมหาวิทยาลัย

 

          การดำเนินงานควบคุมโรคหัดในมหาวิทยาลัย   

          

         ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและควบคุมการระบาดได้แล้ว จากการดำเนินงานดังกล่าวทีมงานและทีม SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้รวบรวมรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้องในเรื่องการสอบสวนโรค การควบคุมการระบาด การบริหารจัดการ การดูแลรักษาพยาบาลในหอผู้ป่วย  องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานในครั้งนี้  

         ทีมงานได้จัดทำเป็นรูปเล่มเรียบร้อยแล้ว  ขณะนี้ได้นำเผยแพร่ที่ห้องสมุด      คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         ส่วนรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์ กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงแก้ไขจากสำนักงานควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นและได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมสัมมนาเครือข่ายระบาดวิทยา เขตตรวจราชการที่ 10และ 12          ในวันที่ 13-15 สิงหาคม 2551 ที่โรงแรมแก่นอินทร์ จังหวัดขอนแก่น หลังจากที่นำเสนอผลงานแล้วคาดว่าจะนำตีพิมพ์ในวารสาร

 

         ในวันที่21 กรกฏาคม 2551  ได้นำรายงานฉบับบนี้ไปเสนอในที่ประชุมวิชาการรายงานสอบสวนโรคจังหวัดขอนแก่น

         ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เชียวชาญจากสำนักงานควบคุมโรคที่ 6 และทีมงานผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคหัด ทางทีมงานสามารถทำงานได้ครอบคลุมทั้งเรื่องการบริหารจัดการ การดำเนินการให้วัคซีน การดูแลผู้ป่วย รวมทั้งมีการคำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เป็นบทเรียนที่เป็นแบบอย่าง

          ขอนำเสนอบทคัดย่อก่อนนะคะ ส่วน ฉบับสมบูรณ์ อ่านได้ที่ห้องสมุด 

 

รายงานการสอบสวนการระบาดโรคหัดในมหาวิทยาลัย    

อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ -26 มีนาคม  2551

 

                         ประกาย   พิทักษ์ 1, กาญจนศรี  สิงห์ภู่ 2,พจนีย์  ขันศรีมนต์ 1, นิภาพรรณ  ฤทธิรอด 3, กัลยา  อารยางค์กูร 4, สายสมร  พลดงนอก1,            จันทร์เพ็ญ  บัวเผื่อน 1,  สะอาด โยทาคูน 5, อภิญญา  ดวงแก้ว 6 , ชุมพล รวมทวี,คณะทำงานควบคุมการระบาดโรคหัดในมหาวิทยาลัย,ทีม SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

 

                     

                       การสอบสวนการระบาดโรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมี  วัตถุประสงค์  เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค  ระบาดวิทยาของโรคตามลักษณะ บุคคล เวลา สถานที่  ศึกษาขนาดของปัญหาและการกระจายของโรค ค้นหาแหล่งโรคและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ  

วิธีดำเนินการศึกษา  โดยใช้รูปแบบการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมรายงานประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา และสงสัยป่วยเป็นโรคหัด  รวมทั้งค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และพื้นที่ข้างเคียงรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตรวจสอบอาการทางคลินิก 

ผลการศึกษา  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการยืนยันได้ว่ามีผู้ป่วยโรคหัดจริง  เมื่อนำข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในปัจจุบันเปรียบเทียบกับกับข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคหัด  5 ปี  ย้อนหลังไม่พบผู้ป่วยโรคหัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ   ป่วยเป็นโรคหัดจำนวน        2 ราย ในหมู่บ้านเดียวกัน  การศึกษาการระบาดในครั้งนี้  ตามลักษณะบุคคล เวลา สถานที่   ศึกษาข้อมูลทั่วไปจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วย          ผู้สัมผัสโรค อาการและอาการแสดง  โดยใช้เกณฑ์นิยามผู้ป่วยโรคหัดของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค   กระทรวงสาธารณสุข            มีผู้ป่วยสงสัยป่วยเป็นโรคหัด  จำนวน 50 ราย  เพศหญิง จำนวน 27 ราย  เพศชายจำนวน 23  อายุอยู่ระหว่าง 18-33 ปี    เป็นผู้ป่วยในนอนรักษาในหอผู้ป่วย 2จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์  อันดับหนึ่ง ร้อยละ70  รองลงมาเป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 8  รักษาตัวที่บ้าน ร้อยละ 16 รักษาที่โรงพยาบาลอื่น ร้อยละ 4  และที่คลินิก ร้อยละ 2  ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์  ร้อยละ 62  รองลงมา คือคณะเกษตรศาสตร์  ร้อยละ 8  คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ  พบจำนวนเท่ากันร้อยละ  6  ส่วนใหญ่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ  88   สถานที่พักอาศัยขณะป่วยพักอยู่หอพักในมหาวิทยาลัยขอนแก่น  หอพักนอกมหาวิทยาลัย     การศึกษาการระบาดครั้งนี้พบว่าเกิดการระบาดของโรคหัดแบบแหล่งโรคแพร่กระจายเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 12  มกราคม 2551 ส่วนผู้ป่วยรายสุดท้าย เริ่มป่วย วันที่ 15 มีนาคม 2551 ระยะเวลารวม  63 วัน  ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคตามนิยามการสอบสวนโรคและส่งตัวอย่างตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคหัด ที่สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   กระทรวงสาธารณสุข  โดยการเพาะเชื้อและการวินิจฉัยโรคหัด  ELISA (IgM)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันผลโดยเกณฑ์การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (Confirmed case) ร้อยละ 46.00   (23 ราย) รองลงมา โดยการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากแพทย์ ป่วยเป็นโรคหัด (Presumptive diagnosis) ร้อยละ 26.00 (13 ราย) ยังคงเป็นผู้ป่วยสงสัยป่วยเป็นโรคหัด (Suspect case) ร้อยละ 20.00  ผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายตามนิยามโรค  ออกผื่นไม่ชัดเจน ไม่ใช่ลักษณะผื่นเฉพาะของผู้ป่วยโรคหัด   ร้อยละ 8.00  การป่วยของนักศึกษาน่าจะเกิดจากการแพร่กระจายเชื้อโรคหัดในอาคารเรียน  สถานที่ที่นักศึกษาใช้พื้นที่ร่วมกัน  มาตรการควบคุมการระบาดในครั้งนี้โดย ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง   การป้องกันและควบคุมการระบาดเน้นในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคหัด ทุกรูปแบบ การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล ให้ความสำคัญกับการแยกผู้ป่วยอย่างถูกต้อง  โดยรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกรายเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ    และดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้นักศึกษากลุ่มเสี่ยง และบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย   การค้นหานักศึกษาที่ป่วยด้วยโรคหัดในชุมชนเพื่อป้องกันแพร่กระจายเชื้อยังพบว่ามีนักศึกษาที่ป่วยและไม่ได้รับการรักษา  จึงได้ดำเนินการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดในนักศึกษาทุกคณะ  กลุ่มเสี่ยง  ผู้สัมผัสโรค  และเฝ้าระวังอาการป่วย      ค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น  829,321.25  บาท  (แปดแสนสองหมื่นเก้าพันสามร้อยยี่สิบเอ็ดบาทยี่สิบห้าสตางค์)

คำสำคัญ   การระบาดโรคหัดในมหาวิทยาลัย

1          หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ งานเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2          งานเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3          หอผู้ป่วย 2  งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัน

4          ศูนย์บริการสุขภาพนักศึกษา  งานบริการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5          ศูนย์บริการสุขภาพปฐมภูมิชุมชนสามเหลี่ยม   งานบริการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์

6          งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

 

ทีมสอบสวนโรค (SRRT) การระบาดของโรคหัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่น     ประกอบด้วย

1.       ผศ.เสริมศักดิ์   สุมานนท์                                    แพทย์หัวหน้าทีมสอบสวนโรค

2.       นางประกาย   พิทักษ์                                           ผู้สอบสวนหลักคนที่ 1

3.       นางกัลยา   อารยางกูร                                          ผู้สอบสวนหลักคนที่ 2

4.       นางจันทร์เพ็ญ  บัวเผื่อน                                     SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

5.       นางสายสมร  พลดงนอก                                     SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

6.       ศ.พญ.ผกากรอง    ลุมพิกานนท์                          SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

7.       ศ.พญ.เพลินจันทร์   เชษฐ์โชติศักดิ์                    SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

8.       รศ.พญ.ศิริลักษณ์    อนันต์ณัฐศิริ                        SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

9.        พญ.ศิริพร    วิทยจรรยาพงศ์                               แพทย์ใช้ทุนภาควิชาอายุรศาสตร์

10.     นางกาญจนศรี  สิงห์ภู่                                        SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

11.     นางพะนอ    เตชะอธิก                                       SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

12.     นางพรรณี   กู้เกียรติกุล                                       ผู้จัดการแผนกเวชปฏิบัติครอบครัว

13.     นางนิภาพรรณ   ฤทธิรอด                                  หัวหน้าหอผู้ป่วย 2จ

14.     นางราณี  แสงจันทร์นวล                                    SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

15.      นายสะอาด โยธาคูน                                           SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

16.      นางจันทร์เพ็ญ   บัวเผื่อน                                   SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

17.      นางสาวสุกานดา  อริยานุชิตกุล                        SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

18.      นางอัมรา  แก้วสุด                                                SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์

19.     นางสาวพจนีย์  ขันศีรมนต์                                 นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลศรีนครินทร์

20.    นางประยงค์  สัจจพงษ์                                         SRRT โรงพยาบาลขอนแก่น

21.  นายติณณ์ลักษณ์  พนพงษ์                                   นักวิชาการสาธารณสุข 7  

22.   นางอักษราพร  สินจัตุรัส                                     นักวิชาการสาธารณสุข 7

23.       นางอภิญญา  ดวงแก้ว                                          พยาบาลวิชาชีพ 7

24.       นายชุมพล  รวมทวี                                        นักวิชาการสาธารณสุข 7

 

หมายเลขบันทึก: 199337เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเยี่ยมพี่พี่ค่ะ

Dmtb1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท