"ประมวลการสอนรายวิชา" การรับมือกับคำครหา


ป้องกันตนเอง ชี้ทางให้ผู้เรียน ประกาศให้ผู้ปกครองรู้

"ประมวลการสอนรายวิชา" สำคัญจริงๆ

                 สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนนั้นบางครั้งบางคราวที่คุณครูหลงลืมจากการที่มีภาระสอนมาก อาจมีการให้คะแนนผิด หรือลืมให้คะแนน ผลลัพธ์คือ การตัดเกรดผิดตัว แล้วผู้เรียนเสียความรู้สึก บางคนเสียอนาคตไปเลย ผู้เรียนสามารถเอาผิดกับผู้สอนได้หากมีหลักฐานสำคัญว่าเขาได้ส่งจริงแล้วมีการรับตรวจเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จากปัญหาเล็กๆ

                ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ผมขอเสนอประมวลการสอนรายวิชา ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้เรียนมีแนวทางในการเรียน ผู้ปกครองทราบแนวปฏิบัติในการให้คะแนน โดยมีส่วนประกอบคร่าวๆดังนี้

                 1. หัวเรื่อง โรงเรียน, ชื่อวิชา, ระดับ, ชื่อผู้สอน, จำนวนหน่วยกิต,เวลาเรียน

                 2. คำอธิบายรายวิชา

                 3. จุดประสงค์การเรียนรู้

                 4. เนื้อหาที่สอน

                 5. เกณฑ์การประเมิน

                 6. เงื่อนไขคะแนนคุณธรรม

                 7. เกรดผลการเรียน

                 8. เงื่อนไขการตัดสินผลการเรียน(การได้เกรด)

                 9. ปฎิทินการเรียน

                10. งานประจำปีที่ต้องส่ง

                11. เกณฑ์การให้คะแนน

ตัวอย่างประมวลการสอน

ประมวลการสอนวิชาคณิตศาสตร์

โรงเรียน.................................................... สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา........................ เขต....................

ชื่อวิชา                                   คณิตศาสตร์ ( ค ๓๓๑๐๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ระดับ                                     ช่วงชั้นที่ ๓ ปีที่ ๓

ชื่อผู้สอน                               ..........................................................

จำนวนหน่วยกิต                2 หน่วยกิต

เวลาเรียน                             80 คาบต่อภาคเรียน (ครึ่งปี)

คำอธิบายรายวิชา

                                ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในเรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กราฟ ความคล้าย สถิติ และความน่าจะเป็น

จุดประสงค์การเรียนรู้

                พื้นที่ผิวและปริมาตร

1.       อธิบายลักษณะและสมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลมได้

2.       หาพื้นที่ผิวของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลมได้

3.       หาปริมาตรของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลมได้

4.       เปรียบเทียบหน่วยความจุหรือหน่วยปริมาตรในระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้

5.       เลือกใช้หน่วยการวัดเกี่ยวกับความจุหรือปริมาตรได้อย่างเหมาะสม

6.       ใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ พื้นที่ผิว และปริมาตรแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้

7.       ใช้การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัดในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม

8.       ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

1.       เขียนกราฟแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างปริมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นได้

2.       เขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นได้

3.       อ่านและแปลความหมายของกราฟที่กำหนดได้

ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

1.       อ่านและแปลความหมายของกราฟของระบบสมการเชิงเส้นได้

2.       แก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรได้

3.       นำระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรไปใช้แก้ปัญหาได้

4.       ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

ความคล้าย

1.       บอกสมบัติของการคล้ายกันของรูปสามเหลี่ยมและบอกเงื่อนไขที่ทำให้รูปสามเหลี่ยมสองรูปคล้ายกันได้

2.       ใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกันในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้

อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

1.       แก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้

2.       ใช้ความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหาคำตอบของโจทย์ปัญหาได้

3.       ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้

สถิติ

1.       กำหนดประเด็น เขียนข้อคำถาม กำหนดวิธีการศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมได้

2.       หาค่ากลางของข้อมูลที่ยังไม่แจกแจงความถี่ได้

3.       เลือกและใช้ค่ากลางของข้อมูลที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

4.       นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมได้

5.       อ่าน แปลความหมาย และวิเคราะห์ข้อมูลจากการนำเสนอข้อมูลที่กำหนดให้ได้

6.       อภิปรายและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารทางสถิติที่สมเหตุสมผลได้

7.       เข้าใจถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ

ความน่าจะเป็น

1.       หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์จากการทดลองสุ่มผลแต่ละตัวมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่าๆ กันได้

2.       ใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล

3.       ใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นประกอบการตัดสินใจได้

การเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1.       ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้อื่นๆ และเทคโนโลยีเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านการแก้ปัญหาการใช้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ การเชื่อมโยง และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เนื้อหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร

-          ปริซึม

-          ทรงกระบอก

-          พีระมิด

-          กรวย

-          ทรงกลม

-          การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร

-          การเลือกใช้หน่วยปริมาตรและการนำไปใช้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

-          กราฟแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างปริมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้น

-          กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

-          การอ่านและแปรความหมายกราฟที่กำหนดให้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

-          ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

-          การอ่านและแปลความหมายกราฟของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

-          การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

-          การนำระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความคล้าย

-          รูปที่คล้ายกัน

-          รูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน

-          สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน

-          การนำไปใช้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

-          อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

-          คำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและกราฟแสดงคำตอบ

-          การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

-          โจทย์อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 สถิติ

-          การศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติ

-          การหาค่ากลางของข้อมูลที่ยังไม่ได้แจกแจงความถี่

-          การเลือกและการใช้ค่ากลางของข้อมูล

-          การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางสถิติ

-          การคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเสนอขอมูลทางสถิติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความน่าจะเป็น

-          การทดลองสุ่มและเหตุการณ์

-          ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

-          การนำความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นไปใช้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-          การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชุดที่ 1

-          การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชุดที่ 2

-          การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชุดที่ 3

-          การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชุดที่ 4

-          การเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชุดที่ 5

 

เกณฑ์การให้คะแนน


คะแนนเต็ม 100 คะแนน

แบ่งเป็น 1. งาน 40%

1.1     งานเดี่ยว 25%

-          แบบฝึกหัด 10%

-          รายงาน 10%

-          หนังสือ 5%

1.2     งานกลุ่ม(โครงงาน) 15%

2.        เวลาเรียน

หมายเลขบันทึก: 199336เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยส่งตัวอย่างการเขียนแบบรายงานการสำรวจข้อมูลเกียวกับราคาสินค้าที่มีขายอยู่ในท้องถิ่นมา 6 รายการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท