เทคนิค four end


บูรณาการ

                เทคนิคนี้เป็นความภูมิใจของตัวเอง  ตอนนั้นได้รับผิดชอบสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ต้องสอนประจำชั้น  สอนทุกกลุ่มสาระ  คำถามที่เกิดกับตัวเอง  ทำไงดี  สอนแต่วิทยาศาสตร์มัธยมต้น  แล้วต้องมาสอนประถม  แล้วทุกวิชาเลย  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตั้งเยอะแยะ  ในเทอมแรกที่สอน  สอนแต่ละวิชาเลย(ไม่สบายใจกลัวเด็กไม่รู้ตามหลักสูตร )  หลังจากนั้นไม่นานเปลี่ยนดีกว่า  บูรณาการสาระการเรียนรู้  แล้วเหนื่อยหน่อยเรื่องแบบประเมิน  เรื่องคิดชิ้นงาน  เรื่องวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  งานชิ้นนี้ให้คะแนนวิชาใดได้บ้าง  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เท่าไหร่ น้ำหนักคะแนนควรเป็นเท่าไหร่  เด็กทำชิ้นงานน้อยลง  ครูทำงานมากขึ้น (ไม่เป็นไรหรอก  เราโตกว่าเขาตั้งเยอะ  ไม่เอาเปรียบกัน)  หลังจากนั้นเรื่องวิชาหลักเป็นแกนในการบูรณาการ

                วิชาภาษาไทยเนื้อหาเยอะมีหนังสือตั้งสองเล่ม  (เป็นวิชาที่ไม่ถนัดเอาเสียเลยไม่ว่าระดับไหนก็ตามแต่ต้องสอนอย่างเต็มที่)   ในส่วนหลักภาษายังไงก็ต้องสอนให้เด็กรู้  (ขืนปล่อยให้อ่านกันเองคงไม่เป็นหลักภาษาแน่นอน)  แต่เล่มที่เป็นเนื้อเรื่อง  สบายมากเด็กอ่านแล้วถามตอบความเข้าใจ  ความคิดเห็นของเด็ก แล้วเชื่อมโยง  ไม่น่าจะเป็นปัญหา  แต่  ไม่ใช่อย่างที่คิด  (เด็กแค่ป.6  ไม่ใช่เด็กมัธยมที่เคยสอน)  ถามแล้วตอบไม่ค่อยได้เลย  เด็กที่เก่งก็ตอบได้อยู่ไม่กี่คน  ทั้งห้องมี 10  คน ตอบอยู่สองคน  คำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเอง  ทำไงดีหล่ะ 

                จากการสังเกต  เวลาพักกลางวันเด็กจะชอบมาอ่านหนังสือที่มุมหนังสือหลังห้อง  ซึ่งมีหนังสือหลายชนิด  ก็เข้าไปคุยกับเขา  เห็นเขาชอบอ่านการ์ตูน  อ่านนิทาน  (เราโตแล้วยังชอบอ่านเลย)  ก็เลยตัดสินใจนำการ์ตูน  นิทานมาใช้ดีกว่า  คำถามเกิดอีก  จะเอามาใช้ยังไงหล่ะ   เราเขียนแล้ววาดการ์ตูนหรอ  เป็นไปไม่ได้เพราะฝีมือของเราเด็กคงรับไม่ได้แน่เลย  สุดท้ายก็ลงที่เด็กดีกว่า  ให้เด็กวาดเอง  (ใครมาเห็นคงไม่ว่าเพราะฝีมือเด็ก)  จะให้วาดลอกทั้งเรื่องในหนังสือ  แล้วจะได้อะไร  นอกจากเสียเวลา  ในการสอนภาษาไทยมีทั้งการอ่าน  การเขียน  การย่อความ  การเรียงความ  การวิคราะห์  การสรุปความ  ฯลฯ  วาดการ์ตูนได้ในการสอนศิลปะ  ทั้งการวาดภาพ  ลายเส้น  การลงสี  องค์ประกอบของภาพ  ฯลฯ   แถมยังได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ความคิดสร้างสรรค์  ความอดทน  ความรับผิดชอบ  การตั้งใจ ฯลฯ  คำถามที่เกิดขึ้นอีกคำถาม  ทำไงให้เด็กไม่ต้องเสียเวลามากแล้วเด็กต้องเข้าใจเรื่องที่อ่านด้วย

                ไม่ยากเลย  บังคับช่อง  (ครูชอบอ่านการ์ตูนสี่ช่องจบมากไปหน่อย)  ก็เลยบังคับช่อง  4  ช่องจบเรื่อง  นักเรียนอ่านหนังสือเรียนภาษาไทยจนจบเรื่อง  (ได้เรื่องการอ่าน)  นักเรียนสรุปเรื่องที่อ่านสั้น ๆ  แต่ต้องให้เข้าใจ  (อ่านจับใจความ  สรุปความ  ย่อความ)  เขียนเรื่องที่สรุปส่งครู  (การเขียน)  แบ่งเนื้อเรื่องเป็นสี่ช่วง  เพื่อประกอบภาพ  4  ช่อง  (วิเคราะห์)  วาดภาพประกอบเนื้อเรื่องในแต่ละช่อง(ศิลปะ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  อดทน  ตั้งใจ  รับผิดชอบ)  เมื่อเสร็จก็เป็นชิ้นงานแล้วติดโชว์ที่บอร์ดแสดงผลงานนักเรียน

ตอนแรก  เด็กทำไม่ได้ไม่เข้าใจ  ฝึกหลาย ๆ ครั้ง  เด็กสนุก  อยากเรียน  ครูก็มีความสุขที่เห็นผลงานของเด็กมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนั่นเป็นการแสดงว่า  ตัวเด็กมีการพัฒนาขึ้นแล้ว

หมายเลขบันทึก: 199276เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แน่นอนครับ เด็ก อยากรู้ อยากเห็นมาก พร้อมที่จะเรียนรู้คลอดเวลา แต่ไม่ทราบมีอะไร มาปิดกั้นบรรยากาศ เหล่า นี้ ซะหมด นะครับ

สวัสดีค่ะครู ชลิดา

         แวะเข้ามาอ่านบันทึกของคุณครูแล้ว ขอยืมเทคนิคนี้ไปใช้บ้างนะค่ะ

                                 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท