ครูไทยยุค ICT


ครูพันธ์ใหม่ หัวใจ ICT

   อย่างไร? จึงเรียกว่า "ครูพันธ์ใหม่หัวใจ ICT"

 ความหมายของ "ครู"

       ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ 

จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

         1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

         2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

         3. ตั้ง ใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของ
             ตน ให้แก่ ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

         4.  รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้
             เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

         5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่ง
             ของผู้บังคับ บัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผน
             ของสถานศึกษา

         6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทาง
            วิชาการของตน ไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

         7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนและ
             ไม่เบียดบัง ใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

         8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่
             แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

         9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วม
            งานและของ สถานศึกษา

        10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

 

จรรยาบรรณครู พ.. 2539

            ข้อที่ 1 ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

          ข้อที่ 2 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          ข้อที่ 3 ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

          ข้อที่ 4 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

          ข้อที่ 5 ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ

          ข้อที่ 6 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

          ข้อที่ 7 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

          ข้อที่ 8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

          ข้อที่ 9 ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

(ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม

       : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อมูลวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2537.

โดย  : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ)

ความหมายของ "ICT"

          ICT หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล              (ที่มา : http://eclassnet.kku.ac.th/)

 บทบาทของครู กับ ICT

                  โดยความเป็นจริงแล้ว ครูเราใช้ ICT จัดการเรียนการสอนมานานแล้ว เพียงแต่ยังใช้รูปแบบเดิมซึ่งหากมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น (ที่มา : http://eclassnet.kku.ac.th/)

  นำ ICT มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีมานานแล้ว แต่ยังใช้ในรูปแบบเดิม ถ้ามีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้ร่วมด้วยก็จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

- ทำให้นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

- เป็นเครื่องมือสำหรับการสอนเริ่มต้น สำหรับการสอนเนื้อหาที่จะบรรยายที่ยังไม่ลึกซึ้งหรือเน้นไปทางใดทางหนึ่ง 

- ใช้ ICT เพื่อประเมินผลของนักเรียนและการทำงาน หรือจะใช้เป็นเครื่องมือวัดผลตอบสนองก็ได้

- เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากการใช้กระดานดำ หรือใช้สรุปการเรียนการสอน

- ทำให้เกิดการสอนในหลายรูปแบบ เป็นต้น

                  การปฏิวัติการเรียนการสอนโดยการใช้ ICT ในห้องเรียน เช่น การสร้างการสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือและสนับสนุนการสอน เนื่องจากต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการใช้ E-Learning ในการศึกษา ทำให้สามารถขยายโอกาสทางการศึกษาได้อย่างกว้างขวางขึ้น และประเมินผลของการเรียนได้ดีกว่าระบบในชั้นเรียน เพราะมีเครื่องมือที่จะทำให้สามารถประเมินผลการเรียนได้ง่าย สามารถปรับปรุงหลักสูตรได้ง่าย ครูจึงสามารถมุ่งประเด็นความเป็นเลิศทางวิชาการที่ตนเองถนัดและทำให้หลักสูตรดีขึ้นได้

 (ที่มา : http://eclassnet.kku.ac.th/)

           สรุป

                 ความสำคัญของ ICT ที่มีต่อการเรียนการสอน สำหรับครูแล้วจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีการปฏิเสธว่าไม่ได้สอนคอมพิวเตอร์ ทุกคนต้องรู้จักและใช้ ICT เป็น และต้องพัฒนาตนเองด้านนี้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง หน่วยงาน ชุมชน สังคม ประเทศ ที่สำคัญประโยชน์ที่จะเกิดแก่ลูกศิษย์อันเป็นที่รักของคุณครูทุกท่าน

 

 

                   

                     

วรโชติ สินธุศิริ 

ครู คศ.๑      

 4 สิงหาคม 2551 

หมายเลขบันทึก: 198568เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2008 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท