ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

พัฒนาเด็กเหมาะตามวัย


แนวทางของครูและพ่อแม่พัฒนาลูกรัก

การพัฒนาของเด็กวัย 5 ขวบ

เด็กวัย 5 ขวบ เป็นวัยที่ร่าเริง แจ่มใส ใช้พลังงานกับการเล่น และกระตือรือร้น ชอบวางแผน และถกคุยกันว่าใครจะเป็นคนทำอะไร เด็กวัยนี้จะสนใจการเล่นละคร กับเด็กคนอื่นๆ มีอารมณ์อ่อนไหว เกี่ยวกับความต้องการ และความรู้สึกของคนอื่นรอบๆ ตัวเขา รู้จักการรอคอยและการแบ่งปันให้คนอื่น "เพื่อนที่ดีที่สุด" จะมีความหมายต่อเขามากในวัยนี้

ส่วนใหญ่เด็กวัย 5 ขวบ กำลังจะเข้าโรงเรียนอนุบาล เข้าจะมีความรู้สึกอยากกลับบ้านหลังเลิกเรียนมาพักผ่อนและเล่น ในสิ่งที่เขาอยากเล่น โดยไม่ต้องมีใครบอกให้ทำอย่างโน้นทำอย่างนี้ หรือต้องทำตามกลุ่มเพื่อนให้ทัน ในช่วงบ่ายของการเรียนอนุบาล จึงต้องจัดเวลาให้สมดุลระหว่างการเล่นกิจกรรม และการพักผ่อนตลอดเวลาทั้งวัน ระหว่างอยู่โรงเรียนอนุบาล ต้องได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันในทุกๆ เรื่อง เมื่อกลับถึงบ้านเด็กอาจจะเหนื่อย พูดมาก หิว หรืออยากเล่าประสบการณ์ทั้งวัน ที่ได้เจอมา

การพัฒนาด้านสติปัญญา

·         ใช้ 5-8 คำในการสร้างประโยค

·         ชอบเถียงและใช้เหตุผล เช่น ใช้คำว่า เพราะว่า

·         รู้จักแม่สีหลักๆ คือ แดง เหลือง น้ำเงิน เขียว ส้ม

·         สามารถจำที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์

·         เข้าใจเรื่องเล่า รู้การเริ่มต้น ตอนกลาง และตอนจบ

·         สามารถจำเรื่อง และเล่าได้

·         มีความคิดสร้างสรรค์ และเล่าเรื่องได้

·         เข้าใจหนังสือที่อ่านจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง

·         วาดรูปสัตว์ คน สิ่งของได้

·         เข้าใจและแสดงความเปรียบเทียบได้ เช่น ใหญ่กว่า

·         จัดเรียงสิ่งของตามขนาด

·         บอกตัวอักษรและตัวเลขได้ 2-3 ตัว

·         เข้าใจ มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ

·         นับสิ่งของได้ 10 อย่าง

·         จำหมวดหมู่ได้ เช่น กลุ่มของสัตว์

·         เข้าใจก่อน หลัง ข้างบน ข้างล่าง

·         มีความคิดด้านการวางแผน เช่น การสร้างอย่างมีแบบแผน การเล่นละคนสมมติ การเล่นแบบหลายทางเลือก

·         สามารถเข้าใจถึงเวลา เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้

การพัฒนาด้านร่างกาย

·         สามารถแต่งตัวได้โดยได้รับความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย

·         ขี่จักรยานสามล้อด้วยความชำนาญมากขึ้น อาจขี่จักรยานสองล้อได้

·         ยืนกระต่ายขาเดียวได้นาน 5-10 นาที

·         ใช้ช้อนและส้อมได้ดี

·         ใช้กรรไกรตัดเส้นตรงได้

·         เริ่มถนัดซ้าย หรือขวา

·         กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ยๆได้

·         วิ่งเหยาะๆ และวิ่งบนปลายเท้า และวิ่งข้ามสั้นๆได้

·         กระโดดเชือกได้

·         มีทักษะการประสานงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ซับซ้อนขึ้น เช่น การเล่นสเก็ต การขี่จักรยานสองล้อ

·         สามารถผูกเชือกรองเท้าได้

·         อาจจะสามารถคัดลอกรูปแบบและรูปร่างง่ายๆ ได้

การพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคม

·         คิดค้นเกมที่มีกฎง่ายๆ

·         รวบรวมเด็กและของเล่นเพื่อเล่นละครสมมติ

·         บางครั้งยังคงสับสนระหว่างเรื่องปรุงแต่งและเรื่องจริง

·         บางครั้งที่จะกลัวเสียงดัง ความมืด สัตว์ และคนบางคน

·         รอคอยคิวและรู้สึกแบ่งปันได้ในบางเวลา

·         ชอบเล่นเฉพาะกับเพื่อนสนิทเท่านั้น

·         ชอบตัดสินใจเอง

·         มีความอ่อนไหวต่อการรับรู้ความรู้สึกของเพื่อนเมื่อเห็นเขาโกรธหรือเสียใจ

·         ชอบเล่นกับเพื่อน 2-3 คนในเวลาเดียวกัน อาจไม่พอใจเวลามีคนอื่นเข้ามาเล่นเพิ่ม

·         เริ่มมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความถูกต้อง และความผิด

·         เล่นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงตลอดเวลา

·         สนุกสนาน กับการเก็บสะสม

 

แนวคิดสำหรับผู้เลี้ยงเด็ก

·         ส่งเสริมเรื่องการประสานงานระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น โดยเล่นเกมและทำท่าตามผู้นำ เช่น การกระโดด การกระโดดเชือก การวิ่งเหยาะ การร้องเพลง สอนการเต้นรำพื้นบ้าน การเล่นเกม การทรงตัวบนท่อนไม้ การปีนต้นไม้ การผูกปมเชือกจากกรอบที่แข็งแรง

·         สอนการเดินด้วยกระสอบ เดินสามขา เกมแปะโป้ง เกมแตะเป็น เพื่อพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวต่างๆ

·         เล่นเกมตบแผะ

·         ช่วยให้เด็กได้ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงด้วยกรรไกร เช่น การตัดตั๋ว

·         พัฒนากล้ามเนื้อเล็กๆ โดยฝึกการใช้มือร้อยลูกปัดผ่านเชือกเส้นด้าย

·         เรียนรู้การแยกแยะชิ้นส่วน และรวมชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น แกะเครื่องมือช่างไม้และนาฬิกาที่ไม่ใช้แล้ว

·         แสดงให้เด็กดูถึงการซ่อมของเล่น และหนังสือ

·         เสริมการเล่นละครเข้ากับการอ่านทุกๆวัน ใช้โทนเสียงต่างๆกัน และบุคลิกที่แตกต่างกัน ขณะที่อ่านหนังสือที่เด็กคุ้นเคยแล้ว พยายามให้เด็กแสดงความเห็นโดยให้เด็กแต่งเรื่องตอนจบด้วยจินตนาการของเด็กเอง

·         ขอให้เด็กวัย 5 ขวบเล่านิทานให้เราฟัง ให้เขียนและติดไว้ที่กำแพงหรือตู้เย็น

·         ถามโดยใช้ประโยค ถ้า...อะไรจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าเรื่องหนูน้อยหมวกแดง เปลี่ยนจากหมาป่าเป็นกระต่ายแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ที่สำคัญ เด็กวัยนี้จะยึดติดกับกฎเกณฑ์ และสามารถพัฒนาเกมต่างๆ ตามกฎที่มากขึ้นและเป็นพิธีกรรมที่มากขึ้น

                      ที่มา : http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/child/brain07.html  สืบค้นเมื่อ  4  ส.ค. 51

จากความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัย  5  ขวบ จะเป็นแนวทางให้ครูปฐมวัย  และบรรดาพ่อ แม่ ผู้ปกครองนำไปประยุกต์ใช้ในการอบรม เลี้ยงดู และกระตุ้นพัฒนาการของลูกรักได้เป็นอย่างดี  ถ้าพ่อ แม่ และคุณครูร่วมมือกันพัฒนาเด็กๆอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยแล้ว ย่อมส่งผลให้เด็กๆเจริญเติบโต  อย่างมีคุณภาพ เขาจะเป็นพลเมืองของชาติที่มีศักยภาพสูงช่วยพัฒนาประเทศชาติสืบไป

 

หมายเลขบันทึก: 198553เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2008 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท