คำแนะนำก่อนใช้การฝึกแบบ Generalization of Skills into Functional Activity


เขียนจากประสบการณ์ในการฝึกเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หากท่านใดอ่านแล้วมีข้อแนะนำ/ติชม สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

คำแนะนำก่อนใช้การฝึกแบบ Generalization of Skills into Functional Activity

 

 ไม่ควรทำการฝึกหลังจากที่น้องทานอาหารเสร็จ เพื่อป้องกันการจุก และการอาเจียน 

 

จำนวนที่ใช้ในการฝึกผู้ปกครองสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม จำนวนที่ผู้บำบัดกำหนดมาให้

เป็นแนวทางในการฝึกเท่านั้น ถ้าจะให้การฝึกมีประสิทธิภาพและได้ผลดี ผู้ปกครองควรปรึกษานัก

กิจกรรมบำบัดร่วมด้วยเพื่อต่อยอดแนวทางในการฝึกและมีการปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสม

สำหรับน้อง

 

ในการฝึกทุกครั้งอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ ผู้ปกครองควรมีความระมัดระวังในการฝึกและต้องมีการ

ป้องกันอุบัติเหตุร่วมด้วย โดยที่ผู้ปกครองควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยต่อการฝึก

และต้องรู้จักเซฟตัวน้องเวลาทำกิจกรรมต่างๆร่วมด้วยเนื่องจากกิจกรรมบางอย่างมีความเสี่ยงที่จะ

เกิดอุบัติเหตุได้ถ้าไม่ระมัดระวังในการฝึก

 

เพื่อไม่ให้น้องเบื่อหรือล้าเกินไปในการฝึก ผู้ปกครองอาจจะให้น้องพักเหนื่อย โดยทำเสร็จ 3 – 5 ท่า

ให้น้องมีการพักสักเล็กน้อยประมาณ 1 – 2 นาที ก่อนที่จะทำท่าใหม่ หรืออาจจะนำกิจกรรมที่ไม่

ต้องออกแรงมาทำขณะพักแทนที่จะให้น้องนั่งพักเฉยๆ เช่น กระโดดเสร็จหนึ่งท่า พักโยนรับ ส่ง

ลูกบอล 10 ครั้ง แล้วไปกระโดดต่อ

ขณะที่ฝึกน้องทำท่ากระโดดผู้ปกครองต้องเน้นให้น้องกระโดดเป็นจังหวะ ถ้าน้องกระโดดไม่เป็น

จังหวะหรือนับเร็วไปผู้ปกครองต้องเตือนให้น้องพยายามทำให้เป็นจังหวะ ซึ่งในช่วงแรกของการฝึก

ท่าต่างๆที่น้องทำยังไม่ได้ผู้ปกครองอาจจะช่วยโดยการให้น้องจับมือขณะกระโดดและสอนน้องทีละ

ขั้นโดยที่ยังไม่ต้องกระโดด ฝึกให้น้องเลียนแบบท่าที่จะต้องทำให้ได้ก่อน เมื่อน้องทำได้ดีขึ้นผู้

ปกครองลดการช่วยเหลือลงจนน้องสามารถทำได้เอง เช่น กระโดดสองขาซ้าย - ขวา ตอนแรกผู้

ปกครองสอนน้องให้รู้จักการเคลื่อนไหวขาให้ได้ก่อน เมื่อน้องทำได้ เริ่มให้น้องกระโดดโดยที่จับมือ

ผู้ปกครอง เมื่อน้องเริ่มกระโดดได้ดีขึ้นให้น้องกระโดดเอง

 

ในกิจกรรมรูปแบบเดิมผู้ปกครองสามารถนำสื่อต่างๆเข้ามาผสมประกอบการทำกิจกรรมเพื่อให้มี

ความหลากหลายในการฝึก โดยที่ยังคงยึดตามวัตถุประสงค์เดิม  เช่น ให้น้องกระโดดประกอบ

จังหวะเพลง หรือกระโดดพอปิดเพลง น้องต้องหยุดกระโดด ฝึกให้น้องรู้จักจังหวะ การควบคุมตัว

เอง เพื่อให้น้องไม่เบื่อกับการฝึกและทำให้น้องได้เรียนรู้ทักษะใหม่เพิ่มขึ้น

 

อย่าไปเร้าหรือบังคับน้องขณะทำกิจกรรมมากเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ตามใจ ควรคำนึงถึง

ความเหมาะสม และระลึกไว้ว่าตอนนี้เราทำการฝึกอยู่ กฎเงื่อนไขต่างๆที่ตกลงกันไว้

ต้องทำให้ได้ ยืดหยุ่นได้แต่ไม่ใช่หย่อนยาน เพราะจะทำให้ได้ผลในการฝึกไม่ ดีเท่าที่

ควร

 

ผู้ปกครองควรมีการปรับกิจกรรมให้มีความยากเพิ่มขึ้นในกิจกรรมที่น้องทำได้แล้ว  เพื่อเพิ่มทักษะ

การเรียนรู้ และฝึกการแผ่ขยายประสบการณ์ที่ตนเองได้เรียนรู้มาไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่ เช่น

เมื่อน้องกระโดดขึ้น ลงได้ดีแล้ว ผู้ปกครองให้น้องกระโดดพร้อมโยนรับ ส่งลูกบอล เพื่อจะให้

ได้ผลดีก่อนที่ผู้ปกครองจะมีการปรับกิจกรรมควรมีการปรึกษานักกิจกรรมบำบัดที่น้องทำการฝึกอยู่

ร่วมด้วย เพราะบางท่าหรือการทำกิจกรรมบางอย่างมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ เพราะว่าการ

ทำกิจกรรมต่างๆจะมีเทคนิคในการสอนอยู่ หากผู้ปกครองสงสัยสามารถสอบถามผู้เขียนได้คะ

หมายเลขบันทึก: 198496เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท