ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

นาทีแห่ง “การเรียนรู้”


สมอง : การเรียนรู้

นาทีแห่ง การเรียนรู้

เซลสมอง คิดแบบไหน  ความรู้ทางสรีรวิทยาเกี่ยวกับเซลสมองและวงจรเชื่อมโยงเซลสมอง

สมอง  ของคนเราต่างกันเพราะอะไรหรือ  บางคนอาจคิดว่า  ความแตกต่างกันนี้มาจากยีนส์  หรือพันธุกรรม ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นสำคัญ  แต่การค้นคว้าเกี่ยวกับด้านจิตวิทยาก็ดี  การศึกษาสมองของมนุษย์ก็ดี  กำลังอธิบายว่ายีนส์หรือพันธุกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งทางกายภาพ ทีกำหนดลักษณะพื้นฐานของสมองเท่านั้น

สมองจะเป็นอย่างไรยังขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มเซลในโครงสร้างของสมองมีการพัฒนาเชื่อมโยงกันอย่างไร  การพัฒนาเชื่อมโยงกันของวงจรร่างแหเซลสมองนั้น เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของคนเรากับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งก็คือประสบการณ์ชีวิต  ดังนั้นประสบการณ์นั่นแหละเป็นตัวกำหนดลักษณะการพัฒนาเชื่อมโยงกัน ของวงจรร่างแหของเซลสมอง  วงจรร่างแหของเซลสมองที่พัฒนาขึ้นจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า  การเรียนรู้ (learning)   ที่มา : อัครภูมิ  จารุการ,พรพิไล  เลิศวิชา ,สมอง เรียน รู้ ,2550 ,หน้า  79.

จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้จะเกิดจากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนถ้าเด็กๆได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายย่อมส่งผลให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้ได้มาก สามารถเชื่อมโยงความคิด  เกิดเป็นความรู้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 198493เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ ครูภา และคนพลัดถิ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท