การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์


การเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์

              

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์

       ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า ในยุคนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดหมวดหมู่

การเก็บรักษาข้อมูล การประมวลผล ตลอดจนการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นไปได้อย่างรวดเร็วชั่วพริบตา เป็นการทำลายกำแพงขวางกั้นการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะอยู่ใกล้ชิดหรือคนละซีกโลก เพราะเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารก็พัฒนาไปได้รวดเร็วมาก ความสมบูรณ์ของข้อมูลการสื่อสารก็ละเอียดถี่ถ้วน ทั้งภาพนิ่ง เคลื่อนไหว สีสันแจ่มชัด เฉพาะอย่างยิ่งในซีกของการศึกษา เป็นการทำลายระบบการเรียนในชั้นเรียนโดยสิ้นเชิง ในยุคนี้กล่าวได้ว่า อยู่ที่ไหน เวลาใด ก็สามารถใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ติดต่อสื่อสาร ศึกษาเพิ่มเติมได้อย่างทันท่วงที

 ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน การถ่ายทอดความรู้ เป็นระยะเวลานานมาพอสมควรแล้วอาจจะนับได้ว่า จุดเริ่มของการนำมาใช้ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์จากนั้นก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แทนที่การใช้เอกสาร(หนังสือ) สอน หรือที่เรียกว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction : CAI) ซึ่งมีซอฟต์แวร์ (Software) ที่เป็นเครื่องมือให้เลือกใช้งานได้หลากหลายทั้งที่ทำงานระบบปฏิบัติการดอส เช่น โปรแกรมจุฬา ซีเอไอ (Chula CAI) ที่พัฒนาโดยคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โปรแกรม ThaiTas โดย สวทช. รวมทั้ง Software สำเร็จรูปจากต่างประเทศ เช่น ShowPartnet F/X Tool Book และ Authorware

 ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นในการปฏิรูปการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้โดยพัฒนารูปแบบ CAI ให้เป็น WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ (Web Page) ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็วและกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ปกติ  WBI เป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี Web Page เป็นสื่อในการนำเสนอและเป็นรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาอย่างหลากหลาย ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ตลอดจนบุคคลทั่วไป ทั้งในส่วนบุคลากรทางการศึกษาโดยตรง และบุคลากรที่ไม่ใช่ครู อาจารย์ แต่มีความสนใจเป็นส่วนตัว โดยสามารถแบ่งลักษณะของเนื้อหาที่นำเสนอได้ 3 รูปแบบคือ

 1.      Text Online เป็นลักษณะของเว็บไซต์ WBI ที่นำเสนอด้วยข้อความทั้งที่อยู่ในรูปของ Text หรือเอกสาร PDF หรือ PPT ดังเช่น เว็บไซต์ต่อไปนี้

http://www.drkanchit.com

http://www.uni.net.th

2.      Law Cost Multimedia Online เป็นลักษณะของเว็บไซต์ WBI ที่นำเสนอด้วยสื่อต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว ตลอดจน Flash แต่ยังไม่มีระบบสมาชิก และ Web Programming ควบคุม ดังเช่นเว็บไซต์ต่อไปนี้

http://www.netec.or.th

http://www.geocities.com/Eureka/Busin/4452

3.      Full Multimedia Online จัดเป็น WBI ที่ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย รวมทั้งการใช้ WBI Programming มาควบคุมการนำเสนอ เช่นระบบสมาชิก ระบบทดสอบและรายงานผลแต่ยังขาดระบบติดตาม ตรวจสอบ รายงานผลการใช้งาน และบริการจัดการเนื้อหา ดังเช่นเว็บไซต์ต่อไปนี้

http://www.thawbi.com

http://www.ramacme.org

       เหตุผลหนึ่งที่รูปแบบของ WBI เป็นที่นิยมใช้คือ ประการแรกเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดหา Software สร้างสื่อซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่มีราคาแพง มาใช้เป็นเครื่องมือสร้างสื่อการเรียนการสอน เพราะสามารถใช้ Note Pad ที่มีอยู่ใน Microsoft Windows แล้วลงรหัส HTML (Hyper Text Markup Language) ที่สร้าง HTML สำหรับถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษา ประการที่สอง คุณสมบัติของ HTML ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายอย่าง ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วีดีโอ

 ด้วยเหตุผลทั้งสองข้อ ส่งผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI เป็นที่นิยมอย่างสูง และได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning (Electronic learning) ซึ่งปัจจุบันเรียนได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น

 E-Learning หมายถึง การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถ ละความสนใจของตน เนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียงวิดีโอ และมัลติมีเดีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียน ผ่าน Web Browser ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับผู้เรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือ E-mail (สุรศักดิ์  สงวนพงษ์ 2548,33)

 รูปแบบการพัฒนา E-Learning ในประเทศไทย ทั้ง WBI และ E-Learning ที่ใช้อยู่พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS (Learning/Course Management System) ของตนเอง ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้หน่วยงานเอกชนภายในประเทศ ได้พัฒนา Software การบริหารจัดการชื่อ Education Sphere โดยใช้ LMS Software ให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นแห่งแรก

 การพัฒนา E-Learning จากหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อโครงการ NOLP เปิดบริการให้ความรู้ในวิชา English for office Staff และโครงการ NSTDA (National Science and Technology Development Agony) เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และให้บริการการเรียนรู้แบบใหม่ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผู้เรียนจะเรียนผ่าน Web Browser ที่เรียกการเรียนรู้แบบใหม่นี้ว่า การเรียนรู้แบบออนไลน์โดยมุ่งหมายที่จะเป็นผู้นำศูนย์บริการทางการศึกษา การฝึกอบรมและการพัฒนาสื่อการสอนด้วยการนำคอมพิวเตอร์มาพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตและให้บริการ จึงถือเป็นการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการตอบสนองความต้องการที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของประชาชนโดยทั่วไป

 

สรุปได้ว่า การพัฒนาการเรียนการสอน ในยุคปัจจุบันและต่อไปในอนาคต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วชัดเจน แม้จะอยู่ห่างไกลปานใดก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 66 “ ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต” และมาตรา 67 “รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัย และพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย”

 

  ที่มา  

พนม  พงษ์ไพบูลย์ และคณะ (2546). รวมกฎหมายการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

สุชาติ  กิจธนเสรี. (2549). Information Technology. เอกสารประอบการบรรยายวิชา HUM81. สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรศักดิ์  สงวนวงษ์. (2548, กรกฎาคม 4). ยุทธศาสตร์ E-Learning. ข่าวสด, หน้า 33.

NECTEC’S Web Based Learning. (ม.ป.ป.). E-Learning, Search on 13 Feb. 2006, From: http://www.nectec.or.th/courseware/cai/0018.html.

                           

" การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์.".  
     {ออนไลน์}.เข้าถึงได้จาก :http://www.ru.ac.th/hu812/a13.doc           

 

 

 

     

หมายเลขบันทึก: 198227เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท